จับตาให้ดี ศาลรัฐธรรมนูญ เข้าประชุมวินิฉัยหุ้นสื่อ ไอทีวี ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่ามีความผิดและโดนสั่งยุติหน้าที่กลางสภาหรือไม่
วันนี้ 19 ก.ค. 66 เป็นอีกวันประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยมี 2 เรื่องจาก 2 สถานที่ด้วยกัน ทั้งฝั่งด้าน ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา เป็นการเริ่มประชุมพิจารณาคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น รวมทั้งคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
ซึ่งทั้งนี้ การประชุมของ ศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่มีข้อสรุปว่า นายพิธา นั้นจะโดนสั่งให้ยุติหน้าที่ หรือ สมาชิกภาพ ของนายพิธา จะถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่การเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรกลางรัฐสภาหรือไม่ เพราะทางด้านสภา นั้นก็ยังมีข้อถกเถียงอีกเรื่อง นั้นคือ การโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในวันนี้ จะสามารถเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อเป็นนายกได้หรือไม่ โดยมีการเริ่มประชุมตั้งแต่ 09.30 น. จนกระทั่งขณะนี้ 11.30 น. ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าสามารถโหวตได้หรือไม่ได้
ทางด้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก่อนที่จะเดินทางไปยังสภา เมื่อเช้านี้ ก็ได้ในสัมถาษณ์ กับรายการ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ โดยเปิดใจว่า
ผมสู้ยิบตา ถ้ามันบิดเบือนขนาดที่ว่า ชนะเป็นพรรคอันดับ 1 แต่ผมยังหาประเทศที่อยู่ในระบบเดียวกับเรา ที่ชนะเลือกตั้งแล้วต้องไปเป็นไปฝ่ายค้าน ผมยังหาไม่เจอ ผมไม่ได้ ไร้เดียงสาทางการเมือง อยู่ในการเมืองมา 20 กว่าปี ก็เห็นความโหดร้ายของการเมืองไทยมาหลายครั้ง โดนทั้งนิติสงคราม โดนยุบพรรค มาหลายครั้ง ผมคิดว่า มันถึงเวลาที่เราต้องยืนหยัดด้วยกัน
ส่วนทางด้าน พรรคก้าวไกล ได้เคลื่อนไหว ณ เวลาเดียวกัน โดยแหล่งข่าวภายในพรรคก้าวไกล เปิดเผยว่าหากวันนี้ (19 ก.ค.) ที่ประชุมรัฐสภา มีมติเสียงข้างมากตีตกการโหวตรอบสองเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล เสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะพิจารณายื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตีความข้อบังคับที่ 41 ของประชุมร่วมรัฐสภา ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 หรือไม่ ซึ่งความเห็นของ ส.ส.พรรคก้าวไกล มี 2 แนวทาง คือส่วนหนึ่งเห็นว่าควรยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยข้อกฎหมาย แต่ ส.ส.อีกส่วนหนึ่งก็เห็นว่าไม่ควรจะยื่น ด้วยเหตุผลบางประการ
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม : เรื่องเล่าเช้านี้

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY