ครม.ไฟเขียวกม.คุมปล่อยกู้ “ลีสซิ่ง-จำนำทะเบียนรถ”

ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.กำกับผู้ให้บริการปล่อยกู้ 5 ประเภท “พิโกไฟแนนซ์-จำนำทะเบียนรถ-เช่าซื้อ-ลีสซิ่ง-แฟคตอริ่ง” หวังคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมปลดล็อคเรียกดอกเบี้ยเกิน 15% ได้

เมื่อวันที่ 10 ต.ค. นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน พ.ศ…เนื่องจากปัจจุบันผู้ให้บริการทางการเงินบางประเภทยังไม่มีหน่วยงานภาครัฐกำกับดูแลชัดเจน ทำให้การประกอบธุรกิจขาดแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานและเป็นธรรม

ทั้งนี้ ในระยะแรกจะมีการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการทางการเงิน 2 กลุ่ม 5 ประเภท ได้แก่ กลุ่มแรก ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทให้สินเชื่อ ได้แก่ 1.สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) และ2.สินเชื่อที่มีการรับสมุดคู่มือจดทะเบียนรถเป็นประกันการชำระหนี้ (สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ) โดยผู้ให้บริการกลุ่มนี้จะต้องได้รับ “ใบอนุญาต” ในการประกอบธุรกิจจากสำนักงาน

และกลุ่มที่สอง ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ได้แก่ 1.การให้เช่าซื้อ 2.การให้เช่าแบบลีสซิ่ง และ3.แฟคตอริ่ง เป็นทางค้าปกติ โดยผู้ให้บริการกลุ่มนี้จะต้อง “ขึ้นทะเบียน” ในการประกอบธุรกิจจากสำนักงาน

สำหรับอัตราโทษกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องขอใบอนุญาต หากไม่มีการยื่นขอใบอนุญาต จะต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำและปรับ ส่วนกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องมาขึ้นทะเบียน แต่หากไม่มายื่นขอขึ้นทะเบียน จะมีระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการฯประกาศกำหนด จะต้องมีโทษปรับไม่เกิน 3 แสนบาท

นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

“ปัจจุบันสถาบันการเงินหลักๆ ของเรามีคนกำกับดูแลอยู่แล้ว แต่จะมีผู้ให้บริการทางการเงินบางประเภท เช่น ลีสซิ่ง แฟคตอริ่ง หรือคาร์ฟอร์แคช ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานภาครัฐไปกำกับดูแลชัดเจน จึงใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการกำกับดูแลอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน จึงมีจัดทำร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้”นายณัฐพรกล่าว

นายณัฐพร กล่าวว่า ภายใต้กฎหมายฉบับนี้จะกำหนดให้มีคณะกรรมการฯ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจทั้ง 5 ประเภท เช่น กลไกการกำหนดค่าธรรมเนียม วิธีการคิดดอกเบี้ย และวิธีการทวงหนี้ ขณะที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยได้เกิน 15%

“การที่กฎหมายให้เรียกเก็บดอกเบี้ยได้สูงกว่า 15% ไม่ได้เป็นช่องโหว่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายแพ่งฯกำหนด แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันทางตลาด เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย ส่วนการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนั้น ทางคณะกรรมการฯ จะควบคุมไม่ได้เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินความเหมาะสม”นายณัฐพรกล่าว

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา ธุรกิจเช่าซื้อมีธุรกรรมทั้งสิ้นประมาณ 5 แสนล้านบาท ลิสซิ่ง 2.27 แสนล้านบาท แฟกตอริ่ง 6.7 หมื่นล้านบาท สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ 2 แสนล้านบาท และพิโกไฟแนนซ์ 330 ล้านบาท หรือธุรกิจทั้ง 5 ประเภทมีมูลค่าการทำธุรกรรมสูงถึง 1 ล้านล้านบาท

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า