“โรคกระดูกพรุน” สารพัดปัญหาของผู้สูงอายุ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกคน

ทำความรู้จัก โรคกระดูกพรุน สารพัดปัญหาของผู้สูงอายุที่ควรระวัง พฤติกรรมแบบใดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคกระดูกพรุน เช็กเลย!

ปัจจุบัน โรคกระดูกพรุน กลายเป็นปัญหาระดับชาติ ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใด ๆ จนกระทั่งล้มแล้วมีกระดูกหัก จึงรู้ว่าเป็น โรคกระดูกพรุน

สาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลง (มากกว่า 3 เซนติเมตร) เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบางและยุบตัวลงช้า ๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้มหรือยกของหนัก

แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วย โรคกระดูกพรุน มีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไปเพียงแค่มีแรงกระแทกเบา ๆ การบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอ จาม หรือลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง

โรคกระดูกพรุน2

ปัจจัยเสี่ยง โรคกระดูกพรุน

แม้ โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบได้กับทุกเพศทุกวัย และพบมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน จะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และช่วยป้องกันการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้

  • เพศ ผู้หญิงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและเร็วกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง การสลายกระดูกจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ จึงเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ถึง 40 – 50%
  • อายุ มวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ
    – ผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 10 คน ใน 100 คน
    – ผู้หญิงอายุเกิน 70 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 20 คน ใน 100 คน
    – ผู้หญิงอายุเกิน 80 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 40 คน ใน 100 คน
  • กรรมพันธุ์ ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่มีโรคกระดูกพรุนแล้วมีกระดูกหัก ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วกระดูกหักด้วย
  • เชื้อชาติ ชาวต่างชาติที่มีผิวขาวและคนเอเชียมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูง
  • ยา การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานานทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ผู้ป่วยโรค SLE (โรคพุ่มพวง)ยาทดแทนธัยรอยด์ ยาป้องกันการชัก เป็นต้น
  • เคยกระดูกหัก โอกาสที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.5 เท่า
  • แอลกอฮอล์ การดื่มเหล้า เบียร์ หรือแม้แต่ไวน์ในปริมาณมากกว่า 3 แก้ว/วัน ทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น
  • บุหรี่ สารพิษนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกบางลง หากสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน ความเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักสูงขึ้น 1.5 เท่าของคนไม่สูบบุหรี่
  • ผอมเกินไป คนที่ผอมเกินไปจะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า และมีความเสี่ยงกระดูกหักเพิ่มขึ้น 2 เท่าของคนรูปร่างปกติ
  • ขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ นอกจากทำให้ร่างกายเสียสมดุลแล้วยังอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน
  • ขาดการออกกำลังกาย คนไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า พบว่า ผู้หญิงที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมง/วัน เสี่ยงกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึง 50%
  • การรับประทานอาหาร ถ้าได้รับเกลือมากกว่า 1 ช้อนชา/วัน ชา กาแฟมากกว่า 3 แก้ว/วัน น้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋อง/สัปดาห์ และทานโปรตีนมากกว่า 10 – 15% ในแต่ละมื้อของอาหาร มีความเสี่ยงกระดูกพรุนสูง เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่วนอาหารเค็มจัดและคาเฟอีนยังทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้นอีกด้วย

ารตรวจวัดมวลกระดูก Bone Mineral Density (BMD)

การตรวจวัดมวลกระดูก Bone Mineral Density (BMD) ด้วยเครื่องมือรังสีชนิดพิเศษ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวด ใช้ตรวจกระดูกได้ทุกส่วน แต่ที่นิยมและใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ ที่กระดูกสันหลังช่วงเอวและกระดูกสะโพก ซึ่งจะได้ค่าเป็นตัวเลขแสดงความเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐาน

ส่วนภาพ X-rays ในภาวะกระดูกพรุนจะเห็นเนื้อกระดูกจาง ๆ โพรงกระดูกกว้างออก ความหนาของผิวกระดูกลดลงและมีเส้นลายกระดูกหยาบ ๆ โดยจะเห็นขอบของกระดูกเป็นเส้นขาวชัด ในบางราย อาจเห็นกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังทรุดตัว

ตรวจกระดูกตอนไหน ?

  • ผู้ที่มีอาการปกติ ไม่มีภาวะเสี่ยง ควรเริ่มตรวจความหนาแน่นกระดูกเมื่ออายุ 60 ปี
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เคยมีประวัติกระดูกหักในครอบครัวจากภาวะกระดูกพรุน หรือรับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจความหนาแน่นกระดูกเร็วขึ้น
โรคกระดูกพรุน-01

อาหารเสริมพลัง ป้องกันกระดูกพรุน

  • แคลเซียม ที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างในแต่ละวัย และสภาวะร่างกาย ดังนี้ อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี นมและผลิตภัณฑ์ของนม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาตัวเล็ก ๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น
  • วิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม โดยร่างกายต้องการวิตามินดี วันละ 400-800 หน่วย
  • นม 1 แก้ว = มีวิตามินดี 100 หน่วย และแคลเซียม 300 มิลลิกรัม
โรคกระดูกพรุน3

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อากาศมันร้อน! แดดส่องเก้าอี้สแตนเลส จนไฟลุก เกือบเผาร้านอาหารวอด

เตือนภัย! ไฟไหม้ร้านอาหาร หลังสภาพอากาศประเทศไทยร้อนขึ้น คาด แดดส่องเข้าเก้าอี้สแตนเลส จนทำให้เกิดประกายไฟ

มันใช่เหรอ? พ่อน้องออนิว ภูมิใจ ลงรูปอวดลูกน้อย ดูดพอตข้างน้ำท่อม

ชาวเน็ต จวกยับ แบบนี้เหมาะสมแล้วเหรอ? หลัง พ่อน้องออนิว อวดรูปลูกชาย นั่งสูบบุหรี่ไฟฟ้า ลั่น! ลูกผมไม่เหมือนคนอื่น

“ฤดูฝน” ปี 2567 ช้ากว่าปกติ 1 – 2 สัปดาห์ พร้อมเตือนประชาชน เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วง ฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2567 และข้อควรระวังในช่วงฤดูฝนปีนี้

เปิดคำพูด! กามิน เผยสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่

ฟังชัดๆ! กามิน ตอบสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาครั้งนี้ทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่ ทำให้เห็นอีกมุมของฝ่ายชายมากขึ้น

คุณยายสุดเซ็ง! โดนแม่ค้าหลอกขายหอย แต่เปิดมาที กลิ่นเหม็นมาก..

โดนแม่ค้าต้มจนเปลือย! ยายวัย 79 ปี สุดเซ็ง ซื้อหอยแมลงภู่มา 3 โล แต่กินไม่ได้ เปิดออกมามีแต่กลิ่นเหม็นเน่า บางตัวก็ไม่มีเนื้อ

จัดว่าเด็ด! อินฟลูฯ สาว ปาเซตบิกินีจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับ งานนี้โกยยอดไลก์เพียบ

เด็ดจริง! อินฟลูเอนเซอร์สาว ปาเซตบิกินีตัวจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับริมชายหาด บอกเลยงานนี้โกยยอดไลก์เพียบ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า