น้ำท่วมฉ่ำ รับฤดูฝน กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่นั้น
ล่าสุด เมื่อเวลา 08.40 น. เพจเฟซบุ๊ก FM91 Trafficpro ได้โพสต์รายงานสถานการณ์ฝนตกน้ำท่วม ระบุข้อความว่า “ถนนศรีนครินทร์ ขาออก ก่อนถึงแยกการไฟฟ้า สมุทรปราการ น้ำท่วมขังสูง ท้ายแถวสะสมแยกศรีเทพา”


รายงานสถานการณ์ประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 25–26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 23–24 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23–26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23–26 พ.ค. 2567 นี้ไว้ด้วย

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา 07.00 น. พื้นที่กรุงเทพมหานครมีฝนตกปานกลางปริมาณฝนรวมสูงสุดที่จุดวัดสำนักงานเขตบางแค 40.0 มม. จุดวัดคลองสนามชัย – คลองบางขุนเทียน เขตจอมทอง 39.0 มม. จุดวัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ 34.5 มม. จุดวัดสำนักงานเขตหนองแขม 32.5 มม. จุดวัดสถานีสูบน้ำเทเวศร์ เขตพระนคร 31.0 มม.

ไม่มีรายงานจุดเร่งการระบายน้ำในถนนสายหลัก
รายงานค่าระดับน้ำแนวคันกั้นน้ำด้านตะวันออกวันนี้ (23 พฤษภาคม 2567 )
- ประตูระบายน้ำคลองสอง (สายใต้) (ระดับวิกฤติ +1.80) เวลา 07:00 น. ระดับ +0.59 ม.รทก. ระดับน้ำปกติ
- ประตูระบายน้ำแสนแสบ (มีนบุรี) (ระดับวิกฤติ +0.90) เวลา 07:00 น. ระดับ +0.01 ม.รทก. ระดับน้ำปกติ
- ประตูระบายน้ำลาดกระบัง (ระดับวิกฤติ +0.60) เวลา 07:00 น. ระดับ -0.09 รทก. ระดับน้ำปกติ
ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงสุดวานนี้ (22 พฤษภาคม 2567 )
- สถานีสูบน้ำบางนา ระดับ +1.30 ม.รทก. เวลา 19:00 น.
- ประตูระบายน้ำปากคลองตลาด ระดับ +1.05 ม.รทก. เวลา 20:00 น.
- สถานีสูบน้ำบางเขนใหม่ ระดับ +0.98 ม.รทก. เวลา 20:15 น.
ฐานน้ำขึ้นสูงสุดแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าสถานีกองบัญชาการกองทัพเรือวันนี้ (23 พฤษภาคม 2567 )
( เช้า ระดับ +0.76 ม.รทก. เวลา 04:24 น. บ่าย ระดับ +1.00 ม.รทก. เวลา 20:45 น.)
ปริมาณน้ำผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้ (23 พฤษภาคม 2567 )
นครสวรรค์ 390 ลบ.ม./วินาที
เขื่อนเจ้าพระยา 80 ลบ.ม./วินาที
เขื่อนพระรามหก – ลบ.ม./วินาที
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (เฉลี่ย 137 ลบ.ม./วินาที)
รายงานความเค็มสูงสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 (ค่าความเค็มเกิน 1.2 กรัม/ ลิตร ควรระมัดระวังในการใช้กับพืชทั่วไป)
- ส.แจงร้อน 1.3 กรัม/ลิตร เวลา 20:04 น.
- ส.ดาวคะนอง 2.0 กรัม/ลิตร เวลา 20:04 น
- ส.บางกอกใหญ่ 1.82 กรัม/ลิตร เวลา 20:04 น
- ส.เทเวศร์ 1.5 กรัม/ลิตร เวลา 19:00 น.
- ส.บางเขนใหม่ 0.2 กรัม/ลิตร เวลา 20:15 น.