หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาประกาศให้ยกเลิกการใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) ที่ผ่านกระบวนการการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ทำให้คนไทยหลายคนสงสัยว่าแล้วอะไรบ้างที่มีไขมันทรานส์ วันนี้เราจึงจะมาขยายความว่าเจ้าไขมันตัวร้ายนี้มันอยู่ที่ไหนบ้าง และเป็นอันตรายอย่างไร?

      ไขมันทรานส์ถูกจัดให้เป็นไขมันที่อันตรายต่อสุขภาพจนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) โดยประเทศสหรัฐฯได้สั่งแบนไขมันทรานส์และบังคับให้ผู้ประกอบการด้านอาหารยุติการใช้ไขมันทรานส์เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของอาหาร ขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข สั่งห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายไขมันทรานส์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามประกาศระบุว่าเป็นการอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่ง พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (13 กรกฎาคม 2561)

 

ส่วนผสมหลักที่โดนตามราชกิจจานุเบกษานี้มีดังนี้

  • ขนมข้นหวาน
  • นมข้นจืด
  • ครีมเทียมข้นหวาน
  • เนยขาว
  • มาการีน

 

โดยส่วนผสมข้างต้นนี้มีอยู่ในอาหารพวกนี้

  • โดนัท
  • เวเฟอร์
  • เค้ก
  • ขนมปัง
  • เครื่องดื่มเช่น กาแฟ ชาเย็น ชานมไข่มุก
  • อาหารฟาสต์ฟูดส์ เช่น พิซซ่า ไก่ทอด แฮมเบอรเกอร์ เฟรนซฟราย
  • ป๊อบคอร์น
  • และยังมีอีกมากมาย

 

เพื่อความชัดเจน เรามีตารางบอกปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารแต่ละชนิดจากปริมาณอาหาร 100 กรัม มาฝากกันตามนี้เลย

 

ถ้าร่างกายได้รับไขมันทรานส์เยอะจะเป็นอย่างไร?

สำหรับใครที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารประเภททอดๆ ทั้งหลาย ที่มีกรดไขมันทรานส์มากเกินไปแล้วล่ะก็ จะส่งผลกระทบระบบการทำงานของระบบเอนไซม์ในร่างกายของเรา ทำให้ไขมันชนิดดีในร่างกายของเราลดลงหรือถูกทำลายไป และเพิ่มจำนวนไขมันชนิดเลวให้แก่ร่างกายแทน แถมเจ้าไขมันทรานส์นี้ยังไม่ย่อยสลายได้ง่ายๆ อีกด้วย เนื่องจากเป็นไขมันแปรรูป ซึ่งทำให้ตับของเราต้องทำงานหนักขึ้น และนั่นจึงนำมาซึ่งโรคหรืออันตรายจากไขมันทรานส์ อาทิเช่น

  • มีน้ำหนักตัวและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
  • มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ฯลฯ
  • ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
  • เสี่ยงต่อการเกิดอาการจอประสาทตาเสื่อม
  • ทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอักเสบ
  • ทำให้ผู้หญิงอยู่ในภาวะมีบุตรได้ยากขึ้น

 

เมื่อรู้ถึงอันตรายจากอาหารประเภทไขมันทรานส์แล้ว ก็อย่าลืมหันมาดูแลตัวเองโดยการเลิกรับประทานอาหารประเภทนี้ แล้วเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และคุณค่าสารอาหาร โดยเฉพาะในผักและผลไม้ซึ่งอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ควบคู่กับการออกกำลังกาย เพียงเท่านี้สุขภาพดีๆ ก็จะอยู่คู่กับเราไปอีกนานแสนนานเลย

 

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“Code Kunst” ตัดสินใจแยกทางกับ AOMG หลังอยู่มานานถึง 6 ปี

นักดนตรี/โปรดิวเซอร์ “Code Kunst” ชื่อดัง ได้ตัดสินใจแยกทางกับค่ายเพลง AOMG หลังจากอยู่มานานถึง 6 ปี ทำเอาใจหายไปกันทั้งทามไลน์

ลายพรางสุดโหด! จับสิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ปมฉุนแซวสาว

โหดเหี้ยม ตร.รวบ สิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ก่อนหิ้วป่าละเมาะ ใกล้ดอยสุเทพ เตรียมเร่งล่าผู้ต้องหาอีก 2 คน

อดีตผู้บริหารโพสต์โต้ข่าว หลัง เมากร่างถีบหน้าตร. ล่าสุดโดน 3 ข้อหาหนัก

ไม่ยอมเสียเปรียบ! อดีตผู้บริหารหญิงบ.ดังระดับโลก เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก หลังตร.แจ้ง 3 ข้อหาหนัก เจ้าตัวลั่น ไม่ขอเป็นเครื่องมือให้ใคร

“เจนนี่ BLACKPINK” ร่วมมือกับ Gentle Monster เปิดตัวคอลเลกชัน ‘Jentle Salon’

“เจนนี่ BLACKPINK” ร่วมมือกับ Gentle Monster เปิดตัวคอลเลกชั่น ‘Jentle Salon’ ทำเอาแฟนๆ ต่างจับจองซื้อตามกันทั่วโลก

โอ้โห! ดาวยั่วตัวแม่ นุ่งชั้นในซีทรู เปิดอกล้นกระแทกตา โชว์เอวคอดทำใจสั่น

โอ้โหของจริง! ดาวยั่วตัวแม่ นุ่งชุดชั้นในซีทรูบาง เปิดอกล้นกระแทกตา โชว์หุ่นสับ อวดเอวคอดทำใจสั่น งานนี้บอกเลยแฟนๆ แห่ไลก์เพียบ

“NewJeans” ปล่อยภาพทีเซอร์แรก ‘How Sweet’ ท่ามกลางความขัดแย้ง

น้องสาวแห่งชาติของแท้ NewJeans ปล่อยภาพทีเซอร์แรกเพลง ‘How Sweet’ ก็ทำเอาเป็นประเด็นร้อนบนโซเชียลได้ทันที!
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า