หมอมนูญ แนะผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง ฉีดเข็มกระตุ้น mRNA ด่วน ลดความเสี่ยงเชื้อลงปอด

หมอมนูญ แนะผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง ฉีดเข็มกระตุ้น mRNA ด่วน ลดความเสี่ยงเชื้อลงปอด พร้อมย้ำไม่แนะให้ฉีดเชื้อตายเป็นเข็มกระตุ้น

วันนี้ (11 มี.ค.) นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้โพสต์ข้อความถึงกลุ่มเสี่ยง ต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น แม้จะฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC โดยระบุว่า

ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มไม่เพียงพอในคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์สำหรับลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน คนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนกาแล้ว 2 เข็ม เข็มที่ 3 ควรจะเป็นวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา ไม่ใช่วัคซีนเชื้อตายซิโนแวคหรือซิโนฟาร์ม และคนที่ได้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าเซเนก้า 1 เข็ม ควรกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาอีก 1 เข็ม

ผู้ป่วยหญิงอายุ 71 ปี ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง มีไขมันในเลือดสูงเล็กน้อย ไม่มียาประจำ ฉีดวัคซีนแอสตร้า 2 เข็มเดือนพฤษภาคม และกรกฎาคม 2564 ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเป็นเข็มที่ 3 เดือนธันวาคม 2564 เริ่มมีอาการเจ็บคอ น้ำมูก ไอเล็กน้อย ไข้ต่ำ วันที่ 3 มีนาคม 2565 ตรวจ ATK ให้ผลบวก ยืนยันโดย RT-PCR

เข้านอนใน รพ.วันที่ 5-9 มีนาคม ระหว่างอยู่รพ. 5 วัน ไม่เหนื่อย ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ อนุญาตให้กลับบ้าน หลังกลับบ้าน 2 วัน เริ่มมีเหนื่อย หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนเหลือ 92% เรียกรถฉุกเฉินมาส่งโรงพยาบาลวันที่ 12 มีนาคม เอกซเรย์ปอดมีฝ้าขาวทั้ง 2 ข้างเข้าได้กับปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ดูรูป) ได้ให้ยาสเตียรอยด์ และยาเรมเดซิเวียร์ชนิดฉีด คนไข้ดีขึ้นเร็วใน 5 วัน

เปรียบเทียบผู้ป่วยรายนี้กับผู้ป่วยชายอายุ 89 ปี เป็นโรคเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน ไตเสื่อม เคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาหายแล้วด้วยเคมีบำบัด ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มเดือนมิถุนายนและสิงหาคม 2564 ฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์เดือนมกราคม 2565 เริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ไม่มีไข้

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม รับเข้านอนโรงพยาบาลวันที่ 11 มีนาคมด้วยอาการท้องเสียหลายครั้ง ตรวจ RT-PCR ยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตรวจอุจจาระพบติดเชื้อโนโรไวรัส ระหว่างอยู่โรงพยาบาล 8 วัน ท้องเสียดีขึ้น ไม่เหนื่อย ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ

ผู้ป่วยรายที่ 2 มีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอดมากกว่าผู้ป่วยรายแรก แต่เชื้อกลับไม่ลงปอด เพราะได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม และกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์ 1 เข็ม คนที่เคยรับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม ไม่ควรฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตายซิโนแวคหรือซิโนฟาร์ม

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า