ที่มาของแหล่งเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จุลพันธ์ รมช.คลัง เปิดเผยแล้ว อาจใช้งบประมาณแผ่นดินปี 2567 แทน ธนาคารออมสิน
วันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการคณะอนุกรรมการ ให้สัมภาษณ์ในรายการ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ ของ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กล่าวถึงประเด็นร้อน นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เนื่องจากเป็นนโยบายที่ประชาชนส่วนใหญ่เฝ้ารอการช่วงเหลือ และจับตาดูเป็นจำนวนมาก เพราะตั้งแต่รัฐบาลแถลงนโยบายมาจนถึงปัจจุบันกลับพบว่า โครงการเงินดิจิทัล มีปัญหาหลายด้าน ทั้งในเรื่องของเกณฑ์ในการรับเงิน ร่วมไปถึง ที่มาของแหล่งเงิน ที่จะใช้ในโครงการนี้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแหล่งที่มาหลายครั้งจนประชาชนเป็นกังวลว่า โครงการดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่

ล่าสุด นายจุลพันธ์ รมช.คลัง เปิดเผยแล้วว่า หลังจากมีการประชุมนัดที่ 2 เรื่องโครงการแจกเงินดิจิทัล ตอนนี้คณะอนุกรรมการ มีความคิดเห็นว่า แหล่งเงินที่จะใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เดิมที เราเคยคิดจะใช้ “ธนาคารออมสิน” ในช่วงต้น เนื่องจากตอนแรกที่เราจะเริ่มทำในไตรมาสแรกตอนนั้น “งบประมาณแผ่นดิน” ยังไม่ออก ซึ่งงบค่อนข้างล่าช้า แต่ต่อมา ก็มีการปรับเปลี่ยน ทางรัฐบาล ขอยืนยันครับว่า “เราจะใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก ซึ่งมันจะเกิดความโปร่งใส และชัดเจนที่สุด อันนี้เราขอยืนยัน และเราขอยืนยันว่า ตอนนี้มันต้องกระชากเศรษฐกิจ” ส่วนเรื่องเกณฑ์การรับเงิน เมื่อมีเสียงสะท้อนออกมา ซึ่งเราต้องเป็นรัฐบาลที่ฟังเสียงประชาชน เมื่อเขาสะท้อนมาเราก็ต้องปรับ นั้นแปลว่าเราต้องตัดเหลือแต่คนจนจริงๆ แต่พอออกมาประกาศ ก็มีอีกฝั่งที่บอกว่า “เงินเดือน 25,000 ก็ไม่ได้รวยนะ” เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่เราต้องสะท้อนไปยังที่ประชุม
- Super App มีอะไรที่แอปฯทั่วไป ไม่มี! ถึงเอามาใช้แจก ‘เงินดิจิทัล 1 หมื่น’
- รมช.คลัง ชี้ ดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ตรงกับที่หาเสียง เพราะมันจบไปนานแล้ว
- เปิดเกณฑ์รับเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่น คาดได้ใช้ เม.ย.-พ.ค. 67
ศิริกัญญา ชำแหละ ที่มาของแหล่งเงินดิจิทัลวอลเล็ต
ทั้งนี้ ในส่วนของ “ที่มาของแหล่งเงิน” นางสาวศิริกัญญา สส.พรรคก้าวไกล เคยให้ความคิดเห็นถึงการใช้เงินจาก “งบประมาณแผ่นดิน” โดยมีรายละเอียดว่า ข้อมูลงบ 67 ที่ปรับปรุงใหม่ ตามภาพที่ 2 ถึงจะขยายงบเป็น 3.48 ล้านล้าน แต่ก็ต้องจ่ายหนี้เพิ่ม ลงทุนเพิ่มตามไปด้วย เมื่อหักรายจ่ายที่ยังไงก็ต้องจ่าย ทั้งเงินเดือนสวัสดิการบุคลากรภาครัฐ งบใช้หนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เงินชดใช้เงินคงคลัง งบท้องถิ่น และสวัสดิการตามกฎหมาย งบที่เหลือมาจัดสรรใหม่ได้จริงเพิ่มมาเป็น 476,000 ล้าน ก็จริง แต่ขอย้ำว่านี่คือรายจ่ายประจำที่ต้องแชร์กับพรรคร่วมรัฐบาล 20 กระทรวง

ซึ่ง ถ้าใช้หมดนี่ก็หมายความว่า แต่ละกระทรวงได้เงินแค่พอจ่ายเงินเดือน กับงบลงทุน โครงการอื่นๆ ไม่ต้องทำกันแล้ว จะตั้งกองทุน soft power ก็ไม่ได้ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพิ่มงบไม่ได้ งบอุดหนุนบรรเทาภัยแล้งก็ไม่ได้ งบอุดหนุนดับไฟป่าแก้ PM 2.5 ก็ไม่ได้ โครงการฝึกอบรม upskill-reskill อะไรก็ทำไม่ได้ทั้งหมด ไม่ต้องพูดถึงค่าตอบแทน อสม. กำนันผู้ใหญ่บ้าน ก็หายหมดเช่นเดียวกัน ซึ่งเท่ากับว่าทางเลือกนี้ก็คงเป็นไปไม่ได้เหมือนเดิม
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY