วันที่ 25 พ.ย. 63 จากกรณีที่ ราษฎร ประกาศเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมจากเดิมที่จะชุมนุมบริเวณสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตร์ ย้ายไปที่สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ถนนรัชโยธิน วันนี้ตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป เนื่องจากแกนนำหวั่นว่าจะเกิดเหตุปะทะขึ้น หลังมีกระแสข่าวว่ากลุ่มคนรักสถาบันก็จะจัดการชุมนุมในบริเวณเดียวกัน อย่างไรก็ดีหลายคนอาจสงสัยว่าทำไมราษฎรจึงเลือกนัดชุมนุมที่สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตร์ และเปลี่ยนเป้าหมายไปที่ธนาคารไทยพาณิชย์แทน
รถติดหนัก! ตำรวจปิดพื้นที่ ซ้อมรับมือม็อบ แม้ ราษฎร ประกาศเปลี่ยนไป SCB แล้ว
เปิดรายชื่อ 12 แกนนำ ม็อบราษฎร ถูกหมายเรียกฐานมีความผิด มาตรา 112
สำนักข่าวไทยพีบีเอส ได้รายงานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโดยอ้างอิงจากหนังสือหนังสือกลางใจราษฎร์ และงานวิจัยเรื่องสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ทั้งนี้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือทรัพย์สินมีอยู่แล้วก่อนแล้วก่อนขึ้นครองราชสมบัติ 2.ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติ ใช้เพื่อประโยชน์แผ่นดิน เช่นพระราชวัง 3.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่น ที่ดินและหุ้นบริษัท ทั้งยังไม่ต้องเสียภาษี
เปิดที่ตั้งและประวัติ SCB สํานักงานใหญ่ เอสซีบีพาร์คพลาซ่า ล่าสุดเจ้าหน้าติดกล้องวงจรปิดเพิ่ม
ต่อมามีการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อปี 2490 ได้มีการแก้ไขกฎหมายและบังคับใช้เมื่อปี 2491 มีสาระสำคัญคือการจัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีสภาพเป็นนิตบุคคล แยกขาดเป็นอิสระจากการดูแลของรัฐบาล ต่อมามีการรายข้อมูลการลงทุนหุ้นในบริษัทต่างๆ ทางตรง 90 บริษัทและทางอ้อมอีกกว่า 300 บริษัท โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์และเครือซีเมนต์ไทย ซึ่งสองส่วนหลักนี้มีรายได้กว่า 60% ของรายได้หลัก นอกจากนั้นยังมีการถือครองที่ดินกว่า 40,000 ไร่ อยู่ในพื้นที่เขตกรุงเทพกว่า 8,000 ไร่ และส่วนหนึ่งพบว่าเป็นทำเลทอง
ข้อมูลจากหนังสือกลางในราษฎร์ รองศาสตราจารย์ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรีให้สัมภาษณ์ไว้ว่า สำนักงานทรัพย์สินไม่ได้มีเป้าหมายหลักในการหารายได้ ส่วนใหญ่มีเป้าหมายหลักในการทำสาธารณะประโยชน์ สำหรับที่ดินกว่า 93% ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการพาณิชย์อย่างแท้จริง ซึ่งหนังสือกลางใจราษฎร์ได้กล่าวอีกว่าที่ดินถูกใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์อีกมาก
ด้านงานวิจัยศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 สำนักทรัพย์สินฯ ต้องการจะเพิ่มทุนรักษาสภาพการถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ขณะนั้นเงินไม่พอ จนกระทรวงการคลังต้องมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน จากนั้นสำนักงานทรัพย์สินก็นำที่ดินในด้านพญาไทและย่านราชวิถีไปแลกกับหุ้นธานาคารไทบยพาณิชย์ ซึ่งในของศ.ดร.พอพันธ์บอกว่าเป็นการใช้อำนาจเหนือรัฐ เพราะการแลกที่ดินกับหุ้น กฎหมายไม่อนุญาติให้ทำได้
ขณะเดียวกันเพจ เยาวชนปลดแอก ได้โพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียโดยระบุว่า “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่เท่ากับ ทรัพย์สินส่วนพระองค์” แต่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เท่ากับ ทรัพย์สินส่วนรวมของบัลลังก์ (ประชาชน + สถาบันกษัตริย์) หรือก็คือ กงสีของชาติ ที่มีประชาชนและสถาบันกษัตริย์เป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับที่แจกแจงทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 3 ส่วนข้างต้น
ทั้งนี้ยังกล่าวอีกว่า การโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ จึงไม่ต่างจากการขโมยกงสีของชาติ
กงสีของชาติ มีหุ้น SCB 723,941,958 หุ้น มูลค่ารวมกว่า 63,706,892,304.00 บาท มีหุ้น SCC 379,060,600 หุ้น มูลค่ารวมกว่า 137,978,058,400.00 บาท ณ วันนี้ หุ้น SCB และ SCC ทั้งหมดถูกโอนออกจากกงสีของชาติทั้งหมดไปให้กับกษัตริย์วชิราลงกรณ์แต่เพียงผู้เดียว หากไม่เรียกว่านี่คือการปล้นชาติแล้วจะเรียกว่าอย่างไร
นี่คือเหตุผลที่เราต้องไปสำนักงานใหญ่ SCB! 25 พฤศจิกายนนี้พร้อมกัน 15.00 น. ทวงคืนทรัพย์สินที่เป็นของชาติและของราษฎรทุกคนไปด้วยกัน!
