“หมอธีระวัฒน์” ตั้งคำถาม หลังห็นชอบ 3 หลักเกณฑ์แนวทางการพิจารณาโรคโควิด-19 เป็น โรคประจำถิ่น ทั้งนี้ต่อจากนี้ …เรียกรองค่าชดเชยวัคซีน ได้หรือไม่?
สื่บเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ทางด้านของ ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ 3 หลักเกณฑ์แนวทางการพิจารณาโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น หลังการระบาดมา 2 ปี มีทิศทางดีขึ้น อยู่ภายใต้การควบคุม และความรุนแรงของโรค ลดลง แต่การจะประกาศเป็นโรคประจำถิ่นต้อง ซึ่งต้องเข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหมด
ต่อมา เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 ทางด้านของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ตั้งคำถามผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยระบุว่า
ทางการสั่งให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว 28/1/65
- โควิดไม่ได้อยู่ในโรคติดต่ออันตราย?
- ไม่ต้องมีการตรวจคัดกรองแยกกักตัว?
- ไม่ต้องมีการรายงาน?
- ถ้าเป็นการรักษา ต่อไปนี้ใช้สิทธิ์ของแต่ละคนเช่นใช้บัตรทอง?
- ไม่ต้องมีการชดเชยการประกอบธุรกิจค่าเสียหาย?
- การตรวจใดๆ เป็นการตรวจที่ต้องเสียเงินเอง?
- วัคซีนที่ใช้อยู่เป็นวัคซีนที่ออกมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น
โดยที่จนกระทั่งถึงวันที่ 28 มกราคม 2565มีผู้ยื่นคำร้อง 13,825 รายเข้าเกณฑ์ 10,544 ราย และมีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาในรายที่เหลือและที่มีอุทธรณ์
ทั้งนี้ ได้รับเงินชดเชยไปแล้ว 1,205,538,900 บาทและมีเสียชีวิต 20.56% 2.1 พัน2.1 พันความคิดเห็น 150 รายการแชร์ 565 ครั้งถูกใจแสดงความคิดเห็นแชร์
กรณีได้รับความเสียหายหรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนโควิด—19 ที่ภาครัฐจัดให้ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ คือ กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจะได้รับการช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท และกรณีเกิดภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งจะช่วยเหลือจำนวนเท่าใดนั้น เป็นการพิจารณาของอนุกรรมการฯ ตามภาวะความรุนแรง