แบบมีก็มีด้วย? โรคกลัวกระจก (Catoptrophobia) อันตรายไหม หากเป็นจะมีวิธีรักษาอย่างไร
โรคกลัวกระจก หรือ Catoptrophobia คือโรคที่อยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล ประเภทความกลัวเฉพาะ โดยผู้ป่วยที่กลัวกระจกหรือพื้นผิวสะท้อน ไม่ได้กลัวที่ตัวกระจก แต่กลัวสิ่งที่เห็นในกระจก
สาเหตุของโรคกลัวกระจก
พบว่าผู้ป่วยที่อาการกลัวกระจกนั้นมีปมด้านสังคมร่วมด้วย เนื่องจากการอยู่ในสังคมต้องสร้างภาพลักษณ์ตัวเองที่ดี เงาสะท้อนในกระจะบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ตนเอง แต่กลับเป็นเงาสะท้อนภาพตัวตนที่ตนเองไม่ต้องการส่งผลให้ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการรังเกียจและไม่ชอบกระจก

อาการของโรคกลัวกระจก
แบ่งเป็นสามประเภท
- อาการทางปัญญา
ประสบการณ์แห่งความกลัวความวิตกกังวลหรือความปวดร้าว หลีกเลี่ยงความคิด. - อาการพฤติกรรม
ดำเนินการหลีกเลี่ยงหรือกระตุ้นพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง. - อาการทางกายภาพ
ชีพจรเร่งอิศวร, ปวดหัว, ปวดท้อง, ฯลฯ.
การแสดงอาการของผู้มีอาการกลัวกระจก
โดยอาการนั้นจะต่างกันในแต่ละบุคคลและระดับความกลัวต่อกระจก
- ความกังวล
- ความตื่นตระหนกตกใจ เสียขวัญ หวาดกลัว
- หายใจถี่
- ปากแห้ง
- เหงื่อออกมากเกินไป
- ความเกลียดชัง
- ฟะฟั่น (อาการสั่น)
- หัวใจเต้นเร็ว

ทางออกสำหรับโรคกลัวกระจก
สำหรับโรคกลัวกระจกไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายเท่าไรนัก ถึงกระนั้น ผู้ป่วยบางรายมักพบว่า การเผชิญหน้า หรือแม้แต่การคิดที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่น่ากลัวนำมาซื่งภาวะตื่นตระหนกและความวิตกที่รุนแรง ซึ่งทางออกสำหรับป้องกันโรคกลัวกระจกขั้นเบื้องต้นก็คือ พยายามสร้างความมั่นใจและผ่อนคลายเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ที่คุณเคยรู้สึกกลัว หรือเข้าโปรแกรมบำบัดทางจิตกับสถานบำบัดจิตสำหรับโรคกลัวต่างๆ เป็นต้น
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY