ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย คดีล้มล้างการปกครอง ของ พิธา-ก้าวไกล ปม หาเสียงชูแก้ไขมาตรา 112 ผลการพิจารณา ชี้ ให้มีความผิด
วันที่ 31 มกราคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญ มีการนัดอ่านคำวินิจฉัยว่า “มีความผิดหรือไม่” โดย 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นนั่งบัลลัง เริ่มอ่านคำวินิจฉัยช่วงเวลาประมาณ 14.00 น. ซึ่งไม่มีแกนนำ พรรคก้าวไกล เข้าร่วมรับฟังในห้องพิจารณาคดีแต่อย่างใด ทั้งตัว นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือแม้แต่ตัว นายชัยธวัช ตุลาธน เนื่องจากมีวาระสำคัญในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ไม่สามารถไปรับฟังคำวินิจฉัยที่ศาลได้

สำหรับ “คดีล้มล้างการปกครอง” นายธีรยุทธ เป็นผู้ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ระบุว่า บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
- อวสานหมึกไข่ย่าง เห็นแน่นๆตัวเต่งๆ ฉีกออกมาทีมีผงะ แทบกินไม่ลง
- เพจดังแฉ ครูอยากเห็นหน้าเด็กที่ถูกขืนใจ จนน้องเครียดหนักอยากลาโลก
- ฉาววงการผ้าเหลือง หลวงลุงฉันบวบเณร แถมถ่ายคลิป ขายกลุ่มลับ
ซึ่งทางด้านนายพิธา และพรรคก้าวไกล ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า พวกเขาไม่ได้ให้ยกเลิกมาตรา 112 แต่เสนอแก้ไขเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ธำรงอยู่คู่สังคมประชาธิปไตย โดยมีจุดประสงค์เพื่อ สร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองประมุขของรัฐกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และปรับการลงโทษในฐานความผิดนี้ให้ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์การกระทำผิด ตามที่เคยอภิปรายในตอนโหวตเลือกรับตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรีคนที่ 30” ที่รัฐสภา นั่นเอง

ทั้งนี้ ผลการวินิจฉัย ของ ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยแล้วว่าผู้ถูกร้อง “มีความผิด” มีคำสั่งให้ ‘เลิกการกระทำ‘ และเลิกการแสดงความคิดเห็น