เปิดประวัติ 8 มีนาคม “วันสตรีสากล” International Women’s Day เป็นมายังไงมาดู

8 มีนาคม “วันสตรีสากล” International Women’s Day เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด แสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมสังคม

วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย

14247326 2011.i506.022.womens-day-card-flat

ความเป็นมาของวันสตรีสากล

ประวัติวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ “คลาร่า เซทคิน” (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ “คลาร่า เซทคิน” และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ ยังได้รับรองข้อเสนอของ “คลาร่า เซทคิน” ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล

คลาร่า เซทคิน ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล

คลาร่า เซทคิน (Clara Zetkin) เดิมชื่อ คลาร่า ไอนส์เนอร์ ต่อมาแต่งงานกับเพื่อนนักศึกษา ออพซิป เซทกิ้น มีบุตรด้วยกัน 2 คน คลาร่าเป็นนักการเมืองสตรีแนวคิดสังคมนิยม หรือมาร์กซิสต์ เชื้อสายเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1857 ที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี ประเทศเยอรมนี ตลอดช่วงชีวิตของคลาร่า เธอได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของสตรีอยู่ตลอดเวลา โดยในปี ค.ศ. 1889 (พ.ศ. 2432) คลาร่า เซทคิน ได้แสดงสุนทรพจน์ในเรื่องปัญหาของสตรีต่อที่ประชุมผู้ก่อตั้งสภาคองเกรสสากล ครั้งที่ 2 ในกรุงปารีส ซึ่งใจความสำคัญคือการเรียกร้องให้สตรีมีสิทธิ์ในการทำงาน ให้มีการคุ้มครองสตรีและเด็ก รวมทั้งยังได้เรียกร้องให้สตรีมีส่วนร่วมในการประชุมระดับชาติและระดับสากลอีกด้วย

ต่อมาในปี ค.ศ. 1907 คลาร่า เซทคิน ได้ก่อตั้งกลุ่มนักสังคมนิยมสตรีในเยอรมนี ก่อนที่จะเป็นแกนนำของกลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีโรงงานทอผ้า เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา เดินขบวนประท้วงเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานของสตรี เหลือ 8 ชั่วโมง พร้อมปรับปรุงสวัสดิการในโรงงาน จนนำไปสู่การประชุมขององค์กรสตรีในปี ค.ศ. 1910 พร้อมกันนี้คลาร่าก็ได้เสนอให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 ที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีโรงงานทอผ้า กรุงนิวยอร์ก สหรัฐฯ รวมตัวกันประท้วงก่อนเกิดโศกนาฏกรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของเธอ

จากนั้นในปี ค.ศ. 1914 คลาร่า เซทคิน ได้ร่วมกับนางโรซา ลักเซมเบอร์ก (Rosa Luxemberg) นักคิดสายแนวคิดสังคมนิยม รณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามของกลุ่มสปาร์ตาซิสต์ มีจุดประสงค์ที่จะต่อต้านรัฐบาลเยอรมนีที่ส่งทหารไปร่วมรบ เพราะทำให้ประชาชนมีแต่สูญเสีย ต่อมาในปี ค.ศ. 1918 นางเซทคินก็ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี และได้เป็นผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี หรือสภาไรซ์สตัก

ในปี ค.ศ. 1920-1932 คลาร่า เซทคิน เข้าเป็นแกนนำต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยเธอได้กล่าวสุนทรพจน์โจมตีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อย่างรุนแรง จนถึงปี ค.ศ. 1933 พรรคนาซีเยอรมนีเข้ารวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด ทำให้คลาร่า เซทคิน ต้องยุติบทบาทนักการเมืองสายแนวคิดสังคมนิยม ก่อนถูกรัฐบาลตามล่ากวาดล้างจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ประเทศรัสเซียแทน และถึงแก่กรรมในปีเดียวกัน

ความพยายามของคลาร่า เซทคิน ในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่าได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น “มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล”

วันสตรีสากลในประเทศไทย

 ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา นับตั้งแต่นั้นมาวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากลด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักและเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล

อีกด้านหนึ่งก็ได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล ทั้งนี้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว เช่น แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ปวีณา หงสกุล ฯลฯ

การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมดไป ดังจะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ แต่ละแห่งให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น “วันสตรีสากล” จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี

แหล่งที่มา กรมประชาสัมพันธ์

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อากาศร้อนเป็นเหตุ! ทำผัวป่วยจิตคลั่ง ฆ่าลูกเมีย ก่อนผูกคอตายตาม

หดหู่! ผัวป่วยจิตเจออากาศร้อนจัดจนคลั่ง ใช้ชะแลงฟาดเมีย-ลูก ดับคาบ้าน ก่อนโทรบอกญาติ แล้วผูกคอฆ่าตัวเองตายตาม

ระทึก! พ่อวูบขณะขับรถ ทำเสียหลักชนข้างทาง เหล็กเสียบทะลุรถ เจ็บยกครัว

ระทึก! พ่อวูบ หลังขับรถตู้พาครอบครัวไปเที่ยวทะเล ก่อนเสียหลักพุ่งชนเหล็กกั้นริมทางเสียบทะลุรถ บาดเจ็บยกครัว ลูกชายอาการสาหัส

แห่ส่องเลขเด็ด ผญบ.ฟินแลนด์ แฟนคลับปาโชคก้อนโต ให้ถึงหน้าเวที!

พาส่องเลขเด็ดของ ผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ หลังมีแฟนคลับใจดี ถือลอตเตอรี่มาให้เจ้าตัวถึงหน้าเวที งานนี้เลขสวย ไม่ซื้อถือว่าพลาดสุดๆ

เตรียมขนย้าย “กากแคดเมียม” กลับบ่อฝังกลบ จ.ตาก คืนนี้ (29 เม.ย.)

เจ้าหน้าที่เตรียมขนย้าย “กากแคดเมียม” กลับบ่อฝังกลบ จ.ตาก คืนนี้ ล็อตแรกจำนวน 270 ตัน คาดเสร็จสิ้นภายใน 17 มิ.ย.

ผญบ.ฟินแลนด์ เล่านาทีเจอ แพรวพราว ลั่น ไม่ได้กดดัน เป็นแค่คนรู้จัก ?!

ผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ เล่าวินาทีเจอหน้า แพรวพราว หลังเลิกรา เผยไม่ได้รู้สึกกดดัน ตอนนี้เป็นแค่คนรู้จัก เป็นพ่อแม่ของลูก ยืนยันไม่ได้ทะเลาะกัน

ใจกล้ามาก! หนุ่มจับงูจงอางมือเปล่า หลังว่ายทวนน้ำ หานทท.

เปิดคลิปไวรัล! นักท่องเที่ยวหนีกระเจิง หลังจงอางว่ายทวนน้ำ หวังขึ้นแพเปียก เขื่อนแม่สรวย สุดท้ายได้หนุ่มใจเด็ดเข้าช่วย
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า