กรมชลฯเตรียมพื้นที่ 13 ทุ่งรับน้ำฤดูน้ำหลาก-คาดปลายเดือนพ.ค.เข้าสู่ฤดูฝน

กรมชลฯ พร้อมรับมือฤดูน้ำหลากหลังเริ่มมีฝนตก เตรียมพื้นที่ 13 ทุ่งเจ้าพระยาหน่วงน้ำช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. ขณะที่กรมอุตุฯคาดปลายสัปดาห์นี้จะเข้าสู่ฤดูฝน

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯได้มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนไปตลอดจนฤดูแล้งปีหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน 1 ทุ่ง คือ ทุ่งบางระกำ พื้นที่รวม 382,000 ไร่ และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 12 ทุ่ง พื้นที่รวมประมาณ 1.15 ล้านไร่ เร่งปลูกข้าวให้เร็วขึ้นและเก็บเกี่ยวให้ทันก่อนฤดูน้ำหลาก

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา กรมฯส่งน้ำสำหรับเริ่มปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน 1 ทุ่ง เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จก่อนเดือน ส.ค. หลังจากนั้นจะใช้พื้นที่ดังกล่าว รับน้ำเข้าทุ่งประมาณกลางเดือน ส.ค. ซึ่งหน่วงน้ำได้ 550 ล้าน ลบ.ม. ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 12 ทุ่ง เริ่มการเพาะปลูกแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จก่อนเดือน ก.ย. และเริ่มรับน้ำเข้าทุ่งปลายเดือนก.ย. ซึ่งสามารถหน่วงน้ำได้ 1,500 ล้าน ลบ.ม.

นายทองเปลว ยังระบุว่า จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 13-15 พ.ค.นี้ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงฝนตกหนักบางแห่ง ทำให้คาดการว่าประเทศไทยอาจจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 3 ในเดือนพ.ค.2562 และอาจจะเกิดฝนทิ้งช่วง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ณ วันที่ 14 พ.ค. พบว่า มีปริมาณน้ำใช้การได้ 17,156 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 33% ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 4,474 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเพียงพอจนถึงฤดูฝน แม้ว่าสภาพน้ำท่าในสายหลักต่างๆทางตอนบนของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ปกติค่อนข้างน้อย

“กรมฯได้กำชับให้ทุกพื้นที่เตรียมเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำให้พร้อมใช้งาน เพื่อเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งได้ทันที”นายทองเปลวกล่าว

ส่วนค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา หลังเกิดน้ำทะเลหนุนส่งผลให้ค่าความเค็มที่สถานีสำแล จ.ปทุมธานี เพิ่มขึ้นเป็น 0.20 กรัม/ลิตร ซึ่งเข้าใกล้เกณฑ์เฝ้าระวังที่ 0.25 กรัม/ลิตร ซึ่งกรมได้เพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เป็น 100 ลบ.ม./วินาที พร้อมให้ชะลอการสูบน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเป็นการ ส่งผลให้ล่าสุดวันนี้ (14 พ.ค.) ค่าความเค็มที่สถานีสำแลลดลงมาอยู่ที่ 0.17 กรัม/ลิตร ซึ่งไม่มีผลต่อการผลิตประปาและการเกษตรแต่อย่างใด

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า