รู้หรือไม่ว่า? ทำไม ถนนไทย ถูกจัดอันดับว่าอันตรายที่สุดในโลก

ถนนไทย เท้าความไปเมื่อปี 2015 หลังจากที่องค์กรอนามัยโลก หรือ World Health Oraganization (WHO) ระบุว่าไทยเป็นประเทศที่มีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่มีเหตุเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก

จากเรื่องดังกล่าวทำให้สหประชาชาติมีพันธกิจในประเทศไทยต้องลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ได้ครึ่งหนึ่ง ในปี 2020 เนื่องจากไทยนั้นมีจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนกว่า 20,000 รายต่อปีซึ่งถือว่าเป็นอันดับ 1 จาก 10 ประเทศที่ถูกจัดอันดับขึ้นมา

แม้ว่าประเด็นหลักของไทยเราคือรัฐบาลไม่สามารถลดช่องว่างในเรื่องระยะห่างระหว่างคนจนกับคนรวนรวย เนื่องจากคนจนนิยมที่จะขับจักรยานยนต์ นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาเรื่องที่ประชาชนแตกอุดมการณ์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองทั้ง 2 ฝั่งอย่างชัดเจน

จากการสำรวจของ Credit Suisse ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 40 ประเทศ และพร้อมกับเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยมลภาวะทางอากาศมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

ถ้าตัดคนรวยหรือชนชั้นกลางที่สามารถมีรถยนต์ส่วนตัวออกไป ที่เหลือก็คือคนจนที่มีกำลังเงินในการซื้อเพียงจักรยานยนต์เท่านั้น ซึ่งสิ่งที่ป้องกันพวกเขามีเพียงอย่างเดียวคือ “หมวกกันน็อค” ซึ่งบางคนก็สวมบ้างไม่สวมบ้าง จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

การขนส่งสาธารณะมีจำกัดบวกกับรถติดแล้ว การเห็นภาพผู้ใหญ่ที่มีเด็กเกาะเอวซ้อนข้างหลังมาจึงเป็นภาพคุ้นชินในทุกๆ เช้า แต่หากเทียบกับพาหนะอื่นอย่างรถยนต์หรือรถขนาดเล็กอื่นๆ จะเกิดอุบัติเหตุเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นตามที่ Who ได้ระบุไว้

เพราะที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 88 เป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์หรือคนเดินเท้า เนื่องจากในไทยนั้นมีทางเท้าที่กว้างทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ไม่ดีอย่างการขับมอเตอร์ไซค์บนฟุตบาทหรือการสวนเลนเป็นเรื่องปกติไปซะอย่างนั้นและตำรวจเองก็ไม่ได้เข้มงวดกับเรื่องนี้ด้วย

ส่วนความไม่เท่าเทยมทางเศรษฐกิจทำให้คนรวยในไทยมีสิทธิพิเศษเหนือคนอื่นอยู่เยอะมาก หากติดตามข่าวมาตลอดจะทราบกับดีว่าหากเป็นลูกคนมีเงินแล้วก่ออุบัติเหตุมักจะรอดเพราะความมีอิทธิพลและทรัพย์สินที่ตระกูลของเขาครอบครองอยู่

คุณ Evelyn Murphy ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการป้องกันการบาดเจ็บโดยไม่เจตนากล่าวว่า “สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือถนนประเทศไทยไม่ปลอดภัยสำหรับทุกคน และไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ จักรยานยนต์หรือคนเดินเท้า ทุกคนควรจะได้รับสิทธิเท่าเทียมโดยไม่คำนึงถึงระดับความมั่งมี”

เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยพูดถึงเรื่องสาเหตุหลักเกี่ยวกับอุบัติเหตุของการใช้รถจักรยานยนต์ เกิดขึ้นจากการขับเร็ว เมา และไม่สวมหมวกกันน็อค โดยโทษปรับของทั้ง 3 อย่างนั้นหากผิดจะเสียค่าปรับเล็กน้อย หากเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่ปรับหนักมากหากคุณดื่มแล้วขับ

แม้ว่าจะมีแคมเปญลด ละ เลิกเรื่องการเมาแล้วขับพร้อมกับป้ายโฆษณาที่มีมากมายแต่มันก็เป็นการรณรงค์แค่ช่วงปีใหม่กับเดือนเมษายนต์ที่มีเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ทั้งๆ ที่ควรจะมีการรณรงค์กันให้มากกว่านี้ เพราะคนไทยก็ขับรถจักรยานยนต์เยอะทั้งปีเหมือนเดิม

ทาง Independent แนะแนวถึงการเปลี่ยนแปลง 3 ข้อดังนี้

  • ลบวัฒนธรรม “สบายๆ”

เพลงนี้เป็นเพลงเก่าของพี่เบิร์ด ธงชัย แมคอินไตย หมายถึงจิตใจที่ผ่อนคลาย เป็นประเทศที่เหมาะการใช้เวลาวันหยุดแถวชายหาด แต่มันไม่ใช่ทัศนคติในการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยระดับชาติ เพราะตำรวจไทยควรจะต้องเข้มงวดกับสิ่งเหล่านี้ โดยตัดความสงสารและเสียงค่อนขอดของประชาชนที่เคยทำอะไรแบบเดิมๆ ออกไป ให้ปรับหนักๆ รวมถึงการเน้นเรื่องการสวมหมวกนิรภัย

  • รัฐบาลต้องไม่เพิกเฉย

แม้ว่า WHO จะมอบพันธกิจลดเรื่องการเสียชีวิตบนท้องถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี 2020 แต่ที่ผ่านมารัฐบาลก็ยังไม่จริงจังกับเรื่องนี้และทั้งๆ ที่ให้คำมั่นสัญญาแล้วตัวเลขก็แทบไม่ขยับไปในทางที่ดีขึ้นเลย จนครองสถิติประเทศที่มีท้องถนนอันตรายที่สุดเช่นเดิม แต่ทางสำนักงานนโยบายคมนาคมและแผนงานจราจรเองก็ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เป็นเพราะความเพิกเฉยของรัฐบาลเอง

  • เพิ่มรายได้ต่อหัว

เมื่อปี 2018 ประเมินว่าในปี 2038 ไทยจะมีรายได้ต่อหัวร้อยละ 22 น่าจะทำให้ไทยได้ลืมตาอ้าปากขึ้นบ้าง แม้ว่ามันแลอาจดูเรื่องในระยะยาวแต่มันก็เป็นการแก้ไขปัญหาได้ และอีกปัจจัยหนึ่งคือการที่รัฐบาลเร่งสร้างรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมกรุงเทพมหานครมันก็สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่งที่คนจะหันมาลดการใช้จักรยานยนต์กันบ้างไม่มากก็น้อยครับ

บทความนี้แปลและเขียนโดยทีมข่าว Bright Today

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.independent.co.uk/news/long_reads/thailand-roads-deadly-traffic-accidents-class-inequality-a9071696.html?fbclid=IwAR3DygxRGOrlx5Whun-I2ujtVODs32wNmUoPKXH5F9C8v49PVspo1djo5yc
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า