รฟม. จ่อฟ้องชูวิทย์ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม. ชี้แจงปม รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ชูวิทย์กล่าวหาเรื่อง เงินทอน 3 หมื่นล้าน
จากกรณีที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ตั้งข้อสังเกตต่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยมีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กบางช่วงระบุว่า “เรื่องรถไฟสายสีส้ม อย่ามาบอกว่าให้ผมเอาใบเสร็จมา ผมว่าถึงขนาดนี้ต่อให้มีใบเสร็จก็ยังไม่ยอมรับ เพียงพฤติกรรมมันมีกลิ่นเหม็นมัวหมอง หลักการง่ายนิดเดียว คือ ใครเอาเงินรัฐบาลน้อยสุด แล้วคุณภาพได้มาตรฐาน เจ้านั้นได้งานไป หากทำให้ชาติต้องจ่ายมากขึ้น 500% แล้วคุณภาพเท่าเดิม ต่อให้เป็นเทวดามาก็ไม่เอา”

เมื่อวันที่ (21 ก.พ. 66) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ออกมาชี้แจงแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น
1. ประเด็นการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินข้อเสนอในการคัดเลือกเอกชนครั้งที่ 1 รฟม. ได้ปรับปรุงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (อาร์เอฟพี) เฉพาะวิธีการประเมินข้อเสนอ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการเสนอผลตอบแทนให้แก่ภาครัฐตามที่นายชูวิทย์ กล่าวอ้างแต่อย่างใด และได้ขยายระยะเวลาการยื่นซองข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน ประเด็นดังกล่าว อยู่ระหว่างรอศาลปกครองสูงสุดพิพากษา และสำหรับประเด็นที่นายชูวิทย์ ได้พูดพาดพิงถึงมติที่ประชุมศาลปกครองสูงสุดนั้น ถือเป็นกระบวนการภายในของศาลปกครองที่ไม่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องรอให้ปรากฏในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

- อื้อหือ! ปราง กัญญ์ณรัณ ฟาดชุดแซ่บ อวดเอวเอส เซ็กซี่สุดจะบรรยาย
- สาวปริศนา ทักแชตหา แพรรี่ เผย! ติดหนี้พนันหมดตัว อยากให้สั่งสอนหน่อย
- เตือนภัยหน้าร้อน! ควรระวัง สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัย
2. ประเด็นการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนครั้งแรก ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ตุลาการผู้แถลงคดี ศาลปกครองสูงสุด สรุปว่า การยกเลิกการคัดเลือกเอกชน ครั้งแรก ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว และเป็นการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน โดยเห็นควรให้ยกฟ้อง
3. ประเด็นคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่มีการล็อกสเปก ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ศาลปกครองกลาง พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การดำเนินการคัดเลือกดำเนินการตามกฎหมาย มีการเปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วมในการคัดเลือกมากขึ้น ไม่มีลักษณะเป็นการตัดสิทธิหรือกีดกันผู้ใดมิให้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ จึงมีคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว
4. ประเด็นการดำเนินการของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง และเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบ ประเด็นนี้มีคดีฟ้องร้องในศาลอาญาคดีทุจริตฯ ศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า ผู้ว่าการ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก ได้แก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใด และกรณีที่มีการยกเลิก การคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ไม่มีการกลั่นแกล้งผู้ใดหรือกระทำนอกขอบเขตของกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง

5. ประเด็นมีเงินทอน 3 หมื่นล้านบาท ผ่านบัญชีธนาคาร รฟม. ขอเรียนว่า หากนายชูวิทย์ มีหลักฐานเอกสารตามที่กล่าวอ้าง ก็ขอให้นำมาแสดงให้สาธารณชน และส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพื่อเป็นที่ประจักษ์ด้วย ว่าเป็นการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ กล่าวหาเรื่องเงินทอน 3 หมื่นล้านบาท รฟม. ยืนยัน ว่าไม่มี หากนายชูวิทย์มีหลักฐานให้ส่งมาให้ดู หรือ ส่งไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หากนายชูวิทย์ไม่มีหลักฐานจริง ทางฝ่ายกฎหมายของ รฟม. กำลังพิจารณาอยู่ หากข้อมูลเป็นเท็จ จะเข้าข่ายทำ รฟม.เสื่อมเสีย คงจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายกันต่อไป
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY