เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นเอกสารเพิ่มเติม จี้! กกต. ยุบ ‘พรรคก้าวไกล’ หลังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ‘ล้มล้างการปกครอง’
สืบเนื่องจากกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีการนัดอ่าน คำพิจารณาคดีสำคัญ มีการเปิดผลคำวินิจฉัยฉบับเต็ม ของ คดีล้มล้างการปกครอง ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ พรรคก้าวไกล สืบเนื่องจาก นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2) ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. เพื่อ ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการใช้สิทธิ หรือ เสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมาย โดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการรายงานว่า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ จะเดินทางไปยื่นหนังสือ ที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เวลา 10.00 น. เพื่อทำการยื่นเอกสาร ยุบพรรคก้าวไกล พร้อมกับคัดคำแถลงการณ์ของศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการยุบพรรค พร้อมกับส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการเอาผิดจริยธรรมสมาชิกและกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล เพราะเป็นการกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ล่าสุด วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ให้สัมภษณ์ ว่า เนื่องจากวันพุธที่แล้ว กรณีหุ้นไอทีวี ก็แสดงความยินดีซึ่งกันและกัน และเมื่อวานกรณีศาลพิจารณาคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เห็นว่านักกฎหมายอาจจะสับสนกับข้อกฎหมายออกไป ว่าการร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ศาลฯสั่งได้อย่างเดียวคือ ให้การกระทำถ้าศาลฯท่านเห็นว่า มีการใช้สิทธิหรือเสรีภาพล้มล้างการปกครอง ก็ชัดเจนนะศาลฯก็บอกว่าผู้ร้องทั้งสองใช้สิทธิ เมื่อบังคับการกระทำแล้วศาลฯ ก็ให้คำวินิจฉัยเพิ่มเติม ว่าให้เลิกอย่างไร

โดยสาระสำคัญที่ผมเข้าใจจากข่าวสาร คือ
1. ห้ามยกเลิกมาตรา 112 ความเข้าใจของผมจากที่เคยเคยร้องเมื่อ ปี 64 ปี 66
2. รัฐธรรมนูญมาตรา 6
จะได้ทำความเข้าใจอีกก็คือว่า การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรมาตรา112 หรือจากกฎหมายใดก็แล้วแต่ เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ จะตรากฎหมายใหม่แก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก แต่ต้องโดยชอบ ศาลวินิจฉัยมาแล้ว กระบวนการตรากฏหมายที่องค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่ง เมื่อศาลวินิจฉัยมาตรา 49 แล้วคำว่า ล้มล้างการปกครอง อยู่ในกฎหมายพรรคการเมืองด้วยมาตรา 92 (1) (2) อาจเป็นปฏิปักษ์ ต่อมาศาลวินิจฉัยมาตรา 49 กรณีที่ไปใช้สิทธิแสดงความคิดเห็นว่าจะเสนอความเห็น 10 เรียกร้อง 3 สามแนวทางอะไรก็แล้วแต่
ผู้ถูกร้อง เป็นประชาชนทั่วไป ไม่ใช่หัวหน้าพรรคการเมือง หรือพรรคการเมืองมันก็จะมีผลต่อการนำความมาใช้กฎหมายพรรคการเมืองไปได้ เมื่อศาลเด็ดขาด จะบรรจุวาระอะไรไม่ได้แล้วที่ไปละเมิด ของรัฐธรรมนูญเมื่อคำวินิจฉัยของศาลมีผลผูกพันและเป็นประเด็นข้อเท็จจริง ที่แทบจะเรียกว่าอันเดียวกัน ในสำนวนที่สู้กัน ที่ศาลฯขยายวันนี้ต้องนำคำวินิจฉัย
“เมื่อวานเนี่ยมีผลทันทีนะ ไปดำเนินการยื่นคำร้องตามกฏหมายพรรคการเมือง มาตรา 92 ผมใส่ทั้งสองวงเล็บ วง (1) (2) ไปที่ศาล เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่า จะต้องยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคก้าวไกลหรือไม่ ถ้ากกต.ไม่ส่ง ทำไม่ได้ เพราะไม่มีผู้ร้องและอำนาจเป็นของกกต.ฝ่ายเดียว” นายเรืองไกร กล่าว
ส่วนประเด็นเรื่อง “เศรษฐา-แพทองธาร” หาเสียงอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องแก้ไข ม.112 กำลังเก็บรวบรวมอยู่ และไล่ย้อนไทม์ไลน์กลับไป รวบรวมพยานหลักฐานไม่ยาก อยู่ในคิวต่อไป