สว.สมชาย เชื่อ! ยก 4 ประการ ปม หุ้นสื่อไปทีวี ชี้ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม อาจขาด คุณสมบัติ สส.
วันที่ 24 มกราคม 2567 นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่าน Facebook สมชาย แสวงการ ทำไมหุ้น itv ยังเป็นหุ้นสื่อมวลชน ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล โดยมีการระบุข้อความว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ : เสาหลักนิติรัฐนิติธรรม”
รัฐธรรมนูญ จึงบัญญัติให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร การวินิจฉัยคดีการถือ หุ้นสื่อ ITV ของนายพิธาในวันนี้ จึงเป็นคำวินิจฉัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตความเป็นไปของบ้านเมือง ด้วยเหตุที่มีผู้พยายามบิดเบือน ปั่นกระแส กดดันเพื่อทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามแนวทางที่พวกเขากดดัน โดยการออกคลิปปกปิดข้อเท็จจริงและเลือกชูเฉพาะข้อเท็จจริงบางประการ เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตน พร้อมทั้งผูกนิตินิยายสร้างวาทกรรมนิติสงครามขึ้น กดดันคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ!
จึงจำเป็นต้องเปิดข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย แนวทางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในคดีการถือหุ้นสื่อหุ้นสัมปทานรัฐที่ผ่านมา แนวทางคำวินิจฉัยศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง เพื่อย้ำให้เห็นความจริงอีกด้านที่สังคมควรรับรู้ไว้ โดยไม่ประสงค์ก้าวล่วงคำวินิจฉัยในคดี เพียงต้องบันทึกย้ำ ความเห็นส่วนตัวทางข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงไว้ว่า “บริษัทITV ยังเป็นกิจการสื่อมวลชน นายพิธาจึงน่าจะขาดคุณสมบัติความเป็น สส. เพราะมีลักษณะต้องห้ามมิให้ถือหุ้นสื่อ”
ด้วยเหตุเพิ่มเติมอีก 2 ประการ รวมกับความเห็น 4 ประการเดิมที่ได้เปิดเผยไปแล้ว
4 ประการแรก
1) บริษัท itv ยังคงเป็นสื่อมวลชน โดย itv มีสถานะความเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมีวัตถุประสงค์
จดแจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับสื่อรวม 5 ข้อ เช่นรับบริหารและดำเนินกิจการสถานีวิทยุ โทรทัศน์ โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกและโทรภาพทางสาย(เคเบิลทีวี) เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ บริการประชาสัมพันธ์และจัดรายการทางวิทยุโทรทัศน์ โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกและโทรภาพทางสาย (เคเบิลทีวี) แพร่ภาพโทรทัศน์ ผลิตรายการ ประชาสัมพันธ์ รับจ้างผลิตสื่อ ฯลฯ จนถึงปัจจุบันitv ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทหรือจดยกเลิก วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนทั้ง 5 ข้อดังกล่าว
:จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติและมี ลักษณะต้องห้าม สอดรับกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 14/วินิจฉัยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในคดีการถือหุ้น บริษัทวีลัคมีเดีย ที่อ้างว่วปิดกิจการแล้ว แต่ไม่จดทะเบียนยกเลิกบริษัท ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ยังสามารถประกอบกิจการสื่อมวลชนได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ไม่ได้จดเลิกบริษัท เช่นเดียวกับคำพิพากษาสาลฎีกาในทำนองเดียวกันกับผู้สมัคร เลือกตั้งสส4 ราย ที่ไม่ได้จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการสื่อขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามเช่นกัน
