หมอธีระ เผยข้อมูลวิจัย ภาวะ Long Covid อาการคงค้างหลังรักษา แม้หายแล้ว แต่ไวรัสอาจแฝงตัว

หมอธีระ เผยข้อมูลวิจัย ภาวะ Long Covid อาการคงค้างหลังรักษา แม้หายแล้ว แต่ไวรัสอาจแฝงตัว ใน T-cells ระยะยาวในปริมาณน้อย เหมือนโรคที่เกิดจากไวรัสบางชนิดในอดีตก็เป็นได้

ศ.นพ. ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องของการเปิดประเทศผ่านเหซบุ๊กเพจ Thira Woratanarat ระบุว่า

15 พฤศจิกายน 2564 ทะลุ 254 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 339,883 คน ตายเพิ่ม 4,395 คน รวมแล้วติดไปรวม 254,008,044 คน เสียชีวิตรวม 5,114,940 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย สหราชอาณาจักร เยอรมัน ตุรกี และอเมริกา

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.06 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.94

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึง 66.11% ของทั้งโลก พอๆ กับจำนวนเสียชีวิตเพิ่มที่คิดเป็น 59.79%

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

สำหรับสถานการณ์ไทยเรา

เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 7,079 คน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก

หากรวม ATK อีก 1,350 คน จะขยับเป็นอันดับ 12 ของโลก

แม้จำนวนติดเชื้อใหม่ที่รายงานอย่างเป็นทางการนั้นจะน้อยกว่าเวียดนาม แต่หากรวม ATK ด้วย ไทยก็ยังคงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

Long Covid

แพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ในต่างประเทศมีความเป็นห่วงเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 ของประชาชนทั่วโลกว่า แม้ในอนาคตการระบาดจะลดลง แต่ปัญหาเรื่องการมีอาการคงค้างหลังรักษาโรคโควิดหายไปแล้วหรือที่เรียกว่า Long Covid นั้นจะเป็นปัญหาหนักสำหรับประเทศที่มีจำนวนประชาชนติดเชื้อมาก

บางคนใช้คำว่า Post-pandemic pandemic หรือภาวะโรคระบาดหลังโรคระบาด

แม้คำดังกล่าวอาจมีความหมายไม่ตรงมากนักเพราะเท่าที่ความรู้ปัจจุบันมีอยู่ ภาวะอาการคงค้างดังกล่าวเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล ไม่ได้แพร่ต่อคนอื่น แต่สามารถสื่อความหมายถึงผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดขึ้นทั้งในแง่จำนวนคนที่เป็น Long Covid เอง รวมถึงผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว และต่อระบบสุขภาพของประเทศ ซึ่งมีสูงทั่วโลกได้

ข้อมูลวิจัยเรื่อง Long Covid มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาพบว่าคนที่มีภาวะนี้ มีสารเคมีในเลือดที่บ่งถึงภาวะอักเสบของร่างกาย เช่น Interleukin-6 และบางรายมีสารประเภท autoantibody ด้วย ซึ่งคงต้องมีการศึกษาต่อว่าสารเคมีต่างๆ เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็น Long Covid นั้นมีการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ คือ T-cells ด้วย ทำให้มีสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาว่า อาจเป็นไปได้ที่โรคไวรัสโควิด-19 นั้นแม้รักษาหายแล้ว แต่ไวรัสอาจแฝงตัวใน T-cells ระยะยาวในปริมาณน้อย เหมือนโรคที่เกิดจากไวรัสบางชนิดในอดีตก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามนี่ยังเป็นเพียงสมมติฐานที่ต้องมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์ต่อไป

ภาวะ Long Covid นั้นพบได้ 20-40% จากรายงานทั่วโลก บางงานวิจัยอาจสูงกว่า ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความที่ครอบคลุมเรื่องอาการต่างๆ วิธีการศึกษา รวมถึงประชากรที่ศึกษาด้วย ดังนั้นคงจะดีที่สุด หากเราป้องกันตัวเองและครอบครัวอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่ติดเชื้อ จะได้ไม่เสี่ยงต่อภาวะ Long Covid

ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก

อยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร ลดอัตราติดเชื้อลงได้ 5 เท่า

ด้วยรักและห่วงใย

อ้างอิง

1. Peluso MJ et al. Markers of immune activation and inflammation in individuals with post-acute sequelae of SARS-CoV-2 infection. medRxiv. 11 July 2021.

