ห้ามนักการเมืองถือ หุ้นสื่อ ปิยบุตร ชี้ ป้องกันไม่ให้นักการเมืองครอบงำสื่อไม่ได้แล้ว ยังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของ “นิติสงคราม”
วันที่ 24 มกราคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำพิพากษาคดีหุ้นไอทีวี จากกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพ สส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ ซึ่ง ก่อนหน้านี้ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า และอดีตผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล กล่าวถึงที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อ หรือถือหุ้นสื่อ เพราะกลัวว่าจะครบองำสื่อให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเชียร์พวกตัวเอง หรือโจมตีฝ่ายตรงข้าม จนทำให้สื่อขาดความเป็นกลาง จึงกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนักการเมืองทุกระดับ เป็นเจ้าของกิจการสื่อหรือถือหุ้นสื่อ โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 วงเล็บ 3 และบทบัญญัติอื่นๆก็หยิบยืมมาตรานี้ไปใช้

นายปิยบุตร กล่าวอีกว่า เมื่อเริ่มต้นบังคับใช้ก็เกิดปัญหาตามมา เพราะห้ามไม่ได้เลย เพราะนักการเมืองที่อาจเคยถือหุ้นสื่อมา ก็อาจโอนให้ญาติก็ได้ หรือ แม้ไม่ได้ถือหุ้นสื่อโดยตรงก็อาจมีเพื่อนพ้อง ครอบครัว ที่ทำสื่อมานานและก็เชียร์นักการเมืองคนนั้นมานานแล้ว โดยเฉพาะปัจจุบัน สื่อไม่ได้มีเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ สื่อโทรทัศน์เท่านั้น ยังมีสื่อออนไลน์ที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ และเป็นสื่อสาธารณะที่สามารถสื่อสารไปในวงกว้างได้ จึงตั้งคำถามว่า การที่รัฐธรรมนูญถือหุ้นสื่อนั้นสุดท้ายเป็นเรื่องที่สมเจตนารมย์หรือไม่ สามารถป้องกันการครอบงำสื่อได้จริงหรือไม่ ซึ่งในมุมของตนนั้นมองว่า ไม่สามารถห้ามอะไรได้เลย ตรงกันข้าม กลับเป็นเครื่องมือในการทำนิติสงคราม เป็นเครื่องมือสกัดกลั่นแกล้งกัน ในทางการเมือง
- แก๊งดาวTikTok รุมทำร้ายผู้หญิงคาคอนโด อ้างถูกแฉความลับ
- สิงโตพัทยา โดยแล้ว ตร.บุกค้นบ้าน หลังจากพาไปชมวิว จนเป็นคลิปไวรัล
- ชี้ชะตา คดีหุ้นITV พิธา พบ 3 ใน 9 ตุลาการ เคยฟันธง ยุบพรรคอนาคตใหม่
เมื่อไปดูองค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยตัดสินคดีก็มีหลายองค์กร มีตั้งแต่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งศาลอุทธรณ์แผนกคดีเลือกตั้ง หรือแม้แต่ในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรืออย่างในอดีตศาลอาญาแผนกคดีเลือกตั้ง ก็เคยทำหน้าที่วินิจฉัย

ทั้งนี้ “เมื่อรวบแนวทางวิจนิจฉัย กลับพบว่ามีแนวทางการตัดสิน หรือบรรทัดฐาน ที่ไม่เหมือนกัน จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการทบทวนว่าการกำหนดเรื่องนักการเมืองห้ามถือหุ้นสื่อนั้นยังมีประโยชน์จริงหรือไม่ แต่ในมุมของตนมองว่าไม่จำเป็นต้องกำหนดเรื่องนี้ในลักษณะต้องห้ามของนักการเมืองอีกแล้ว” นายปิยบุตร กล่าว