เปิดคุณสมบัติ สเปรย์พ่นจมูกโควิด ดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่พร้อมสู่สายตาของชาวโลก
ภาคีและพันธมิตรจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), องค์การเภสัชกรรม พร้อมด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ อีกหลายๆ หน่วยงาน ร่วมกันผลักดัน นวัตกรรม สเปรย์พ่นจมูก ดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพ บริเวณโพรงจมูก เวลล์โควิแทรป แอนติ-โคฟ นาซาล สเปรย์ (Vaill CoviTRAP Anti-CoV Nasal Spray) ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่พร้อมสู่สายตาของชาวโลก

โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข รายงานว่า นวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด – 19 มีคุณสมบัติสามารถดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง ด้วยหลักการทำงาน 2 กลไก ได้แก่
- ดักจับด้วย HPMC ที่ทำหน้าที่เคลือบบริเวณพื้นผิวโพรงจมูก ทำให้ความสามารถในการเกาะของเชื้อไวรัสที่บริเวณโพรงจมูกลดลง
- ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางกายภาพ ที่เข้ามาในบริเวณโพรงจมูกด้วยภูมิคุ้มกัน ใช้พ่นที่โพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง สอดหัวพ่นเข้าไปในโพรงจมูกในแนวตั้ง พ่นข้างละ 1-2 ครั้ง ใช้ได้ตามต้องการทุก 6 ชั่วโมง ได้ถึงวันละ 3 ครั้ง มีขนาด 15 มล. พร้อมในการจัดจำหน่ายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้

ทั้งนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ประกาศฯ ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565 และ 2) ประกาศฯ เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 สาระสำคัญ คือ เป็นการยกเลิกโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป
เนื่องจากขณะนี้จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง – เสียชีวิต การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคในประเทศมีเพียงพอ โดยประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น จึงสมควรปรับมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY