ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ ทั้งโซลาร์เซลล์ราคาเท่าไหร่ ต้องเลือกแบบไหน เพื่อให้ได้โซลาร์เซลล์ที่ตรงตามความต้องการที่สุด
การติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นการลงทุนที่สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว และยังช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ ราคาคุ้มค่าที่สุด ยังมีอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่ต้องพิจารณา เพื่อให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด บทความนี้เราจะมาแนะนำ 8 เรื่องที่เจ้าของบ้านต้องรู้ ก่อนทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยให้โซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมกับบ้านของคุณมากที่สุด
1. ความพร้อมของบ้านในการติดตั้งโซลาร์เซลล์
ก่อนที่จะตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ ราคาที่คุ้มค่า เจ้าของบ้านต้องพิจารณาความพร้อมของบ้านในหลาย ๆ ด้าน โดยเริ่มต้นจากการสำรวจการใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น การใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันและกลางคืน ซึ่งจะช่วยให้คุณเลือกขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบสภาพหลังคาของบ้านว่าแข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ หากหลังคามีรอยรั่วหรือไม่แข็งแรงอาจต้องรีโนเวทก่อนการติดตั้ง หากไม่แน่ใจสามารถให้ทางผู้ให้บริการติดตั้งตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยก่อนการติดตั้ง นอกจากนี้ควรเลือกจุดติดตั้งที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ไม่มีต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างบดบังแสงในช่วงกลางวัน เช่น หลังคาทิศใต้ ซึ่งจะช่วยให้การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า
พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของสมาชิกในบ้านก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณา เพราะบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน เช่น บ้านที่มีสมาชิกอาศัยอยู่ตลอดเวลา หรือโฮมออฟฟิศจะได้ประโยชน์จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์มากกว่า ซึ่งถือว่าคุ้มค่าพอสำหรับการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การคำนวณพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องจะทำให้การเลือกขนาดระบบ โซลาร์เซลล์ ราคา เหมาะสมและช่วยคืนทุนได้เร็วขึ้น
3. ประเภทของโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์มีให้เลือกด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แผงโซลาร์เซลล์ที่นิยมในบ้านเราจะมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่
- แผงโมโนคริสตัลไลน์ : เหมาะสำหรับพื้นที่ที่แสงแดดไม่สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตไฟฟ้า
- แผงโพลีคริสตัลไลน์ : เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและสามารถทนทานได้ดี
- แผงฟิล์มบาง : มีความยืดหยุ่นสูงและทนทานต่อสภาพอากาศร้อน
ปัจจุบันแผงโมโนคริสตัลไลน์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด เหมาะสำหรับพื้นที่ที่แสงแดดไม่สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตไฟฟ้า สูงกว่าแผงชนิดอื่น ๆ (High Efficiency) อายุการใช้งานนานถึง 25-30 ปี+ ให้กำลังวัตต์สูงในพื้นที่ติดตั้งที่จำกัด
4. ประเภทของอินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์ถือเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของระบบ โซลาร์เซลล์ เพราะอินเวอร์เตอร์ทำหน้าที่แปลงพลังงานจากกระแสตรงที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์เป็นกระแสสลับที่สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้ ซึ่งอินเวอร์เตอร์มี 2 ประเภทหลักคือ
- สตริงอินเวอร์เตอร์ : เป็นเครื่องขนาดใหญ่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก DC เป็น AC เชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมดในระบบ (1 เครื่อง : ทุกแผงโซลาร์ ) เหมาะสำหรับบ้านที่ติดตั้งระบบขนาดใหญ่มากๆ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น สตริงอินเวอร์เตอร์จากแบรนด์ Huawei และ Sungrow
- ไมโครอินเวอร์เตอร์ : เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ติดตั้งแยกกับแต่ละแผง (1 เครื่อง : 1 แผงโซลาร์) แปลงกระแสไฟฟ้าจาก DC เป็น AC รายแผง ทำให้เมื่อแผงใดแผงหนึ่งเกิดปัญหาจะไม่กระทบกับแผงอื่น ๆ และมีระบบ Rapid Shutdown ภายในตัว ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเหมือน สตริงอินเวอร์เตอร์ เหมาะสำหรับบ้านและอาคารที่ต้องการประสิทธิภาพการผลิตไฟสูงสุด เช่น ไมโครอินเวอร์เตอร์ จากแบรนด์ Enphase และ Hoymiles
5. การเลือกผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์
การเลือกผู้ให้บริการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ ราคา ที่เหมาะสมกับคุณภาพการให้บริการเป็นเรื่องสำคัญ ควรเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์ค่อนข้างมากและมีรีวิวจากลูกค้าที่เคยใช้บริการ การเลือกบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและบริการหลังการขายที่ดี เช่น บริษัทมีประสบการณ์เรื่องวิศวกรรมไฟฟ้าโดยเฉพาะไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีสภาพความมั่งคงของบริษัทที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการติดตั้งจะอยู่กับเราไปตลอดอายุการใช้งานของระบบโซลาร์ การรับประกันสินค้าจากแบรนด์ผู้จำหน่ายหลักโดยตรง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ นอกจากนี้ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีการบำรุงรักษาและรับประกันระบบที่ยาวนาน โดยปกติแล้วแผงโซลาร์เซลล์จะมีการรับประกัน 20 ปีขึ้นไป ที่สำคัญผู้ให้บริการที่ดีจะช่วยให้คำแนะนำในการติดตั้งที่เหมาะสม และทำการติดตั้งได้อย่างราบรื่นไม่ยัดเยียดการซื้อระบบที่เกินความจำเป็นต่อการใช้งาน
6. งบประมาณในการติดตั้ง
การติดตั้ง โซลาร์เซลล์ ราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของระบบที่คุณต้องการ ซึ่งกิโลวัตต์ที่แตกต่างกันก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันตามไปด้วย ดังนั้นเราต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อเลือกขนาดของโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมกับการใช้ง่าย
7. การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์

สำหรับการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ที่จะเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของภาครัฐ จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน โดยการขออนุญาตนี้จำเป็นต้องดำเนินการกับหน่วยงานหลายแห่ง เช่น หน่วยงานการไฟฟ้าที่บ้านตั้งอยู่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และราชการส่วนท้องถิ่น การใช้บริการบริษัทติดตั้งที่มีประสบการณ์จะช่วยให้การขออนุญาตดำเนินเป็นไปอย่างราบรื่นเพราะมีทีมที่ดูแลเรื่องเอกสารโดยตรงคอยดำเนินการให้อยู่แล้ว
8. การดูแลและบำรุงรักษา
การดูแลรักษา โซลาร์เซลล์ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยควรทำความสะอาดแผงโซลาร์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่อาจลดประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบสภาพของแผงโซลาร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อินเวอร์เตอร์ สายไฟ หากพบความเสียหายควรซ่อมแซมทันที เพื่อรักษาประสิทธิภาพของระบบ
สรุป
การติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมในทุกด้าน เพื่อให้ได้ระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะกับการใช้งานของเรามากที่สุด รวมถึงการเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ และการดูแลรักษาระบบ โซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เราแนะนำให้ติดตั้งกับ KG Solar ผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากว่า 37 ปี มีทีมวิศวกรคอยให้คำปรึกษาและออกแบบระบบให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละบ้าน พร้อมบริการหลังการขายที่ใส่ใจทุกรายละเอียด สำหรับใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KG SOLAR บริษัทโซลาร์เซลล์ชั้นนำของไทย