กฤษฎีกาไฟเขียว พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้าน รัฐบาล เดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต แจก 10,000 บาท ‘จุลพันธ์’ ยัน ทันเดือนพฤษภาคม 2567 นี้
วันที่ 8 มกราคม 2567 ที่รัฐสภา นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบคำถามของกระทรวงการคลัง ว่า ยืนยันว่าสามารถออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 500,000 ล้านบาทได้ แต่มีข้อสังเกต และข้อเสนอแนะมาด้วย ในเรื่องของให้ปฏิบัติตามมาตรา 53 และมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ในเรื่องของความคุ้มค่า เพราะจะต้องมีการประเมินผลได้ทั้งก่อน และหลังโครงการ ในเรื่องของกลไกที่จะเป็นไปตามข้อกฎหมายตามมาตรา 53 คือเรื่อง ‘เป็นวิกฤตหรือไม่’ ซึ่งก็เป็นภาระหน้าที่ของทางกระทรวงการคลัง และเป็นภาระหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายจะดำเนินการให้ครบถ้วน

ส่วนที่สองที่มีข้อเสนอแนะ คือ เรื่องของการให้รับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน ซึ่งก็คงจะต้องพิจารณาสิ่งที่จะเกิดต่อจากนี้ และคงจะต้องมีการเชิญประชุมคณะกรรมการนโยบาย เพื่อที่จะเชิญทุกฝ่ายมา แล้วก็ต้องรบกวนทางเลขาธิการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการให้นำเสนอต่อที่ประชุม เพื่อให้ทุกคนทราบถึงคำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา และสรุปให้ที่ประชุมฟังด้วยว่า ในความเห็นนั้นๆ มีความหมายเช่นไร และควรจะดำเนินการเช่นไรต่อ พวกเราก็ในฐานะกรรมการนโยบายหลังจากประชุมกันแล้ว ก็คงจะต้องมีมติว่าเราจะดำเนินการขั้นต่อไปอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ที่ทำได้ แต่เมื่อมีข้อเสนอแนะมา เราต้องรับฟัง
- ภาพไวรัล หนุ่มน้อยตกปลา เบ็ดเกี่ยวขา โร่ให้หมอช่วยพร้อมขอปลาคืน
- กต.ตร.เมาแล้วขับ ซิ่ง Tesla ชนยับ 12 คัน ล่าสุด ถูกตั้งข้อหาแล้ว
- แม่แตงโมแจ้งจับอดีตทีมกฎหมาย อ้างยักยอกเงินเยียวยา คดีแตงโม
นายจุลพันธ์ กล่าวอีกว่า ยังพยายามยืนยันว่า กรอบเวลาจะต้องเป็นไปตามกรอบเดิม คือเป้าหมายเดิมใน เดือนพฤษภาคม 2567 นี้ ขณะนี้ ยังไม่มีเหตุให้เลื่อน ส่วนจะมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่นั้น ส่วนตัวมองว่ากลไกของดิจิทัลวอลเล็ตเป็นเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ใช่โครงการสงเคราะห์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม เพื่อให้ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยกลับไปสู่ระดับการเติบโตที่เต็มศักยภาพ นี่คือจุดมุ่งหมายของรัฐบาล

ทั้งนี้ นายจุลพันธ์ ยังกล่าวถึงเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งทางเราก็ได้แสดงความเป็นห่วงตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นที่ค่อนข้างเร็ว และสูง ซึ่งเกิดกระทบกับพี่น้องประชาชนในวงกว้าง เมื่อมีตัวเลขในเรื่องของผลกำไรของกลุ่มธนาคาร ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นภาระที่ตกกับประชาชน แต่แน่นอนว่า กลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมันแบ่งแยกกัน ในส่วนของรัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย