กรมชลประทาน แถลงข่าวพร้อมสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูฝน และแนวทางแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งภาคตะวันออก

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2563 กรมชลประทาน จัดแถลงข่าวการเตรียมพร้อมสนับสนุนการเพาะปลูกพืช และแผนการส่งน้ำฤดูฝนปี 2563 ภายหลังที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการอำนวยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารจัดการน้ำ ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้

โดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (20 มีค. 63) ว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 39,495 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 15,775 ล้าน ลบ.ม. สำหรับสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกัน 9,536 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 2,840 ล้าน ลบ.ม. ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562 ทั้งประเทศล่าสุด (20 มีค.63) มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 13,006 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 3,509 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 78 ของแผนฯ

เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และอ่างเก็บน้ำต่างๆ อยู่ในเกณฑ์น้อย ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรน้ำเพื่อปลูกข้าวนาปี รวมถึงในพื้นที่ลุ่มต่ำบางแห่ง สำหรับพื้นที่ทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ แผนการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาช่วงต้นฤดูฝนปี 2563 (ระหว่าง1พ.ค. – 31 ก.ค. 2563) โดยเน้นจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศและพืชต่อเนื่องรวมจำนวน 1,656 ล้าน ลบ.ม. ในส่วนของพื้นที่การเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำนั้น จากการคาดการณ์จะมีปริมาณน้ำคงเหลือในช่วงฝนทิ้งช่วงเพียง 421 ล้าน ลบ.ม. ทำให้สามารถส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก ในพื้นที่เป้าหมาย 265,000 ไร่ เช่นเดียวกับเมื่อปี 2560 ปริมาณน้ำที่จัดสรร 310 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งในรอบแรกจะเริ่มทำการส่งน้ำเข้าทุ่งตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 และจะทยอยส่งน้ำตามแผนเข้าพื้นที่ไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 หลังจากนั้น หากมีน้ำหลากจะใช้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำหลาก ในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2563 ประมาณ 400 ล้าน ลบ.ม. เพื่อลดผลกระพบจากอุกภัยที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ จ.สุโขทัย และทำหน้าที่เป็นทุ่งหน่วงน้ำไม่ให้เกิดผลกระทบกับลุ่มน้ำพระยาอีกด้วย ส่วนพื้นลุ่มต่ำ 12 ทุ่งตอนล่าง สามารถเริ่มการเพาะปลูกได้ต่อเมื่อกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูฝน มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ และมีน้ำเพียงพอ ทั้งนี้มีพื้นที่ชลประทานที่สามารถส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีได้ตามปกติ ประกอบด้วย ลุ่มน้ำโขง (เขื่อนน้ำอูน , เขื่อนห้วยหลวง) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก (เขื่อนประแสร์) ลุ่มน้ำชี (เขื่อนลำปาว) ลุ่มน้ำบางปะกง (เขื่อนขุนด่าน) ลุ่มน้ำปราจีนบุรี (เขื่อนนฤบดินทรจินดา) ลุ่มน้ำปิง (พื่อนแม่กวงฯ , ชื่อนแม่งัดฯ) ลุ่มน้ำมูล (เขื่อนสิรินธร) ลุ่มน้ำแม่กลอง (เขื่อนศรีนครินทร์ , เขื่อนวชิราลงกรณ) ลุ่มน้ำวัง (เขื่อนกิ่วลม , เขื่อนกิ่วคอหมา)
ลุ่มน้ำเพชรบุรี (เขื่อนแก่งกระจาน) ลุ่มน้ำประจวบ (เขื่อนปราณบุรี) ลุ่มน้ำปัตตานี (เขื่อนบางลาง)

