ธปท. ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ หนี้บัตรเครดิต ค่ารถ กู้บ้าน เลื่อนชำระค่างวดได้ หรือจ่ายแค่เงินต้น ช่วงสถานการณ์โควิด ระลอกใหม่
13 ม.ค. 63 เพจเฟซบุ๊ก “สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station” ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจ และลูกหนี้รายย่อย โดยที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กำหนดมาตรการดังนี้

หนี้บัตรเครดิต
- บัตรเครดิต เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้ดอกเบี้ยไม่กิน 12%
หนี้บัตรกดเงินสด
- ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้ หรือเปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้ ดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
หนี้บัตรสินเชื่อส่วนบุคคล
- สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
หนี้สินเชื่อเช่าซื้อ (รถยนต์)
- สินเชื่อเช่าซื้อ (ไม่จำกัดวงเงิน) เลื่อนชำระค่างวด (เงินตันและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้
หนี้บ้าน
- สินเชื่อบ้าน (ไม่จำกัดวงเงิน) เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

นอกจากนี้ ธปท. อัพเดตขยายเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย มีดังนี้
- ขยายเวลาให้ลูกหนี้รายย่อยสมัครรับความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 (จากเดิมที่ครบกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2563) โดยลูกหนี้สามารถสมัครขอรับความช่วยเหลือด้วยตนเอง หรือนายจ้างหรือเจ้าของกิจการสมัครขอรับความช่วยเหลือแทนลูกหนี้ได้ เช่น ในกรณีสินเชื่อสวัสดิการ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อให้การขอรับความช่วยเหลือของลูกหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์
- ให้ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกประเภท (ลูกหนี้รายย่อย ลูกหนี้ SMEs และลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่) ตามความเหมาะสมกับประเภทสินเชื่อและคำนึงถึงความเสี่ยงของลูกหนี้ จำแนกตามลักษณะธุรกิจและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ต่ออายุวงเงินหรือคงวงเงิน เปลี่ยนประเภทหนี้จากสินเชื่อระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว ปลอดชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยชั่วคราว ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราตลาด เป็นต้น
2.2 ให้เงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม
2.3 พิจารณาชะลอการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก. soft loan
2.4 ผ่อนปรนเงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสม
