สรุปที่มา คดีล้มล้างการปกครอง ของ พิธา – พรรคก้าวไกล ก่อน ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ปม หาเสียงแก้ไขมาตรา 112 วันนี้ (31 ม.ค. 67)
วันที่ 31 มกราคม 2567 หลังจาก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รอดพ้นจาก คดีหุ้นสื่อไอทีวี กลับต้องมาเจออีก 1 คดีใหญ่อย่าง คดีล้มล้างการปกครอง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีการนัดอ่านคำวินิจฉัยว่า “มีความผิดหรือไม่” โดย 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำวินิจฉัยช่วงบ่ายซึ่งจะไม่มีแกนนำ พรรคก้าวไกล เข้าร่วมรับฟังในห้องพิจารณาคดีแต่อย่างใด แม้แต่ตัว นายชัยธวัช ตุลาธน เนื่องจากมีวาระสำคัญในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ไม่สามารถไปรับฟังคำวินิจฉัยที่ศาลได้ ส่วนด้าน นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ฐานะผู้ร้อง) คาดว่าจะเดินทางไปรับฟังคำวินิจฉัยด้วยตัวเอง

สำหรับ “คดีล้มล้างการปกครอง” นายธีรยุทธ เป็นผู้ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ระบุว่า บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
- ใจจะขาด! เปิดคลิปเสียง แม่เด็ก ม.5 ที่โดน ตร. ข่มขืน ลั่น ช่วยลูกหนูด้วย
- เอาแล้ว! เด็กพิเศษเจอขุดคดีเก่า หลังก่อเหตุ แทงเพื่อนสลด
- สุดเอือม! เด็ก ป.4 รวมตัวทำลายข้าวของใน รร. ทุบคอมฯ เผาสมุดหนังสือ
โดย ข้อโต้แย้งระหว่าง ผู้ร้อง-ผู้ถูกร้อง หลังจากนายพิธา และพรรคก้าวไกล ถูกกล่าวหาว่ากระทำการเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 เมื่อ 10 พ.ย. 2564 หรือที่รู้จักในชื่อ “คดีทะลุเพดาน” จากคดีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ที่ปราศรับบนเวทีการชุมนุมของกลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต เมื่อ 10 ส.ค. 2563 กระทบต่อสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการใช้สิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกร้องทั้ง 3 ประกอบด้วย นายอานนท์ นำภา, ไมค์ ภาณุพงศ์ และ รุ้ง ปนัสยา แสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครอง จึงมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 รวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ซึ่ง 1 ใน 10 ข้อเรียกร้องของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ คือ ให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ “คดีทะลุเพดาน” ระบุตอนหนึ่งว่า “การให้มีการยกเลิกกฎหมายที่ห้ามเข้าไปล่วงละเมิด หมิ่นประมาท หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสถาบันพระมหากษัตริย์ จะส่งผลกระทบต่อสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำไปสู่การบ่อนทำลายการปกครองในที่สุด” จากคำวินิจฉัยนี้อาจทำให้ นายธีรยุทธตีความว่า ก้าวไกลกระทำการฝ่าฝืนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีผลผูกพันทุกองค์กร จากการเสนอให้ “ยกเลิกมาตรา 112”

ทั้งนี้ ทางด้านนายพิธา และพรรคก้าวไกล ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า พวกเขาไม่ได้ให้ยกเลิกมาตรา 112 แต่เสนอแก้ไขเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ธำรงอยู่คู่สังคมประชาธิปไตย โดยมีจุดประสงค์เพื่อ สร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองประมุขของรัฐกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และปรับการลงโทษในฐานความผิดนี้ให้ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์การกระทำผิด ตามที่เคยอภิปรายในตอนโหวตเลือกรับตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรีคนที่ 30” ที่รัฐสภา นั่นเอง