“นิด้าโพล”เผยปชช.ไม่เคยหลงเชื่อข่าวปลอม หนุนรัฐบาลตั้งศูนย์เฟคนิวส์

“นิด้าโพล” เผยปชช. 61.23% ไม่เคยหลงเชื่อข่าวปลอม พร้อมหนุนรัฐตั้งศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ ยันไม่กังวลละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ (Website, E-mail, Line, Facebook, IG เป็นต้น) เรื่อง “ข่าวปลอม (เฟคนิวส์)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 16 สิงหาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,522 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการหลงเชื่อการกระทำกับข่าวปลอม (เฟคนิวส์) ที่ได้รับจากสื่อออนไลน์ ความคิดเห็นและความกังวลต่อการจัดตั้ง “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม”

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการใช้สื่อออนไลน์ (Website, E-mail, Line, Facebook, IG เป็นต้น) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.86 ระบุว่า ใช้สื่อออนไลน์ และร้อยละ 27.14 ระบุว่า ไม่ใช้สื่อออนไลน์ เมื่อถามผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ว่าหลงเชื่อข่าวปลอม (เฟคนิวส์) ที่ได้รับจากสื่อออนไลน์หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.23 ระบุว่า ไม่เคยหลงเชื่อในข่าวปลอม รองลงมา ร้อยละ 27.59 ระบุว่า เคยหลงเชื่อในข่าวปลอม และร้อยละ 11.18 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่

ทั้งนี้ เมื่อถามผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม (เฟคนิวส์) จากสื่อออนไลน์ ว่ากระทำอย่างไรกับข่าวปลอม (เฟคนิวส์) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.09 ระบุว่า ไม่เคยแชร์ข่าวใด ๆ รองลงมา ร้อยละ 24.42 ระบุว่า รู้ว่าเป็นข่าวปลอม และไม่แชร์ ร้อยละ 19.07 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ จึงไม่แชร์ ร้อยละ 9.77 ระบุว่า เฉย ๆ เมื่อรู้ว่าข่าวที่แชร์ไปเป็นข่าวปลอม ร้อยละ 6.28 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ แต่แชร์ ร้อยละ 4.88 ระบุว่า ไม่รู้ว่าเป็นข่าวปลอม และแชร์ ร้อยละ 3.49 ระบุว่า รู้ว่าเป็นข่าวปลอม แต่แชร์ ร้อยละ 0.70 ระบุว่า เคยทำข่าวปลอม และแชร์ ร้อยละ 0.47 ระบุว่า พยายามแก้ปัญหาเมื่อรู้ว่าข่าวที่แชร์ไปเป็นข่าวปลอม และร้อยละ 0.23 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อ่านโดยใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ว่าเป็นข่าวปลอมข่าวจริง

นิด้าโพล

สำหรับความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม (เฟคนิวส์) จากสื่อออนไลน์ ต่อการจัดตั้ง “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.98 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ จะได้มีการกลั่นกรองข่าวก่อนที่จะแพร่หลายไปวงกว้าง เพราะสมัยนี้มี E-mail, Line, Facebook, IG เป็นต้น เกือบทุกคน จะได้มีการเกรงกลัวและไม่แชร์ข่าวปลอม รองลงมา

ร้อยละ 8.14 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ควรใช้วิธีอื่นดีกว่า เช่น สร้างจิตสำนึกหรือให้ความรู้ การจัดตั้งศูนย์ฯ อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป และควรให้องค์กรอิสระเข้ามาจัดการมากกว่า และร้อยละ 4.88 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความกังวลของผู้ที่ระบุว่าเคยหลงเชื่อและไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปลอม (เฟคนิวส์) จากสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับ “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” ที่อาจจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.84 ระบุว่า ไม่มีความกังวลเลย รองลงมา ร้อยละ 28.14 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกังวล ร้อยละ 27.91 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกังวล ร้อยละ 10.00 ระบุว่า มีความกังวลมาก และร้อยละ 5.11 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

อ่านข่าว Bright Today

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

4 ลูกน้อง ‘บิ๊กโจ๊ก’ ดอดเข้าให้ปากคำ คณะกรรมการสอบวินัย ไร้เงาลูกพี่

4 ลูกน้อง ‘บิ๊กโจ๊ก’ เข้าให้ปากคำ คณะกรรมการสอบวินัย ข้าราชการตำรวจ ปม คดีเว็บพนันออนไลน์ คาดใช้เวลา 6 ชั่วโมง แต่ยังไร้วี่แววลูกพี่ใหญ่

กทม.จ่อเปลี่ยนฝาท่อเป็นซีเมนยกเซ็ต พร้อมสั่งเข้มมาตรการก่อสร้างใต้ดิน

จ่อเปลี่ยนทั้งเมือง! กทม.เรียกถกปัญหา ‘ฝาท่อ’ จ่อเปลี่ยนเป็นซีเมนต์หมด เตรียมใช้ AI เตือนจุดทรุดตัว พร้อมสั่งเข้มมาตรการก่อสร้างใต้ดิน

รวบตัวโจรหื่น ลวนลามสาวกลางสถานีรถไฟฟ้า ก่อนชกหน้าชิงทรัพย์

ทันใจ! ตร.รวบตัวโจรหื่นไม่ถึงครึ่งวัน หลังลวนลามสาวขายเครื่องสำอาง กลางสถานีรถไฟฟ้า ก่อนทำร้ายชกหน้าชิงทรัพย์

ฟาดเคราะห์! ชายขับจยย.ผ่าน หนุ่มหลอนยา โดนโบกสั่งกราบเท้า

ตร.รวบหนุ่มหลอนยา หลังดักทำร้ายชายขับจยย.ผ่าน ชุมชนบางคอแหลม สั่งกราบเท้า แถมอาละวาดไล่ทำร้ายชาวบ้าน ขนาดแม่ยังเอือม

โซเชียลแชร์สนั่น! เด็กชายถูกลิงลพบุรีกัด ชาวบ้านตั้งคำถาม ทำไมเกิดซ้ำซาก

อีกแล้วหรอ? โซเชียลแชร์ เด็กชายถูกลิงลพบุรีกัดเลือดออกถามหาหน่วยงานรับผิดชอบ เพราะปัญหาซ้ำซาก แต่ทำคนเจ็บฟรี

วันขอเงินพระจันทร์ 8 พฤษภาคม 2567 ขอโชคลาภ และเงินทอง

วันอมาวสี หรือ วันขอเงินพระจันทร์ 8 พฤษภาคม 2567 ขอโชคลาภ เงินทอง และเคล็ดลับดีๆพร้อมรับความโชคดีจากพระจันทร์
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า