ส่อแววดราม่า หลังจากที่บอร์ดบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้ประกาศผลให้ กลุ่มดวงฤทธิ์ ชนะประมูลงานออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ ในวงเงิน 329.5 ล้านบาท
ซึ่งงานออกแบบที่ชนะเลิศนั้น เป็นผลงานของกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก ซึ่งก็เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด และ Nikken บริษัทสถาปนิกที่ใหญ่เป็นอันดับ1ในญี่ปุ่น มาร่วมออกแบบ โดยนำเสนอเป็นคอนเซ็ปต์ Forest Airport Terminal มีการจัดพื้นที่บางส่วนสร้างระบบนิเวศน์ป่า สร้างความร่มรื่น
ทั้งนี้หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ถึงอาคารแบบใหม่ที่ชนะการประกวด ก็มีคนตั้งข้อสังเกตในเรื่องของรูปแบบโครงสร้างของอาคาร ที่อาจจะได้แรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น
สวยแบบออริจินัล…'Yasuhara Wooden Bridge Museum' (2011)Architect : Kengo Kuma & AssociatesPhoto: Takumi Ota
โพสต์โดย amuse – Visual Concept & Design เมื่อ วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2018
ด้านความเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์ของ ดวงฤทธิ์ บุนนาค ได้โพสต์ข้อความที่เป็นการตอบกลับข้อสงสัยของผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตว่า แบบที่ชนะ เป็นการออกแบบโดย Nikken Sekkei เพราะมีลักษณะคล้ายกับผลงานของ Nikken ซึ่งทางด้านของ ดวงฤทธิ์ บุนนาคเอง ก็ชี้แจงกลับไป ยืนยันว่าเป็นการออกแบบเอง 100% ส่วนความร่วมมือจาก Nikken นั้น จะมาช่วยดูระบบสนามบินเท่านั้น
ยืนยันว่าผมออกแบบเอง 100% ครับ Nikken มาช่วยได้แค่ดูระบบสนามบิน เพราะค่าแบบงานนี้ต่ำมาก ไม่มีบริษัทต่างชาติไหนยินดีรับงานออกแบบครั้งนี้ครับ https://t.co/XLcqGoFIvM
— Duangrit Bunnag (@DuangritBunnag) August 23, 2018
และดวงฤทธิ์ บุนนาค ก็ยังได้ทวิตเพิ่มเติมในเรื่องขั้นตอนการประกวดการออกแบบว่า ปราศจากการคอรัปชั่นอย่างสิ้นเชิง
เป็นครั้งแรกในการประกวดแบบโครงการขนาดใหญ่ ที่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกสามารถบอกอย่างภาคภูมิใจได้ว่า ปราศจากการคอรัปชั่นในกระบวนการคัดเลือกอย่างสิ้นเชิง
— Duangrit Bunnag (@DuangritBunnag) August 23, 2018
สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบไปด้วย งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่2 บริเวณด้านทิศเหนือของอาคารเทียบเครื่องบินA มีพื้นที่ประมาณ3แสนกว่าตารางเมตร เป็นอาคารแบบมัลติ-เทอร์มินัล
สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี แบ่งเป็นผู้โดยสารภายในประเทศ 12 ล้านคนต่อปี และผู้โดยสารระหว่างประเทศ 18 ล้านคนต่อปี พร้อมทั้งปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สอดคล้องกับอาคารผู้โดยสาร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2562 และแล้วเสร็จในปลายปี2564 อาคารใหม่รับผู้โดยสารเพิ่มอีก 30 ล้านคนต่อปี