จากกรณีที่มีผู้ใช้ Facebook รายหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Kaoplong Thararat ได้ออกมาแชร์ถึงประสบการณ์ที่เธอไปสั่งอาหารทานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง โดยเธอได้ย้ำกับทางร้านแล้วว่าตนเอง แพ้กุ้งอย่างรุนแรง แต่เมื่อรับประทานไปกลับพบหางกุ้งในจาน จนทำให้เธอเกิดอาการแพ้จนเกือบตาย โดยหลังจากเข้ารับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว เจ้าตัวก็ยังก็ยังคงต้องเฝ้าระวังโดยการห้ามรับเชื้ออีกภายใน 1 ปี เพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และต้องพกยาอะดรีนาลีนติดตัวไว้เพื่อป้องกันหากเกิดอาการรุนแรงขึ้นอีก

อาการแพ้อาหาร เป็นอย่างไร ?
รศ. ดร. นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แพ้อาหาร คือ อาการที่เกิดหลังจากการทานอาหารบางอย่างในบางคนที่มีอาการแพ้ อาหารที่แพ้บ่อยๆจะเป็นพวกอาหารทะเล,กุ้ง อาการแพ้อาหาร พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากจะเป็นแบบแพ้ไม่รุนแรง อาการคือ มีผื่นขึ้น ,ผื่นคัน แต่ถ้าแพ้แบบรุนแรง จะมีอาการความดันต่ำ ,หายใจเหนื่อย ,หายใจมีเสียงวี๊ด ,คลื่นไส้อาเจียน ,ปวดท้องร่วมด้วย

การปฐมพยาบาลเมื่อมีอาการแพ้อาหาร ?
แพ้อาหารแบบไม่รุนแรง ให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้แพ้ แล้วรอดูอาการสักระยะหนึ่ง หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพาผู้ป่วยมาส่งโรงพยาบาล
แพ้อาหารรุนแรง ผู้ช่วยเหลือควรรีบ โทร. 1669 โดยเร็วที่สุด หรือหากมี อีพิเพ็น (EPIPEN) ซึ่งเป็นยาอะดรีนาลีนแบบพกพา ก็สามารถฉีดก่อนที่ทีมแพทย์ที่ช่วยเหลือจะมาถึง
หากผู้ป่วยมีอาการแพ้มากจหมดสติไปแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการหัวใจหยุดเต้นร่วมด้วย ให้ผู้ช่วยเหลือทำการปั้มหัวใจ (CPR) ก่อนที่ทีมแพทย์จะมาถึง

อยากกินอาหารที่แพ้ ก็แค่กินยาแก้แพ้ดักไว้ก่อนกิน ?
รศ. ดร. นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เตือนว่าเป็นข้อมูลที่ ไม่ถูกต้อง โดยการกินยาแก้แพ้ก่อนกินอาหารที่แพ้นั้นจะเพียงแค่ช่วยไม่ให้เกิดผื่นคัน แต่ไม่สามารถช่วยเรื่องของระบบหายใจ และความดันซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบอาการแพ้ที่แท้จริงของตนเอง และสามารถทำให้เกิด อันตรายถึงชีวิต ได้
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อรู้ว่าแพ้อาหาร ?
- เลือกทานอาหารที่ไม่มีส่วนประกอบของอาหารที่ตนเองแพ้ โดยให้เน้นย้ำกับพนักงานของร้านอาหาร และตรวจสอบส่วนผสมของอาหารจานนั้นอย่างละเอียดว่ามีอาหารที่ตนเองแพ้หรือไม่
- ควรพกยาแก้แพ้และยาอะดรีนาลีนแบบฉีดติดตัวไว้เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันในกรณีที่เผลอรับประทานอาหารที่แพ้ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
- หากมีอาการแพ้แบบรุนแรง โทร. 1669 เพื่อแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และรีบทำการปฐมพยาบาลด้วยการฉีดยาอะดรีนาลีน ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Kaoplong Thararat,รศ. ดร. นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล