จับตา NeoCoV ไวรัสโคโรนาตัวใหม่ ในค้างคาวที่ต้องเฝ้าระวังเพราะอาจติดสู่คนได้

นักวิทยาศาสตร์จับตา NeoCoV ไวรัสโคโรนาตัวใหม่ พบในประเทศในทวีปแอฟริกาในค้างคาวใกล้เคียงกับไวรัส MERS อาจกลายพันธุ์ติดในคนได้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. โพสต์ข้อความโดยระบุถึง NeoCoV (นีโอโคฟ)ไวรัสโคโรนาตัวใหม่ในค้างคาวที่ต้องเฝ้าระวัง โดยระบุว่า

งานวิจัยชิ้นหนึ่งถูกเผยแพร่มาจากทีมวิจัยจากประเทศจีนพูดถึงไวรัสโคโรนาในค้างคาวที่พบในประเทศในทวีปแอฟริกา โดยไวรัสชนิดนี้ชื่อว่า NeoCoV ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับไวรัส MERS ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อโรคที่รุนแรงมากในมนุษย์ แต่ด้วยความสามารถในการแพร่กระจายที่ไม่ดี ทำให้การระบาดของ MERS-CoV จึงอยู่ในวงจำกัด

ปกติไวรัส MERS-CoV และ ไวรัสอื่นๆที่ใกล้เคียงกันจะใช้โปรตีนตัวรับจากเซลล์โฮสต์ที่ไม่เหมือนไวรัส SARS-CoV-2 ที่ใช้ ACE2 โดยไวรัสกลุ่ม MERS-CoV ใช้โปรตีนชื่อว่า Dpp4 และเป็นที่น่าสนใจว่า งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าไวรัสที่ชื่อว่า NeoCoV นี้ไม่ได้ใช้ Dpp4 เหมือนเพื่อนคนอื่นๆ แต่ดันไปใช้โปรตีน ACE2 เหมือนกับที่ SARS-CoV-2 ใช้ติด ข้อมูลจากทีมวิจัยระบุว่า ไวรัสชนิดนี้ยังติดได้ดีแต่เซลล์ของค้างคาว และ ติดเซลล์คนได้ไม่ดี ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม 1 ตำแหน่งที่โปรตีนหนามสไปค์ของไวรัส (T510F) ที่จะทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้เหมือน SARS-CoV-2

ประเด็นที่เป็นข้อเท็จจริงคือ ไวรัสชนิดนี้สามารถกลายพันธุ์เพิ่มจนจับกับ ACE2 ของมนุษย์ได้ แต่ประเด็นที่ไม่ได้มีการแสดงในการศึกษานี้คือ ติดแล้วจะแพร่กระจายไวเหมือน SARS-CoV-2 หรือไม่ เพราะการจับกับ ACE2 ได้อย่างเดียวอาจไม่ใช่สิ่งรับประกันถึงความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัส และ ประเด็นสำคัญอีกข้อคือ การที่ไวรัสชนิดนี้ใกล้เคียงกับ MERS-CoV อาจจะไม่ได้หมายถึงความสามารถในการก่อโรคได้รุนแรงเท่า MERS-CoV เสมอไป ดังนั้น การสรุปไปว่า จะเป็นไวรัสที่ระบาดในมนุษย์ที่รุนแรงและทำให้คนเสียชีวิตถึง 30% ยังเป็นการสรุปที่ไม่อยู่บนข้อเท็จจริงครับ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ไวรัสตัวนี้จำเป็นต้องถูกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด

ทางด้านของสื่อต่างประเทศรายงานว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์จากเมืองอู่ฮั่นในจีน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของไวรัสโควิด-19 เมื่อปี 2019 ได้ส่งเสียงเตือนโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ คือ NeoCov ในแอฟริกาใต้ ซึ่งมีอัตราการแพร่เชื้อ และตายสูง แต่ไวรัส NeoCov ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเกี่ยวข้องกับไวรัส MERS-CoV ที่เคยระบาดในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง เมื่อปี 2012 และปี 2015 รวมถึงมีความคล้ายคลึงกับ SARA-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโคโรนาไวรัสในมนุษย์

ขณะที่ NeoCov พบในประชากรค้างคาวในแอฟริกาใต้ และแพร่เชื้อในหมู่สัตว์ด้วยกัน แต่ผลการศึกษาที่โพสต์ลงเว็บไซต์ bioRxiv ระบุว่า NeoCov สามารถแพร่เชื้อในคน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และสถาบันชีวฟิสิกส์สถาบันวิทยาศาสตร์จีน รายงานว่า ไวรัสกลายพันธุ์ สามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์มนุษย์ และยังพบว่า โคโรนาไวรัสตัวนี้ มีความเสี่ยง เพราะสามารถเกาะ ACE2 Receptpr ซึ่งอยู่บนผิวเซลล์ในร่างกายมนุษย์

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยเวคเตอร์ ในรัสเซีย ตระหนักถึงข้อมูลเกี่ยวกับ NeoCov โคโรนาไวรัส เพียงแต่ตอนนี้ ยังไม่พบว่า โควิดสายพันธุ์ใหม่ สามารถแพร่เชื้อระหว่างคน แต่ยังคงมีความจำเป็นต้องศึกษาและสอบสวนเพิ่มเติม

ข่าวที่น่าสนใจ

หมอแล็บแพนด้าเตือน สายพลังใบ เคี้ยวใบกระท่อม ห้ามตรวจATK เพราะแปลผลไม่ได้

เรื่องสุดแปลก ปืนปู่ผู้หญิงยิงไม่ลั่น ทำเอานักเล่นปืนถึงกับต้องหาคำตอบกันให้ควั่ก

ลูกหมอสุนิล พ้อไม่มาแล้วภูเก็ต ปมเจอแท็กซี่แพง ซ้ำโดนชาวภูเก็ตจวกรวยแค่นี้ก็ไม่ยอมจ่าย

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เหตุเครนถล่มวุ่น! คนงานปิดล้อมตร.-จนท. ไม่ให้นำศพออกจากจุดเกิดเหตุ

วุ่นนาน 3 ชม. คนงานไซต์ก่อสร้าง ไม่ยอมให้กู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตเหตุ เครนถล่ม ออกจากพื้นที่ หวั่นไม่ได้รับเงินชดเชย ตามที่ร้องขอ

ด่วน! เครนยักษ์ ถล่มทับคนงาน เบื้องต้นมีรายงานการเสียชีวิต 6 ราย

ด่วน! เครนยักษ์ ถล่มทับคนงาน ไซด์งานก่อสร้าง ในโรงงานแห่งหนึ่ง ในจ.ระยอง เบื้องต้นมีรายงานการเสียชีวิต 6 ราย

ทัวร์ลงยับ! หนุ่มสงสัย หลังได้ใบสั่ง ‘ไม่จอดรถให้คนข้าม’ ลั่น ข้อหานี้มีด้วยเหรอ?

หนุ่มสงสัย! โพสต์โวยได้ใบสั่ง ‘ไม่จอดรถให้คนข้ามถนน’ แต่คดีพลิก เมื่อชาวเน็ตพาทัวร์ย้อนกลับ ไปสอบใบขับขี่มาจากไหน

เจ้าของร้านหมูกระทะ แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน เป็นไปตามข้อตกลง

แขวะกลับแรง! เจ้าของร้านหมูกระทะ ย่านพัทยา แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน พร้อมโพสต์เฟซฟาดชาวเน็ต อย่าตัดสินอะไรที่ยังไม่รู้จากปาก
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า