พบไมโครพลาสติกในท้อง “ปลาทู” เฉลี่ย 78 ชิ้นต่อตัว

วานนี้ (10 ก.ย.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊กของ ศูนย์ปฎิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จังหวัดตรัง ได้โพสต์ภาพ พร้อมกับผลการตรวจสอบปลาทูไทย โดยระบุว่า

#ไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู การศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู
บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง

ในการศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู บริเวณเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง โดยเก็บตัวอย่างจากท่าเรือบริเวณหาดเจ้าไหม เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกจากการกินอาหารของปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) พบว่าปลาทูขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 66.53 ± 1.136 กรัม (ค่าเฉลี่ย ± SE) ความยาวมาตรฐานเฉลี่ย 17.46 ± 0.087 (ค่าเฉลี่ย ± SE) เซนติเมตร มีไมโครพลาสติกในกระเพาะของปลาทูเฉลี่ย 78.04 ± 6.503 ชิ้น/ตัว ประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย (สีดำน้ำเงิน แดง และเขียว) ชิ้น (สีดำ ขาว แดง น้ำตาล-ส้ม ฟ้า-น้ำเงิน และเหลือง) แท่งสีดำ และกลิตเตอร์ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นสีดำ ด้วยค่าร้อยละ 33.96

เพจเฟซบุ๊กของ ศูนย์ปฎิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จังหวัดตรัง
การศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู

ขณะที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า เรื่องไมโครพลาสติกกำลังดัง เมื่อศูนย์วิจัยอุทยานพบไมโครพลาสติกในปลาเฉลี่ย 78 ชิ้น/ตัว

การศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู

พลาสติกในท้องปลามาจากไหน เพื่อนธรณ์ลองดูภาพถุงพลาสติกที่เราเพิ่งเก็บมาจากใต้ทะเลสิครับ


ถุงกร่อนแตกตัวเป็นไมโครพลาสติก ลอยขึ้นไปอยู่ในน้ำ ตราบใดที่ถุงยังอยู่ เศษพลาสติกก็หลุดออกมาเรื่อยๆ


การเก็บขยะทะเล จึงเป็นส่วนช่วยลดไมโครพลาสติกโดยตรง ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกัน
ขอบคุณท่านรมต.วราวุธด้วยฮะ เพราะการแบนถุงก๊อบแก๊บในเดือนมกรา ปีหน้า จะช่วยลดต้นตอไมโครพลาสติกไปได้อีกเยอะเลย

เมื่อแตกออกมาแล้วในน้ำมีเยอะไหม

ผมนำเครื่องมือเก็บไมโครพลาสติกลากในทะเล จากนั้นก็นำมากรองใส่ขวดที่อยู่ในมือผม จะเห็นเม็ดเล็กๆ ที่ก้นขวด นั่นแหละครับคือไมโครพลาสติก (บางส่วน)
เมื่อนำไปส่องดูในกล้อง เราจะเห็นไมโครพลาสติก หรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร มีอยู่หลายแบบเลยฮะ


ปลาบางชนิดกินแพลงก์ตอนในน้ำ ก็กินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย จากนั้นก็ไปอยู่ในท้อง


บางส่วนสลายตัวกลายเป็นนาโนพลาสติก อาจเข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อปลาได้
เรากินสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไป อาจเป็นสาเหตุเสี่ยงต่อหลายโรค ตามที่องค์การอนามัยโลกเคยเตือนไว้


เรื่องนี้อีกยาว ตอนเย็นจะเล่าให้ฟังโดยละเอียด ตอนนี้ขอทำงานก่อนครับ
อย่าลืมอ่านบรรยายภาพด้วยนะครับ

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล
การศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู
การศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู
การศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู

หมายเหตุ – สอบถามเรื่องไมโครพลาสติกในปลา ติดต่อที่ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานทางทะเล จังหวัดตรัง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า