เคล็ดไม่ลับ! 9 เมนูอุดมด้วย “ธาตุเหล็ก” ป้องกัน โรคโลหิตจาง สาวๆควรกินตาม เลือกทานได้เลยปลอดภัยแน่นอน
รู้หรือไม่ว่า! สาวๆ เพศหญิง ตัวแม่ทั้งหลาย เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางมากกว่าผู้ชายนะ เพราะจากการมีประจำเดือน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพื่อนำมาสร้างเม็ดเลือดแดง แต่ทั้งนี้โรคนี้ก็สามารถเกิดกับผู้ชายได้เช่นกัน วันนี้เลยจะมาแชร์ 9 เมนูอุดมด้วย “ธาตุเหล็ก” ป้องกันโรคโลหิตจาง

อาการขาดธาตุเหล็ก
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะความรู้สึกเหมือนหมดแรง เหนื่อยใจ เนื่องจากเลือดไม่มีธาตุเหล็กเพียงพอจะสูบฉีดให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้ นั่นเอง
- ลิ้นอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ
- ลิ้นบวม ตุ่มบริเวณลิ้นหายไป ลิ้นเกลี้ยงเกลามากขึ้น แต่อาจทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก แปรงฟันลำบาก หรือหากลิ้นบวมหนักมากอาจพูดไม่ชัดได้
- ประสิทธิภาพของสมองลดลง มีอาการเหม่อลอยบ่อยขึ้น เนื่องจากออกซิเจนในเลือดน้อยเพราภาวะขาดธาตุเหล็ก
- ตัวซีด เปลือกตาด้านในซีด บ่งบอกสภาวะโลหิตจาง
- ริมฝีปากแห้งแตก โดยเฉพาะบริเวณมุมปาก และอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย
- ร่างกายไวต่อเชื้อโรค มีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย
- มีอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Leg Syndrome) ต้องสั่นขา เขย่าขาตลอดเวลา เพราะรู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ขา หรือไม่สั่นขาจะนั่งไม่สบาย
- หน้ามืด วิงเวียน โดยเฉพาะเมื่อเดินขึ้นบันได ขึ้นลิฟต์ หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวหนัก ๆ
- หายใจติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะขณะทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมาก ๆ
- ปวดศีรษะ หนัก ๆ หัว เหมือนสมองไม่โปร่งใส รู้สึกขาดสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
- เบื่ออาหาร รู้สึกอยากกินอาหารรสชาติแปลก ๆ เช่น อยากกินดิน อยากกินน้ำแข็ง เป็นต้น
- มีดอกเล็บขึ้น เล็บเป็นรูปช้อน หรือหนังเล็บลอก
- มือเย็น เท้าเย็น
- ใจสั่นได้ง่าย แม้จะแค่เดินในระยะใกล้ ๆ หรือวิ่งระยะสั้น ๆ
9 เมนูเสริมธาตุเหล็ก
1. ต้มเลือดหมู
2. ผัดกะเพราตับ
3. สเต็กหมูสลัดผัก
4. ตับผัดดอกกุยช่าย
5. ตับทอดกระเทียม
6. แกงเขียวหวานไก่ใส่เลือด
7. ตับผัดขิง
8. ก๋วยจั๊บ
9. ตับหวาน
อย่างไรก็ตาม อาหารบางประเภทยังอาจขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายได้ เช่น ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง ข้าวไม่ขัดสี ชา กาแฟ ซึ่งถ้าต้องการธาตุเหล็กก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ไว้ด้วย ส่วนอาหารที่จะช่วยเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กก็ได้แก่ อาหารอุดมวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะละกอ สตรอว์เบอร์รี ส้มโอ กีวี เป็นต้น ซึ่งก็ควรรับประทานอาหารเหล่านี้ระหว่างรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
ทั้งนี้ถ้าหากใครมีอาการขาดธาตุเหล็ก หรือสงสัยว่าตัวเองขาดธาตุเหล็กหรือไม่ ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อได้รับการตรวจและวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวมถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมนะคะ
แหล่งที่มา ราชวิถี , กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY