เด็ก GEN Z เชิดใส่องค์กรดัง ถ้าไม่โดนก็ไม่ร่วมงาน

ปัจจุบันหลายบริษัทกำลังประสบปัญหาในการคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน จากอดีตที่ “งานเลือกคน” กลายเป็น “คนเลือกงาน” มากยิ่งขึ้น และแม้จะคัดเลือกคนเข้ามาทำงานได้แล้ว ยังต้องเจอกับปัญหาการลาออกเป็นว่าเล่น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ หรือ GEN Z ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

เปิด 5 ปัจจัยคนรุ่นใหม่อยากเข้าองค์กร

JobThai.com เว็บไซต์หางาน สมัครงาน ของประเทศไทย ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนทำงานสองเจนเนอเรชั่น ได้แก่ Gen Y และ Gen Z ที่น่าสนใจ โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 3,184 คน ในหัวข้อ “ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเลือกเข้าทำงานกับองค์กร” พบว่ามี 5 ปัจจัยแรกที่คนทำงานทั้งสองเจนเนอเรชั่นให้ความสำคัญเหมือนกัน คือ

  • เงินเดือน 27.96%
  • สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ 19.59%
  • หน้าที่ที่รับผิดชอบ 14.59%
  • การเดินทางสะดวก 12.81%
  • โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 12.12%

Gen Z ไม่สนชื่อเสียงองค์กร

ทางฝั่ง Gen Z ให้ความสำคัญกับเรื่อง สภาพแวดล้อมในที่ทำงานมากกว่าชื่อเสียงองค์กร ในขณะที่ Gen Y ให้ความสำคัญกับเรื่องชื่อตำแหน่งและชื่อเสียงองค์กรมากกว่า

นอกจากนี้ผลสำรวจยังเผยให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจ โดยพบว่าปัจจัยที่ Gen Z ให้ความสำคัญรองจาก 5 อันดับข้างต้นคือ สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ชื่อตำแหน่ง ประเภทธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และชื่อเสียงองค์กร ตามลำดับ

ขณะที่ Gen Y ให้ความสำคัญกับ ชื่อตำแหน่ง ชื่อเสียงองค์กร สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ประเภทธุรกิจ และทำเลที่ตั้ง ตามลำดับ

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้องค์กรต้องกันกลับมาปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและทำความเข้าใจในสิ่งที่คนทำงานยุคใหม่ต้องการให้มากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาพนักงานลาออก หรือคนวัยแรงงานไม่สนใจทำงานประจำ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ในอนาคตจะเป็นแรงงานสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป

แนะองค์กรออกแบบงานให้เข้ายุคใหม่

นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้มุมมองเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีแนวคิด วิถีชีวิต และการใช้เทคโนโลยีในองค์กรมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากคนรุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นโจทย์ขององค์กรว่าจะมีการปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ได้อย่างไร เพื่อหาทางใช้ศักยภาพของคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและสามารถเป็นพลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

“บางบริษัทอาจจะได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด แต่อาจไม่ใช่บริษัทที่คนทำงานจะอยู่ด้วยยาวนาน องค์กรหลายแห่งเจอปัญหาคนลาออกมากขึ้น พนักงานบางคนบอกว่า อยากมาทำงาน 11 โมง เลิก 5 ทุ่ม หรือเขามีไอเดียตอนตี 2 กลายเป็นโจทย์ท้าทายที่บริษัทต้องหาทางออก ซึ่งหากสามารถออกแบบงานให้ตรงกับความต้องการ และวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ได้ เราจะได้ Productivity จากเขามากมาย”

คุณหมอชาญวิทย์ บอกอีกว่า ปัจจุบันการจ้างคนเพื่อให้มาทำงานอย่างเดียวไม่ได้แล้ว สวัสดิการ เงินเดือน อาจจะไม่ใช่คำตอบที่เพียงพอ และคนรุ่นใหม่ไม่ได้ต้องการเพียงมีส่วนร่วมในการทำงาน เขาอยากมีส่วนร่วมในการคิดด้วย

 “องค์กรจะต้องจัดบรรยากาศและความสัมพันธ์ใหม่ เพื่อให้คนในองค์กรทำงานร่วมกัน และช่วยกันนำพา องค์กรให้อยู่รอดได้ ซึ่งองค์กรจะต้องตระหนักว่า ในบริษัทมีลูกค้าอยู่ สองกลุ่ม คือ ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเรา และลูกค้าภายในองค์กร นั่นก็คือ ผู้บริหาร พนักงาน ที่ก็ต้องการการสร้างสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องเหมือนกับลูกค้าของบริษัทเช่นกัน”

ส่วนแนวทางในการสร้างสุขในองค์กรยุค 4.0 คุณหมอชาญวิทย์ระบุว่า จะต้องหันมาดูแลและให้ความสำคัญใน 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพใจ บรรยากาศในการทำงาน หรือสังคม และทัศนคติในการทำงาน

 

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า