ส่วนพื้นที่ชลประทานที่ไม่สามารถส่งน้ำได้ตามปกติ จำเป็นต้องใช้น้ำฝนในการเพาะปลูกข้าวนาปีนั้น ขอให้รอกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศการเข้าสู่ฤดูฝน และมีน้ำฝนตกสม่ำเสมอเพียงพอ (คาดการณ์ว่าจะอยู่ในช่วงปลายเดือน พ.ค. 63) ประกอบด้วย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล , เขื่อนสิริกิติ์ , เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก (เขื่อนบางพระ) ลุ่มน้ำชี (เขื่อนจุฬาภรณ์ , เขื่อนอุบลรัตน์) ลุ่มน้ำท่าจีน (เขื่อนกระเสียว) ลุ่มน้ำบางปะกง (เขื่อนสียัด) ลุ่มน้ำมูล (เขื่อนมูลบน , เขื่อนลำแซะ , เขื่อนลำตะคอง , เขื่อนลำนางรอง และเขื่อนลำพระเพลิง) ลุ่มน้ำยม (เขื่อนแม่มอก) และลุ่มน้ำสะแกกรัง (เขื่อนทับเสลา) โดยนาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าในช่วงวันที่ 20 มี.ค.-23 มี.ค. จะมีฝนตกในภาคกลาง , ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง ส่วนภาคเหนือตอนล่างก็จะได้รับอิทธิพลจากพายุฤดูร้อนเช่นกัน ซึ่งฤดูฝนในปีนี้อาจจะมาช้ากว่าปกติ เพราะจะมีฝนทิ้งช่วงในปลายเดือนพ.ค.-มิ.ย. และจะเข้าฤดูฝนจริงๆ ในช่วงเดือนส.ค.เป็นต้นไป

นอกจากนั้น คณะอนุกรรมการอำนวยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ยังมีมติเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทาน ติดตามวิเคราะห์ผลการให้ผันน้ำจากฝั่งตะวันตก เพื่อผลักดันน้ำเค็มแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยการเพิ่มปริมาณการผันน้ำจากเดิม 500 ล้าน ลบ.ม. เป็น 1,000 ล้าน ลบ.ม. โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อการใช้น้ำของลุ่มน้ำแม่กลอง พร้อมบรูณาการร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการประปานครหลวง บริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบและเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดการสูญเสียน้ำระหว่างการผันน้ำ

ในส่วนของการเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนนั้น กรมชลประทานได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทุกแห่ง โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเดิม เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำที่อาจจะเกิดขึ้น ด้วยการกำชับเจ้าหน้าที่ให้เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้ตรวจสอบระบบและอาคารชลประทานให้สามารถรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ กำจัดวัชพืชไม่ให้กีดขวางทางน้ำ รวมทั้งเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา รวมไปถึงการบริหารจัดการน้ำในอ่างก็บน้ำต่งๆให้เหมาะสกับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นตามแต่ละช่วงเวลาด้วย

และอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่นไปกว่ากัน คือ แนวทางป้องกันแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งกรมชลประทานได้วางโครงข่ายน้ำเชื่อมโยระหว่าง จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ สนับสนุนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดยถึงสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกว่า ปัจจุบัน (16 มี.ค.63) อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 62 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกัน 760 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 604 ล้าน ลบม. หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน จัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 ตามแผนฯ ไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 923 ล้น ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 74ของแผนที่กำหนดไว้ คงเหลือน้ำที่จะต้องจัดสรรอีก 322 ล้าน ลบ.ม. และสำรองน้ำไว้ต้นฤดูฝน (มิถุนายน-กรกฎาคม 63) อีก 292 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับการบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ผ่านโครงข่ายน้ำเชื่อมโยงระหว่าง จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำแบบอ่างฯพวง และการสูบผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการด้านอุปโภคบริโภค ด้านการเกษตร และด้านอุตสหกรม ปัจจุบันมีการสูบคันน้ำช่วยเหลือพื้นที่จังหวัดระยอง จากคลองวังโตนด มายังอ่างเก็บน้ำประแสร์ วันละประมาณ 430,000 ลบ.ม. ปริมาณการผันน้ำสะสม 5.79 ล้าน ลบ.ม. จากอ่างเก็บน้ำประแสร์ มายังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล วันละประมาณ 600,000 ลบ.ม. ปริมาณการผันน้ำสะสม 33.11 ล้าน ลบ.ม. และจากอ่างฯคลองใหญ่มายังอ่างฯหนองปลาไหล วันละประมาณ 130,000 ลบ.ม. ปริมาณการผันน้ำสะสม 149 ล้าน ลบ.ม. ด้านการช่วยเหลือพื้นที่จ.ชลบุรี กรมชลประทาน ได้ดำเนินการสูบผันน้ำเติมอ่างฯบางพระ ปริมาณน้ำตามแผน 3 ล้าน ลบ.ม.โดยการขุดลอกคลองหลวง จากท้ายอ่างฯคลองหลวงถึงคลองพานทอง ระยะทาง 60 กิโลเมตร เพื่อระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองหลวง มาที่สถานีสูบพานทอง นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท อีสวอเตอร์ จำกัด (มหาชน) และการประปส่วนภูมิภาค สาขาพัทยา จัดหาน้ำจากบ่อดินเอกชน ในพื้นที่จ.ชสบุรี และจ.ฉะเชิงเทรา เสริมเข้ามาในระบบอีกประมาณ 18 ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้มีน้ำเพียงพอไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

ทั้งนี้ ยังมีในส่วนของการสูบผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงไปลงอ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างฯ บางพระ ซึ่งจะสูบต่อเมื่อค่าความเค็ม ณ สถานีสูบต้องไม่เกิน 0.5 กรัม/ลิตร ปริมาณน้ำตามแผนวันละ10.0 ลบ.ม. ปัจจุบันได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 15 พฤษภาคม2563 อีกด้านหนึ่งจะทำการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทรมายังจุดสบสถานีสูบน้ำพานทองแล้วสูบเชื่อมเข้าเส้นท่อสูบผันน้ำเชื่อมโยงคลองพระองค์ไชยานุชิตมายังอ่างเก็บน้ำบางพระ 3 ล้าน ลบ.ม.
นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง(MOU) ระหว่างกรมชลประทานกับคณะกรรมการลุ่มน้ำคลองวังโตนด เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 63 ที่ผ่านมา เพื่อแบ่งปันน้ำจากลุ่มน้ำคลองวังโตนดไปยังพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) และการจัดทำ CSR ในพื้นที่ เพื่อสนับสนุน EEC สร้างความมั่นคงทางด้านน้ำให้แก่พื้นที่สำคัญของประเทศ โดยมีแผนการแบ่งปันน้ำจากลุ่มน้ำวังโตนด-ประแสร์ ปี 2563 (เฉพาะกิจ) เป็นการสูบผันน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำ ความยาว 45.69 กิโลเมตร ด้วยการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำประแกด ที่ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกักประมาณ 46 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะผันน้ำในช่วงวันที่ 1-25 มีนาคม 2563 ในอัตรา 5 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จากอ่างเก็บน้ำประแกดไปอ่างเก็บน้ำประแสร์ ด้วยการระบายน้ำลงสู่คลองวังโตนด จากนั้นจะใช้สถานีสูบน้ำบ้านวังประดู่ สูบน้ำส่งไปให้วันละประมาณ 432,000 ลูกบาศก์เมตร โดยจะไม่กระทบต่อการใช้น้ำในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำประแกด และลุ่มน้ำคลองวังโตนดแต่อย่างใด

กรมชลประทาน ยังได้วางมาตรการเพิ่มเติม เพื่อรองรับวิกฤตขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยองปี 2562-2563 ด้วยการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนในพื้นที่ จ.ระยอง และชลบุรี ลดการใช้น้ำลง 10 % ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มิ.ย. 63 พร้อมแจ้งไปยังกระทรวงพลังงาน เพื่อขอความร่วมมือจากโรงไฟฟ้าเอกชนในจ.ระยอง ชลบุรี หยุดเดินระบบอยู่ในโหมด Stand By หรือเดินระบบเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการใช้น้ำเพื่อหล่อเย็น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการสูบน้ำไม่ให้เกินจำนวนที่ในแผนที่กำหนดรายวัน และตรวจสอบมิเตอร์วัดน้ำ ให้ใช้งานได้ตลอดเวลา พร้อมทั้งให้การประปาส่วนภูมิภาค สาขาพัทยา เตรียมแผนติดตั้งระบบสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 1 อ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 2 อ่างเก็บน้ำมาบฟักทอง 1 และอ่างเก็บน้ำมาบฟักทอง 2 รวมปริมาณน้ำ 3 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ หากดำเนินการตามมาตรการที่วางไว้ คาดว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอไปจนถึงเดือนมิถุนายน และมีน้ำสำรองในกรณีฝนล่าช้าอย่างแน่นอน

และเนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้งของเกษตรกร ทางกรมชลประทาน จึงเดินหน้าช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเร่งจัดจ้างแรงงานในเขตชลประทาน บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรทั่วประเทศ
โดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรว่า ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงได้กำหนดนโยบายการช่วยเหลือต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ ด้วยการดำเนินโครงการจ้างแรงงานในปีงบประมาณ 2563 สำหรับงานซ่อมแซม บำรุงรักษา ขุดลอก ปรับปรุงงานชลประทาน ก่อสร้างแหล่งน้ำระบบส่งน้ำเพื่อชุมชน แก้มลิง การจัดการคุณภาพน้ำและโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ โดยจะดำเนินการจ้างแรงงานทั่วทุกภาคของประเทศ ในวงเงินงบประมาณ 3,800 ล้านบาท สามารถจ้างแรงงานได้ไม่น้อยกว่า 51,000 คน ระยะเวลาในการจ้าง 3-7 เดือน ซึ่งเกษตรกรจะได้ค่าจ้างแรงงานวันละ 377 บาท หรือประมาณเดือนละ 8,000 บาท รายได้ตลอดระยะเวลาการจ้างแรงงานอยู่ระหว่าง 24,000-58,000 บาท/คน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ทำ เป็นไปตามมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาระยะสั้นในฤดูแล้ง โดยได้เริ่มโครงการจ้างแรงงานตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ คาดว่าจะจ้างแรงงานได้ประมาณ 10,674 คน

ซึ่งขณะนี้มีโครงการชลประทานในหลายพื้นที่ได้เริ่มดำเนินโครงการแล้ว อาทิ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบรมธาตุ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าโบสถ์ โครงการชลประทานเชียงใหม่ โครงการชลประทานนครราชสีมา โครงการชลประทานลพบุรี โครงการชลประทานตรัง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลายชุมพล โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ โครงการส่งน้ำและบำรุงบางพลวง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังบน และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโกลก ปัจจุบันจ้างแรงงานทั้งประเทศไปแล้วกว่า 9,016 คน

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะประกาศรับสมัครการจ้างแรงงานเกษตรกรทั่วประเทศ ในเขตพื้นที่โครงการชลประทานทุกโครงการรวมทั้งสิ้น 208 โครงการฯ โดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องเป็นเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วในพื้นที่ ซึ่งเสียโอกาสจากการทำนาปรังในฤดูแล้งนี้ หากเกษตรกรท่านใดสนใจ สามารถสอบถามไปยังโครงการชลประทานใกล้บ้าน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ที่นี่บราซิล! หญิงพาศพคุณลุงนั่งวีลแชร์ เข้าธนาคาร ไปกู้เงินแสน

อลหม่าน! สาวบราซิลพาศพลุงนั่งวีลแชร์ เข็นเข้าธนาคาร หวังเซ็นกู้เงินแสน เจ้าหน้าที่ จับโป๊ะ! ถูกรวบทันควัน อึ้งเสียชีวิตมาแล้วกว่า 3 ชั่วโมง

ปชช.เดือดร้อนหนัก! ป้ายรถเมล์ไม่อัปเดตข้อมูล สุดท้ายต้องเขียนกันเอาเอง

เดือดร้อนมาก! โซเชียลแห่แชร์ ภาพป้ายรถเมล์ที่ไม่อัปเดตสายรถเมล์ จนประชาชนต้องเขียนกันเอง ล่าสุด “สุริยะ” สั่งเร่ง อัปเดตข้อมูล

คิดจะต่อเติมระบียงบ้าน จุดไหนที่ต้องระวังก่อนสร้าง – มาดามฮวงจุ้ย

อ.นภัสวรรณ จิรเจริญเวศน์ เจ้าของเพจ มาดามฮวงจุ้ย ชี้ชัดทุกปัญหาพลิกชะตาด้วยฮวงจุ้ย เผย ฮวงจุ้ยระเบียงบ้าน จุดไหนควรมี จุดไหนไม่ควรสร้าง

จับตา! ‘อินโด’ เร่งอพยพ ปชช.นับหมื่น หลังภูเขาไฟ ‘รูอัง’ ปะทุ หวั่นสึนามิถล่ม

ระทึก! ทีมกู้ภัยอินโดนีเซียเร่งอพยพ ประชาชนนับหมื่นชีวิตออกจากพื้นที่เสี่ยง หลังภูเขาไฟ ‘รูอัง’ ปะทุครั้งใหญ่ หวั่นสึนามิซัด

ฟาดเคราะห์แทนผู้ใหญ่! เด็ก10 ขวบ โดนยิงจากในป่า เผยปมเหตุสุดอนาถ

ล่ามือปืน! ลากลูกซองซุ่มยิงจากในป่าข้างขนำ กระสุนเข้าท้ายทอยเด็ก 10 ขวบ ก่อนหลบหนี คาดปม ปัญหาที่ดิน หลังพ่อแม่ไปเรียกร้องขอที่ดินทำกิน

“หมอช้าง” เตือน! 2 ราศี มีปัญหาสุขภาพ ต้องหมั่นดูแลเป็นพิเศษ

หมอช้าง ทศพร ศรีตุลา เผย ดวงเมษายน 2567 : 2 ราศี ต้องระวัง! ชีวิตกำลังจะเจออุปสรรคทางสุขภาพร่างกาย
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า