กกพ.ไฟเขียวขึ้นค่าไฟฟ้า 4.3 สต./หน่วย  

กกพ.มีมติเรียกเก็บค่าเอฟทีงวดเดือนม.ค.-เม.ย.ปีหน้า เพิ่มอีก 4.3 สต./หน่วย หลังต้นทุนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น พร้อมดึงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ชดเชยต้นทุนเชื้อเพลิง หวังกดราคาไม่ให้เพิ่มขึ้นเร็วเกินไป

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเรียกเก็บค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) สำหรับงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.2562 เพิ่มอีก 4.30 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของผู้ใช้อยู่ที่ 3.6396 บาท/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เทียบกับงวดปัจจุบันที่อยู่ที่ 3.5966 บาท/หน่วย

“การปรับเพิ่มค่า Ft ดังกล่าว เป็นผลจากปัจจัยราคาเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ กกพ.ได้ปรับประมาณการค่า Ft ให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง”น.ส.นฤภัทรกล่าว

ทั้งนี้ กกพ.คาดการณ์ว่า ราคาเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้าในงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.2562 เทียบกับงวดปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค.2561) ประกอบด้วย ราคาก๊าซธรรมชาติ เพิ่มเป็น 299.50 บาท/ล้านบีทียู จากงวดปัจจุบัน 286.83 บาท/ล้านบีทียู ,ราคาน้ำมันเตา เพิ่มเป็น 16.86 บาท/ลิตร จากงวดปัจจุบัน 15.69 บาท/ลิตร ,ราคาน้ำมันดีเซล เพิ่มเป็น 23.16 บาท/ลิตร จากงวดปัจจุบัน 19.68 บาท/ลิตร

ราคาถ่านหินนำเข้า เพิ่มเป็น 2,697.40 บาท/ตัน จากงวดปัจจุบัน 2,583.04 บาท/ตัน และอัตราค่าค่าไฟฟ้าที่ซื้อจากต่างประเทศ เพิ่มเป็น 1.81 บาท/หน่วย จากงวดปัจจุบัน 1.73 บาท/หน่วย

น.ส.นฤภัทร กล่าวว่า ที่ผ่านมา กกพ. ได้ส่งสัญญาณล่วงหน้าว่า อัตราค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพให้กับประชาชน สร้างความราบรื่นในการปรับตัวให้กับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ทาง กกพ.พยายามบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ เพื่อให้ค่าไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้นมากเกินไป

น.ส.นฤภัทร กล่าวว่า กกพ.คาดการณ์ว่าราคาเชื้อเพลิงจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยืนอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าในระยะต่อไปยังอยู่ในภาวะขาขึ้น ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการปรับตัวให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ รวมทั้งบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน กกพ. จะมีมาตรการทั้งการบริหารจัดการ และมาตรการทางการเงินเข้าไปดูแลการปรับตัวเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ประกอบด้วย 1.มาตรการการเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนเชื้อเพลิงที่จำเป็นสำหรับการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ ประสานงานกับบริษัท ปตท. เพื่อลดสัดส่วนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)  และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีความเหมาะสม ได้แก่ การเพิ่มปริมาณการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และพิจารณาผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงต้นทุนต่ำ

2.มาตรการทางการเงินและบัญชีเพื่อบริหารจัดการค่า Ft โดย กกพ.มีมติให้นำเงินสะสมที่ได้จากการเรียกเก็บค่า Ft ในช่วงที่ผ่านมา 3,298 ล้านบาท เงินบริหาร Ft ซึ่งได้มาจากส่วนลดและค่าปรับจากผู้ประกอบการ 5,547 ล้านบาท และเงินลงทุนจากการไฟฟ้าฯ ซึ่งไม่ได้ลงทุนตามแผน 1,522 ล้านบาท หรือรวมแล้ว 10,367 ล้านบาท มาใช้ชดเชยต้นทุนการผลิตไฟฟ้า และลดความผันผวนการปรับเพิ่มค่า Ft

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า