2. Visvabharathy L et al. Neuro-COVID long-haulers exhibit broad dysfunction in T cell memory generation and responses to vaccination. medRxiv. 9 August 2021.

3. Stein R. New clues to the biology of long COVID are starting to emerge. NPR. 12 November 2021.

ข่าวที่น่าสนใจ

สภ.บางบ่อวุ่น สาวทอมรับสารภาพ ฆ่าเด็ก 3 ขวบ ตำรวจผงะคนร้ายติดโควิด-19

แฟนคลับเศร้า! Big Mountain ครั้งที่ 12 ไม่ได้ไปต่อ ประกาศยกเลิกแล้ว

เป็นเหมือนกันไหม? ชาวเน็ตตั้งกระทู้ถาม “เลิกงานตรงเวลา” แอบรู้สึกผิด ทั้งๆที่ใจอยากกลับบ้าน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ตร.น้ำดี ฮึดไล่จับ! หนุ่มคลั่งทุบรถ หลังถูกคว้าปังตอวิ่งไล่ฟันหัวโดน 3 แผล

รองสารวัตรจราจรกลาง เข้าระงับเหตุ ชายคลุ้มคลั่งเอาค้อนทุบรถ ถูกวิ่งเอาปังตอ ร้านก๋วยเตี๋ยวฟันหัว 3 ครั้ง อึดจับคนร้ายรวบตัวได้สำเร็จ

ไวรัล! แมวส้มในสนามบิน “หนูหรั่ง” ขวัญใจ นทท. ที่นั่งบนราวบันไดเลื่อน

ไวรัลสุดน่ารัก! “หนูหรั่ง” แมวส้มที่กำลังนั่งอยู่บนราวบันไดเลื่อน สนามบินสุวรรณภูมิ เจ้าของเผยสาเหตุ ที่ทำให้ต้องตามไปถึงสนามบิน

เช็กลิส! 5 อาหารยอดนิยม เสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ โรคหูดับ

ดับฝันซอยจุ๊เลิฟเวอร์ สบส. เตือน! กินอาหารดิบเสี่ยงไข้หูดับ พยาธิใบไม้ตับ พร้อมเผยชื่อเมนูสุดฮิตที่ใครๆก็ต้องเคยลอง

หนุ่มใหญ่ วัย 60 ปี ตัดสินใจ! กินยาฆ่าแมลง จบชีวิตสลดบนรถไฟ

สลด! ผู้โดยสาร วัย 60 ปี เสียชีวิตคาตู้โบกี้รถไฟ ที่เกิดเหตุพบ “ยาฆ่าแมลง” คาดผู้ตาย ตัดสินใจ กินเข้าไปก่อนรถไฟจะมาถึงสถานี

ร้อนไม่ไหว! วิธีคลายร้อนของวัยแรงงาน ด้วยสมุนไพร ช่วยให้ร่างกายเย็นลงได้

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผย วิธีรับมือปัญหาสุขภาพ เมื่อต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อน ด้วยสมุนไพรไทย ช่วยได้จริง!

ชาวบ้าน ผงะ! พบศพชาวต่างชาติ ผูกคอดับปริศนา ร่างติดอยู่กับราวสะพาน

ชาวบ้านเขตบางรัก เปิดเผย เคยเห็นชาวต่างชาติ เดินเร่ร่อนแถวนี้บ่อย คล้ายคนสติไม่ดี ก่อนมาพบเป็น ศพผูกคอดับปริศนา สภาพศพรอยอืดน้ำ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า