พายัพ ที่ปรึกษารองนายกฯ ยืนยัน ทักษิณไม่มีอภิสิทธิ์ชน ถือเป็นสิทธิของผู้ต้องขัง รักษาตัวเป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติมานานแล้ว
วันที่ 11 ธันวาคม 2566 นายพายัพ ปั้นเกตุ ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กลุ่มมวลชนไปเรียกร้องที่โรงพยาบาลตำรวจและกล่าวหานายทักษิณ ชิณวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ในส่วนเรื่องของการรักษาพยาบาล นายทักษิณเดินทางกลับประเทศไทยและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อรับโทษ โดยผ่านการตรวจคนเข้าเมืองและไปรายงานตัวรับโทษ จากนั้นเข้าสู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่สถานพยาบาลแดน 7 พิเศษกรุงเทพฯ ตรวจร่างกายและอาการป่วยพบว่า นายทักษิณเป็นผู้สูงอายุ อายุเกิน 70 ปี มีอาการป่วยเรื้อรังประจำตัวหลายโรค

โดย แพทย์โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เฝ้าดูอาการระยะหนึ่งแล้วมีความเห็นว่า อาการของผู้ป่วยน่าวิตกกังวลเกินขีดความสามารถที่โรงพยาบาลราชฑัณท์จะรับรักษาตัวได้ จึงทำการส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องจากมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ต่อมา นายทักษิณ ได้เข้ารับการผ่าตัดหลายครั้งจากหลายอาการ ดังที่เป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดถือเป็นสิทธิของ “ผู้ต้องขัง” หรือ “นักโทษ” ที่กรมราชทัณฑ์ปฏิบัติมานานแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องอภิสิทธิ์ชนใดๆ ทั้งสิ้น
- อัปเดต! อาการเด็กเคราะห์ร้าย รพ.จ่ายยาผิด ชาวเน็ตกระหน่ำให้กำลังใจ
- คดีสมรักษ์-คำสิงห์ ตร.เร่งสอบเพื่อน สาว 17 หาข้อมูลก่อนออกหมายเรียก
- หลานเป็นเด็กดี ตาของสาว 17 ยืนยัน คดีสมรักษ์ ดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด
ซึ่งตนก็เคยเป็นนักโทษชาย ติดคุกที่เรือนจำพัทยาคดีชุมนุมทางการเมือง เมื่อประมาณปี 2552 และมีโรคประจำตัวเรื้อรังหลายโรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งแพทย์และพยาบาลในเรือนจำก็มีการตรวจดูอาการเช่นกัน รวมถึงให้อยู่ในการดูแลของสถานพยาบาลในเรือนจำ ตนเคยมีอาการโรคหัวใจกำเริบ ต้องปั้มหัวใจในเรือนจำ แต่ไม่มีเครื่องมือแพทย์และขาดแพทย์เฉพาะทาง จึงปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลบางละมุง สุดท้ายก็ส่งตัวกลับเข้าเรือนจำในกรุงเทพมหานคร และไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเหมือนกัน

“ผมจำเป็นต้องออกมาพูดทำความเข้าใจกับสังคมว่า คนคุกมีความเสี่ยงและอันตรายต่อชีวิตมากน้อยเพียงใด และการรักษาอาการป่วยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แม้จะเป็นผู้ต้องขังหรือนักโทษที่จะได้รับการรักษาพยาบาลจากอาการป่วย ซึ่งเป็นหลักการสากล” นายพายัพ กล่าว