“ปิดเกาะ-จำกัดท่องเที่ยว” ปลดชนวนหายนะ “มาหยา-พีพี-สิมิลัน”

การประกาศปิด “อ่าวมาหยา” ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ อย่างไม่มีกำหนด รวมทั้งการประกาศห้ามนักท่องเที่ยวพักค้างแรมบน “เกาะสิมิลัน” ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา ถือเป็นหนึ่งในมาตรการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์รอบเกาะที่ทรุดโทรมอย่างหนัก หลังจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชนิดที่เรียกได้ว่าล้นเกาะ

ทะเลแหวก หมู่เกาะพีพี

ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 ต.ค.2561 ของสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานฯ ระบุว่า ในปีงบ 2561 (ต.ค.2560-ก.ย.2561) เฉพาะที่เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีนักท่องเที่ยวเข้ามากว่า 1.87 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 16 เท่าตัว เมื่อเทียบกับเมื่อ 6 ปีก่อน หรือปีงบ 2556 ที่มีนักท่องเที่ยวเพียง 1.18 แสนคน

นักดำน้ำบริเวณหมู่เกาะพีพี

โดยเฉพาะในปี 2559 เป็นปีที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในเขตอุทยานแห่งนี้ จนหาดบางแห่งแน่นขนัดไปด้วยนักท่องเที่ยว และหน้าหาดเต็มไปด้วยเรือที่จอดรับ-ส่งนักท่องเที่ยว ซึ่งปีนั้นทางอุทยานฯต้องรับมือกับคลื่นนักท่องเที่ยว 1.73 ล้านคน ในจำนวนนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่พุ่งพรวดเป็น 1.3 ล้านคน จากปีงบ 2558 ที่มีนักท่องเที่ยวรวม 3.3 แสนคน ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.1 แสนคน

ด้วยปริมาณนักท่องเที่ยวที่สูงถึง 1.7-1.8 ล้านคน และบางปีสูงถึง 1.99 ล้านคน ทำให้อ่าวมาหยา ซึ่งอ่าวที่นักท่องเที่ยวเกือบ 90% ที่มาเข้ามาในเขตอุทยานหาดนพรัตน์ธาราฯ ต้องแวะมาท่องเที่ยว ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติตามชายฝั่งพังยับเยินจนเข้าขั้นวิกฤต

อ่าวมาหยา
นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่อ่าวมาหยา 5 พ.ค. 2561

อ่าวมาหยา ที่เคยมีระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และสวยงาม แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่าแนวปะการังแตกหักเสียหายกว่า 80% กินเนื้อที่ 29 ไร่ หรือเกือบทั้งหมดของแนวปะการังในอ่าวมาหยา โดยมีสาเหตุหลักจากการดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น และการทิ้งสมอของเรือรับ-ส่งนักท่องเที่ยวที่มีวันละ 200 ลำ และแม้ว่าจะมีการเร่งปลูกปะการังเพิ่มอีก 1,000 กิ่ง แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น

ในขณะที่แนวชายหาดมีการทรุดตัว เนื่องจากต้องรองรับนักท่องเที่ยวสูงถึงวันละ 3,000-4,000 คน อีกทั้งมีปริมาณขยะและน้ำเสียเพิ่มขึ้นมาก จนเกินความสามารถที่หาดจะรับไหว

ความเสียหายปะการัง อ่าวมาหยา

ความพินาศของอ่าวมาหยาในวันนี้ แทบไม่ต่างจาก “เกาะยูง” ที่อยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน ซึ่งต้องประกาศปิดเกาะเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์มานานกว่า 2 ปีแล้ว หรือตั้งแต่ต.ค.2558 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากตอนนั้นดงปะการังที่เพิ่งฟื้นตัวจากปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวเมื่อปี 2553 ต้องยืนตายเหลือแต่ซาก เพราะต้องรับมือกับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ที่นิยมมาดำน้ำดูปะการรังน้ำตื้นและให้อาหารปลาบริเวณเกาะแห่งนี้

ล่าสุดกรมอุทยานฯได้หารือกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ และมีแนวคิดว่าจะจำกัดนักท่องเที่ยวในอ่าวมาหยา แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีคำสั่งใดๆออกมาเป็นรูปธรรม

แม้กระทั่ง “เกาะพีพีดอน” ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ศูนย์กลางของหมู่เกาะพีพี และมีแนวปะการังหนารอบเกาะ แต่ด้วยนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวบนเกาะและแวะดูปะการังไม่ต่ำกว่าวันละ 3,000-4,000 คน ทำให้ปะการังรอบเกาะเสียมากขึ้นทุกวัน ในขณะที่ข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า ในปี 2557 ปะการังที่อยู่ในอ่าว 5 แห่งของเกาะพีพีดอน มีปะการังตายเฉลี่ย 50-60%

เช่นเดียวกัน เกาะสิมิลัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอีกแห่งหนึ่ง ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยสถิตินักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปีงบ 2561 พบว่ามีนักท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งนี้ 9.12 แสนคน เทียบกับเมื่อ 6 ปีที่แล้ว หรือปีงบ 2556 ที่มีนักท่องเที่ยว 5.07 หมื่นคน หรือเพิ่มขึ้น 18 เท่าตัว

เกาะสิมิลัน

แม้ว่าเมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา กรมอุทยานฯจะยังเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเที่ยวบนเกาะสิมิลันได้อยู่ เพียงแต่ห้ามพักค้างแรมบนเกาะ แต่เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้เกาะสวรรค์แห่งนี้ อาจเป็นเกาะต่อไปที่ต้องถูกปิดเพื่อฟื้นฟูฯอย่างไม่มีกำหนด

เหมือนกับ “เกาะตาชัย” ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก และที่เคยเป็นสวรรค์แห่งการท่องเที่ยวในทะเลอันดามันเหมือนกัน แต่ต้องปิดเกาะอย่างไม่มีกำหนดมาตั้งแต่ปี 2559 เพราะนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวกันล้นหลาม จนเกิดปัญหาขยะและปะการังตาย 65% กระทั่งมีแนวคิดว่าหากเปิดเกาะตาชัยอีกครึ่ง จะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหลือไม่เกินวันละ 200 คน

เกาะตาชัย

ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจอย่างเป็นทางการว่าปะการังบริเวณเกาะสิมิลันเสียหายเท่าใด แต่จากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยววันละ 3,000-5,000 คน บางวันมีคนมาเที่ยวจนหาดแทบไม่มีที่ยืน แน่นอนว่าเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของปะการังต้องเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีปะการังฟื้นตัว 40% หลังตายไป 70-80% จากปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวเมื่อปี 2553

การปิดอ่าวหรือเกาะในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในบางช่วงของปีนั้น แม้ว่าจะระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติมีเวลาฟื้นตัว แต่มาตรการที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าควรนำมาใช้ คือ การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ แต่สุดท้ายก็เคยมีการบังคับใช้จริงจังแม้แต่ครั้งเดียว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า