2) บริษัทITV ชนะคดีเบื้องต้นแล้ว 2 ยก รัฐต้องคืนคลื่นความถี่และชดใช้ค่าเสียหาย โดย itv ที่ได้ถูกปิดสถานีและยึดคลื่นคืนเพราะไม่ชำระหนี้ค่าสัมปทานแก่รัฐ เมื่อ 17 ปีก่อน ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ หมายเลขดำที่ 29/2545 โดยอ้างว่ารัฐให้สัมปทานกับบุคคลอื่น เป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับผลกระทบต่อฐานะการเงินอย่างรุนแรง จึงขอให้ สำนัดปลัดสำนักนายกฯ ชดเชยความเสียหายตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ
- คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้itvชนะ ได้รับเงินเยียวยาและคืนคลื่นความถี่
- สปน นำคดีสู่ ต่อศาลปกครองกลาง แต่ศาลพิพากษายกคำร้อง’
- สปน. ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อ
- สถานะปัจจุบัน ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำพิพากษาในคดีนี้
:จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามเพราะคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและศาลปกครองกลาง ให้ itv เป็นผู้ชนะคดี ได้รับการเยียวยา และคืนสัมปทานคลื่นความถี่โทรทัศน์ itv จึงอยู่ในฐานะที่พร้อมประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ได้
3) บริษัทitv ไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังมีบริษัทลูกประกอบกิจการสื่อ และมีรายรับจากบริษัทอาร์ตแวร์มีเดีย ที่ itv เป็นผู้ถือหุ้น 99% โดยมีผลประกอบกิจการจดทะเบียนทำสื่อโฆษณา รายการ ให้เช่าเครื่องมือ ลิขสิทธิ์ แลอื่นๆ ฯลฯ ที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจสื่อมวลชน
:จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม สอดรับกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ให้นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล พ้นจากสส ด้วยเหตุถือหุ้นสื่อสารมวลชน บริษัท เฮด อัพ โปรดักชั่น จำกัด และ บริษัท แอมฟายน์ โปรดักชั่น จำกัด
4) พิธา ถือหุ้น itv เพียงแค่เล็กน้อย ทำไมจึงผิด ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวิจฉัยที่12-14/2553 ในคดีถือหุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานรัฐ ที่วินิจฉัยให้รมต สส สว พ้นจากสมาชิกภาพ และเคยวินอจฉัยไว้ว่า หุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานเป็นลักษณะต้องห้ามแม้ถือหุ้นเพียง1หุ้น ก็ขาดคุณสมบัติ ดังนั้นการที่นายพิธาอ้างว่า ถือหุ้นitv เพียง 42,000 หุ้น จาก 1,206,697,400 หุ้น คิดเป็น 0.0035 เปอร์เซ็นต์ไม่มีอํานาจสั่งการบริษัท
:ข้อโต้แย้งนี้ของ นายพิธา จึงฟังไม่ขึ้นและไม่อาจหักล้างคำนิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่เคยวางแนวไว้เดิมดังนี้
2 ประการเพิ่มเติม
1) รัฐธรรมนูญ 2550 /2560 มีหลักการเขียนไว้ชัดเจน และมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางต่อเนื่องมาตลอด ว่า ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองถือหุ้นใดๆในกิจการสื่อมวลชนทุกประเภท ไม่ว่า จะมีหุ้นมากน้อยเพียงใด หรือจะมีอำนาจบริหารกิจการหรือไม่
สรุปว่า ห้ามถือหุ้นสื่อไม่ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด คือ ถือหุ้นสื่อ 1 หุ้นก็ไม่ได้
นอกจากนั้นในการถือธุรกิจ 1 หุ้น มีนัยยะสำคัญ และส่งผลในทางชี้ขาดเมื่อมีข้อพิพาทหรือสนับสนุนไปทางใดทางหนึ่งได้เสมอ การอ้างว่า ถือหุ้นเพียงเล็กน้อยไม่มีอำนาจครอบงำการบริหารจึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
2)การประกอบอาชีพและกิจการสื่อมวลชน ไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ทุกราย ปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการสื่อทางช่องทางต่างๆทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อออนไลน์ ทุกแพลทฟอร์ เช่น tiktok facebook youtuber ฯลฯ เป็นผู้ประกอบกิจการสื่อที่ไม่มีและไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตจาก กสทช.