จ่อใช้ ม.44 ขยายพรก.แรงงานต่างด้าว 120 วัน-กระทบธุรกิจอื้อ! (มีคลิป)

รัฐมนตรีแรงงาน เสนอ ครม.และ คสช.ในการพิจารณาการออกคำสั่งตามาตร 44 เพื่อชลอบทลงโทษตามมาตรา 101 102 119 และ 122 ให้ดำเนินการได้ถูกต้อง โดยใช้ระยะเวลา 120 วัน ขณะที่ผู้ประกอบการเปิดเผยข้อมูลว่า ล่าสุดแรงานต่างดาวชาวเมียนมาร์เกิดความหวาดกลัว เดินทางกลับประเทศ ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ วอนรัฐบาลเข้าช่วยเหลือ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ที่กระทรวงแรงงาน ซึ่งในวันนี้มีวาระสำคัญในการพิจารณาหลายเรื่อง โดยที่ประชุมจะมีการรายงานการดำเนินการตรวจสัญชาติรายงานต่างด้าว

ขณะเดียวกันที่ประชุมจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 และคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์การบริหาร พ.ศ.2560-2564 รวมทั้งหาแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคนแรงงานภาคเกษตรหรือแรงงานตามฤดูกาล และแนวทางในการแก้ปัญหาระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติสิ้นสุดลง

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ก็จะมีการหามาตรการรองรับกับการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 หรือ พรก. แรงงานต่างด้าว และหาแนวทางในการเดินกลับประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการรับรองรายชื่อแรงงานต่างด้าวที่เจ้ามาทำงานตามข้อตกลง MOU

ทั้งนี้ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เพื่อเป็นการปิดช่องว่างและปรับปรุงกฏหมายให้สามารถดำเนินการจัดระเบียบได้แรงงานต่างด้าวได้ทั้งระบบ นายกรัฐมนตรีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ โดยจะมีเสนอที่ประชุม ครม.และ คสช.ในการพิจารณาการออกคำสั่งตามาตร 44 เพื่อชลอบทลงโทษตามมาตรา 101 , 102 , 119 และ 122 ให้ดำเนินการได้ถูกต้อง โดยใช้ระยะเวลา 120 วัน เน้นย้ำในเรื่องการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่มีเรื่องทุจริต หรือเรียกรับเงินจากแรงงานและผู้ประกอบการ โดยกระทรวงแรงงานจะประสานกับทุกหน่วยงานให้เกิดการทำงานด้วยความโปร่งใส และต้องไม่ขาดแคลนแรงงานซึ่งเรื่องนี้ได้กำหนดแผนไว้แล้ว

‘บิ๊กป้อม’ เผยจ่อใช้ ม.44 ขยาย พรก. 120 วัน

ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีการหามาตรการรองรับกับการบังคับใช้พ พรก.แรงงานต่างด้าว และหาแนวทางในการเดินกลับประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าวรวมทั้งการรับรองรายชื่อแรงงานต่างด้าวที่เจ้ามาทำงานตามข้อตกลง MOU ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะชงให้ใช้มาตรา 44 เพื่อให้สามารถขยายเวลาออกไปได้ 120 วัน เพื่อให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าวดำเนินการเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้ข้อสรุปในการที่จะส่งเรื่องเข้าครม. และ คสช. ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกันนี้ยังระบุว่า ช่วงที่แรงงานเดินทางกลับไปขณะไม่ได้เป็นการเข้าใจเชิงข้อมูลข่าวสาร เพียงแต่เดินทางกลับเพื่อจัดเตรียมเอกสารให้เกิดความเรียบร้อย ภาพรวมแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนาขณะนี้มีประมาณ 8,000 คน

ซึ่งก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. เป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2560 ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เรื่อง ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย ที่เมืองทองธานี พร้อมกล่าวถึงปัญหาการจัดการแรงงานเพื่อนบ้านตามกฎหมายใหม่ โดยให้แนวทางไว้ว่า แรงงานทุกคนที่ยังไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องออกนอกประเทศเพื่อจัดระเบียบใหม่ ซึ่งแรงงานที่มีงานเดิมซึ่งต้องใช้ความไว้วางใจ เช่น คนทำงานบ้าน คนเลี้ยงเด็ก ต้องให้กลับเข้าทำงานที่เดิมได้ ส่วนแรงงานใหม่ต้องผ่านขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ ให้แล้วเสร็จก่อนเข้ามาทำงานในประเทศ ส่วนเรื่องค่าปรับต้องดูไปตามกฎหมาย และ มองถึงความเหมาะสมว่าจำเป็นต้องปรับปรุงหรือไม่ พร้อมขอทุกฝ่ายอย่าเคลื่อนไหว ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อให้เวลา 120 วันก็ต้องดำเนินการให้ทันตามกำหนด และ ขอให้ทุกฝ่ายเห็นใจเจ้าหน้าที่ผู้ต้องบังคับใช้กฎหมายด้วย

ในส่วนฝั่งวิปรัฐบาล นายแพทย์เจตน์ ศิรธารานนท์ โฆษก คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบเสนอพระราชกำหนดการบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 เข้าสู่ที่ประชุมวิป สนช. เพื่อนำเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบต่อไป ส่วนข้อกังวลจากภาคเอกชนต่อตามมาตราในพระราชกําหนดดังกล่าว เห็นว่าเป็นอำนาจของรัฐบาลกำลังหาแนวทางในการแก้ไข ผ่านการออกคำสั่งตามมาตรา 44 โดยวิปรัฐบาลได้พิจารณาข้อดี ข้อเสีย และที่มาของพระราชกำหนดดังกล่าว ว่าเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ซึ่งกรมการจัดหางานได้ชี้แจงว่าปัจจุบัน มีแรงงานต่างด้าวที่มีหนังสืดเดินทาง หรือ พาสปอร์ตจำนวน 1 ล้าน 3 แสนคน แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันชั่วคราวหรือมีบัตรชมพูจำนวน 1 ล้าน 3 แสนคน ส่วนแรงงานผิดกฎหมายนั้นไม่ทราบจำนวน

อย่างไรก็ตามที่ประชุมเห็นว่า ตามหลักการต้องมีการจัดระเบียบแรงงานที่ผิดกฎหมายให้ถูกต้อง แต่เมื่อเกิดผลกระทบรัฐบาล รัฐบาลก็จะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เนื่องจากพระราชกําหนดมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยการออกเป็นพระราชกำหนดเนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเป็นเหตุผลด้านความมั่นคงของรัฐบาล

สั่งเด็ดขาด!ห้ามตำรวจใช้ช่องว่างกม. รีดแรงงานต่างด้าว

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีคำสั่งกำชับห้ามตำรวจทุกหน่วยใช้ช่องว่างทางกฎหมาย เรียกรับผลประโยชน์จากทั้งนายจ้างและแรงงานในระหว่างที่พระราชกำหนดการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว มีผลบังคับใช้ไปแล้ว ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมาก ทยอยเดินทางกลับประเทศต้นทาง

ที่ผ่านมา มีการเอาผิดตำรวจที่มีหลักฐานชัดเจนว่ากระทำความผิด แต่ยอมรับว่า นอกจากตำรวจ ยังมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้อีกหลายหน่วยงานด้วยกัน ดังนั้น จึงอยากให้สังคมช่วยกันสอดส่องหากพบข้อมูลว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกรับผลประโยชน์หรือไม่

รองโฆษก ตร. กล่าวอีกว่า รัฐบาลพยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติทยอยเดินทางกลับประเทศจากผลของการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งตำรวจพร้อมจะปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาล จึงเชื่อว่า ปัญหานี้น่าจะคลี่คลายลงไปได้ในที่สุด

แรงงานกลับประเทศส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ

ขณะที่ผู้ประกอบการในจังหวัดสมุทรสาครออกมาบอกว่า พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวทำให้ธุรกิจค่อนข้างซบเซาและมีผู้ประกอบการหลายที่ ต้องยกเลิกกิจการเพราะขาดทุนจำนวนมาก

โดยหลังจากรัฐบาลมีการพิจารณารออก พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ที่เพิ่มโทษปรับนายจ้างเต็มอัตราสูงสุดทำให้วันนี้ผู้ประกอบการเดือนร้อนเพราะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ผู้สื่อข่าวไบรท์ทีวีลงพื้นที่ไปที่สะพานปลาในมหาชัยจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสอบถามผลกระทบที่เกิดขึ้น

โดยคุณอำไพ หาญไกรวิไลย์ ผู้ประกอบการกิจการธุรกิจอาหารทะลแปลรูป บริษัทไทยรอแยลฟรอเซนฟู๊ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งขนาดย่อย เผยว่า แรงงานต่างด้าวถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ แต่หลังจากรัฐบาลมีการพิจารณาประกาศใช้ พรก.ควบคุมแรงงานต่างด้าว ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวหลายคนหวาดกลัวและเดินทางกลับประเทศ ซึ่งในขณะนี้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานจึงขอวิงวอนรัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ

นาย อองตวน เม แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ เดินทางเข้ามาทำงานเป็นลูกเรือประมงในประเทศไทยนานกว่า 10 ปี เปิดเผยข้อมูลกับทีมข่าว ว่า การที่แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ตัดสินใจเดินทางเข้ามาทำงานประเทศไทยเนื่องจากมีรายได้ดีกว่า ทุกปี อองตวน มีเงินสะสมกลับไปให้ครอบครัวมากกว่า 1 แสนบาท แต่การที่รัฐบาลไทยพิจารณาประกาศใช้ พรก.ควบคุมแรงงานต่างด้าว ทำให้เพื่อนแรงงานที่ลักลอบเข้ามาขายแรงงานหวาดกลัว และตัดสินใจเดินทางกลับประเทศเป็นจำนวนมาก

ขณะเดียวกัน นายคำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงจังหวัดสมุทรสาคร ระบุว่า แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยที่มีการขึ้นทะเบียนจำนวนทั้งหมด 2 แสน 8 หมื่นกว่าไม่เกิน 3 แสน แต่ถ้าเป็นใน จ.สมุทรสาคร มีแรงงานต่างด้าวเพียง 2,700 คนเท่านั้นที่ขึ้นทะเบียนแล้ว หลังจากแรงงานต่่างด้าวกลับไปทำเอกสารให้ถูกต้อง คาดว่าแรงงานจะเดินทางกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีกอย่างแน่นอน

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า