เตือนแล้วนะ อย่าหาทำ! “โรคตาแดง” ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คุณคิด มีวิธีรักษาให้หายสนิท อย.เตือน! อย่าใช้สารส้มผสมน้ำล้างตา เสี่ยงติดเชื้อ
“โรคตาแดง” หรือ โรคเยื่อบุตาอักเสบ สาเหตุของโรคนี้คือการติดเชื้อไวรัสที่เยื่อบุตา มีกจะเกิดในช่วงหน้าฝนเนื่องจากเชื้อมีการกระจายตัวได้ง่ายขึ้น โรคตาแดงติดต่อได้ง่าย และรวดเร็ว โดยเฉพาะในสถานที่ หรือบริเวณที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น ผู้รับเชื้อจะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 2 – 14 วัน สามารถติดต่อกันโดย
อาการของโรคตาแดง
- เยื่อบุตาขาวแดง บวม อาจมีเลือดออกเป็นปื้นๆ
- คัน เคืองตา น้ำตาไหล
- หากติดเชื้อแบคทีเรียอาจมีขี้ตาสีเหลือง
- เปลือกตาบวมแดง
- อาจมีอาการข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้
- บางรายมีอาการเหมือนเป็นหวัดร่วมด้วย ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูโต บวม และมีอาจอาการเจ็บ
ความน่ากลัวของโรคตาแดงคือ สามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก หากสัมผัสโดนขี้ตา หรือน้ำตาของผู้ป่วยโดยตรง ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน เครื่องสำอางค์ หรือแม้กระทั่งการไอ จาม ก็สามารถพาเชื้อมาติดผู้อื่นได้เช่นกัน
ล่าสุดทางเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกเตือนกรณีมีการแชร์วิธิการรักษาโรคตาแดงแบบผิดๆ โดยการใช้สารส้มผสมน้ำล้างตาจะสามารถรักษาอาการตาแดงได้นั้น ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งน้ำและสารส้มหากใช้แล้วอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาติดเชื้อได้ ซึ่งจะทำให้การรักษายากขึ้น แต่สารส้มสามารถนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย โดยการเลือกซื้อแนะนำให้เลือกซื้อสารส้มจากแหล่งการผลิตที่สะอาดได้รับมาตรฐาน หรือหากสารสัมนั้นอยู่ในผลิตภัณฑ์บรรจุเสร็จควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเลขทะเบียน อย.

ทั้งนี้วิธีรักษาหากเป็นโรคตาแดง ทางที่ง่ายที่สุดคือ ไม่สัมผัสบริเวณดวงตา หรือล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัส ควรใส่แว่นกันแดด กันลม เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อได้ ใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง หาดต้องการล้างตาใช้น้ำเกลือทำความสะอาดตา หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด และคลุกคลีกับผู้อื่น สถานที่คนพลุกพล่าน ควรหยุดงาน หยุดเรียนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคตาแดงสามารถหายเองได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
หากอาการไม่ดีขึ้น หรือ ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น รีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะทำให้ผู้ป่วยหายและกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
ข้อมูล – www.siphhospital.com / www.fda.moph.go.th
บทความที่น่าสนใจ