สมเด็จพระสังฆราชทรงแนะให้พสกนิกรเจริญรอยตามในหลวง ร.9 ดำรงตนด้วย ‘ความไม่ประมาท’

ณ พระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ถวายพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประมุขและผู้แทนรัฐ พระบรมวงศานุวงศ์ มีใจความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงดำรงพระชนมชีพด้วยพรหมวิหารธรรม คือมีพระเมตตากรุณาต่อพระประยูรญาติ พระบรมวงศานุวงศ์ และอาณาประชาราชโดยไม่แบ่งแยก ตามพระปฐมพระบรมราชโองการ หากทรงทราบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคุ้มครองประชาชนโดยธรรม และประชาชนน้อมนำพระปัญญาของพระองค์มาปฏิบัติ สามารถพึ่งพาตนเอง มีสติปัญญาและคุณธรรมคงความผาสุก ย่อมอิ่มพระราชหฤทัย

ธรรมะที่จะทำให้เกิดพ้นจากทุกข์ได้คือ สติปัญญา โดย “สติ” คือ ความระลึกได้ที่จะเป็นเครื่องช่วยอุปการะให้มีปัญญหา หากบุคคลขาดสติปัญญาเสียแล้ว สังขารย่อมปรุงแต่งจิตให้เป็นจิตแห่งความโลภ จิตแห่งความโกรธ และจิตแห่งความหลง อันเป็นมูลเหตุในการพูดและกระทำความชั่วทุกชนิดในทันที สติย่อมเกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท สติจึงมีหลายระดับขั้น ทั้งที่เป้นไปในการให้ทาน ในการรักษาศีล และในการอบรมความสงบของจิต กระทั่งก้าวไปสู่มหาสติในการอบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของรูปธรรมและนามธรรมอันเป็นสภาพทุกข์ที่กำลังปรากฏ ซึ่งล้วนเกิดเพราะเหตุปัจจัยและดับไป ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน พลันประจักษ์ความว่างจากตัวตน สัตว์ บุคคลเราเขาได้อย่างเป็นธรรมชาติในทุกขณะ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็จำเป็นต้องมีสติเกิดด้วยทุกครั้ง ดังนั้น การรู้แจ้งอริยสัจธรรมดับกิเลสตามลำดับขั้น ต้องเป็นเรื่องของสติและปัญญาเท่านั้นที่จะเป็นไปเพื่อการรู้ระลึกสภาวะธรรมตามความเป็นจริง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระสติระลึกรู้ จึงทรงดำรงพระชนมชีพอย่างสง่าทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยปัญญา สรุปประมวลได้ว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทในชีวิต พระบุญญาธิการจึงไพบูลย์ควรที่เราทั้งหลายผู้ยังอยู่เบื้องหลังจะเคร่งทำประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวมตามรอยพระยุคลบาทให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท เพื่อพระผู้เสด็จจากไปจักได้ทรงอิ่มพระราชหฤทัยว่า “กะตัง กะระณียัง” กิจอันต้องกระทำ ได้กระทำเสร็จแล้ว และย่อมทรงบันเทิงทิพยารมณ์อย่างไม่ต้องสงสัย สมดังนัยยะพระพุทธภาษิตที่ว่า บุคคลผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมยินดี คือย่อมยินดีในโลกทั้งสอง ย่อมยินดีว่าบุญเราได้ทำไว้แล้ว ครั้นไปสู่สุคติแล้วก็ย่อมใยินดีกว่านี้อีกด้วยประการฉะนี้

ขอขอบคุณรูปภาพจาก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า