ชป.เผยความคืบหน้า และความจำเป็นในการดำเนินโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล

กรมชลประทานเผย เนื่องจากแนวโน้มในอนาคตลุ่มน้ำเจ้าพระยามีความต้องการใช้น้ำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของเมือง และระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่มากขึ้น โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล โดยการผันน้ำจากแม่น้ำยวมมาเติม จะสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งได้กว่า 1 ล้านไร่ รวมถึงส่งผลให้น้ำอุปโภค-บริโภคในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำเจ้าพระยามีอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งยืนยัน ศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ ก่อนก่อสร้างอย่างรอบคอบทั้งยังมีแผนป้องกันแก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว              นายเฉลิมเกียรติ์ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้เร่งศึกษาและออกแบบโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก โดยผันน้ำจากแม่น้ำยวมมาเติม ทั้งนี้ แม่น้ำยวมเป็นแม่น้ำภายในประเทศ ปากแม่น้ำอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนก่อนไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 2,858 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.)ต่อปี กำหนดให้ผันน้ำเฉพาะช่วงเดือนมิถุนายนถึงมกราคมเท่านั้น ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำยวมมีปริมาณมากเกินกว่าความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ โดยน้ำที่ผันจะอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 1,795 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี การผันน้ำเติมสู่เขื่อนภูมิพล เพื่อใช้ในพื้นที่ที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้าน            สำหรับโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แบ่งออกเป็น 3 งาน ได้แก่ 1.งานเขื่อนน้ำยวมและอาคารประกอบ มีลักษณะเป็นเขื่อนหินดาดผิวคอนกรีตสูง 69.5 เมตร กั้นแม่น้ำยวม ซึ่งจะยกระดับน้ำและเก็บกักน้ำในลำน้ำยวมส่งให้กับสถานีสูบน้ำ เพื่อทำการสูบน้ำผ่านอุโมงค์ส่งไปยังเขื่อนภูมิพล ตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่างอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 2.งานสถานีสูบน้ำบ้านสามเงาและอาคารประกอบ  จะทำการสูบน้ำด้วยความดันจากเขื่อนน้ำยวมส่งเข้าสู่อุโมงค์ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านสบเงา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน  3.งานระบบอุโมงค์และถังพักน้ำ ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำจากสถานีสูบน้ำด้วยความดันขึ้นไปที่ถังพักน้ำ บริเวณพื้นที่บ้านสบเงา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และทำการปล่อยน้ำเข้าสู่อุโมงค์ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงไหลลงห้วยแม่งูด บ้านแม่งูด ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งน้ำเข้าสู่เขื่อนภูมิพล รวมความยาวของอุโมงค์ประมาณ 63.47 กิโลเมตร

ด้านผลประโยชน์ของโครงการนั้นจะสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งได้ถึง 1,610,026 ไร่ บริเวณโครงการชลประทานกำแพงเพชรและลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ เพิ่มน้ำอุปโภคบริโภคได้ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนภูมิพลเฉลี่ย 417 ล้านหน่วยต่อปี และที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำยวมเฉลี่ย 46 ล้านหน่วยต่อปี

โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพลใช้งบประมาณ 70,000 ล้านบาท จากผลการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 11.19 ซึ่งถือว่ามีความเหมาะสมตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่กำหนดให้โครงการลงทุนภาครัฐควรมีอัตราผลตอบแทนของโครงการอยู่ระหว่างร้อยละ 9 ถึง 12 จึงจะถือว่าโครงการฯ มีความเหมาะสมในการลงทุน นอกจากนี้ โครงการฯ นี้ยังเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการชลประทานตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำ ส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงอย่างยั่งยืนตลอดไป

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า