หมอสมิทธิ์ชี้ หลักฐานการตาย ปม ผู้กับกับโจ้ ไม่เกี่ยวกับใบชันสูตรพลิกศพ

หมอสมิทธิ์ชี้ หลักฐานการตาย ปม ผู้กับกับโจ้ ไม่เกี่ยวกับใบชันสูตรพลิกศพ เป็นเพียงสาเหตุการตายเบื้องต้น ตามหน้างานเท่านั้น

จากกรณีที่ ทนายตั้ม ออกมาแฉคลิป ผู้กับกับโจ้ หรือ พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ผู้ต้องหาในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกร้องเรียนว่าได้ทําร้ายร่างกายโดยการทรมาน นายจิระพงศ์ ธนะพัฒน์ ผู้ต้องหาคดียาเสพติด เพื่อเรียกเงิน จํานวน 2 ล้านบาท จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต และถูกดําเนินคดีอาญา โดยกล่าวหาว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา อีกทั้งยังมีเอกสารหลักฐานการตายออกมา จนมีประชาชนหลายท่านเกิดความสงสัยว่าทำไมสาเหตุการตายเป็นการตายเพราะ พิษจากสารแอมเฟตามีน

ล่าสุด นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ แพทย์นิติเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กโดยระบุว่า “เคสที่ดังๆ อันนั้นนะ อยากบอกให้รู้ไว้ว่า มันเป็นแค่หนังสือรับรองการตาย ซึ่งดูได้จากรูป ซึ่งหนังสือรับรองการตายมันไว้เพื่อเก็บสถิติการตาย ไม่เกี่ยวกับใบชันสูตรพลิกศพที่หมอจะออกมาให้ตำรวจเพื่อใช้ทำคดีเลย (ถ้าเป็นเคสผม ผมตรวจปัสสาวะเจอยาบ้า ผ่าไปไม่เจอการบาดเจ็บที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ผมก็ลงแบบนี้ครับ)

หมอสมิทธิ์ ยังได้กล่าวต่อว่า สำคัญข้อหนึ่งคือหมอคนที่ออก เขาก็ลงสันนิษฐานแล้ว ไม่ได้ฟันธงนะจะว่าหมอคนออกว่าโกง หรือโดนยัดเงินก็ควรรอใบชันสูตรพลิกศพก่อน แล้วจะมีคนถามว่า แล้วแบบนี้ต้องแก้ไหมถ้าเจอเหตุจริงแล้ว อันนี้เป็น pain point ข้อนึงเหมือนกัน ที่หมอทั้งหมอทั่วไปและหมอนิติเวชเจอว่า เราแก้ใบหนังสือรับรองการตายไม่ได้ แม้อยากจะแก้

เนื่องจากติดระบบที่อำเภอจริงๆ ทางนิติเวชมีหลายๆ เคสที่มีปัญหาแบบนี้ แม้ผ่าศพแล้วก็ยังลงสาเหตุตายแบบแน่นอนได้ยากเลย บางทีแค่วันเดียวเราระบุสาเหตุการตายไม่ได้หรอก ต้องรอผล toxico (กรณีนี้มีคนแนะนำให้ลงหัวใจล้มเหลวซึ่งก็ผิดหลักการที่ไม่ควรลงกลไกการตาย แล้วสุดท้ายถ้าแก้ไม่ได้ก็กลายเป็นโรคหัวใจเลย) บางทีสันนิษฐานสาเหตุไปคล้ายๆ กรณีนี้ แต่สุดท้ายตรวจไปเจอชิ้นเนื้อแล้วพบว่าเป็นเหตุอื่นก็มี ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้สถิติการตายของคนไทยผิดเพี้ยนได้ (จริงๆ มีคนบอกว่าแก้ได้นะ แต่เวลาหมอแจ้งจะวุ่นวายมาก)

ซึ่งตอนนี้ทาง สธ กำลังแก้ไขอยู่นะครับ ไงทางผมก็จะพยายามเข้าไปช่วย เพื่อให้ประเทศไทยมีสถิติการตายที่เหมาะสมตรงกับโรคที่เกิดจริง

ทางด้านคอมเมนท์ ก็มีคนเข้ามาสอบถามว่า ถ้าไม่แน่ใจลง unknown cause of death ได้ไหม? คุณหมอก็มาตอบว่า ได้สิ แต่ลองจินตนาการ ถ้าเราเป็นคนชันสูตรเคสนี้ ลงแบบนี้ ไม่รู้ตำรวจจะยอมไหม มักจะให้ต้องเปลี่ยน แต่ถ้าเราเปลี่ยนเป็น heart failure ที่ผิดหลักการการลง แล้วแถมสังคมก็คงด่าอยู่ดี หรือไปลง asphyxia สุดท้ายไม่ใช่ ก็โดนตำรวจด่าอยู่ดี และอันนี้น่าจะหนักด้วยสรุปหมอคนไหนเจอเคสนี้ ซวยหมด

ขอบคุณข้อมูลจาก Smith Fa Srisont

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า