กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะ เตือนนักท่องเที่ยว ในช่วงมรสุมโปรดระวัง! แมงกะพรุนพิษ พร้อมแนะวิธีการป้องกัน
แมงกะพรุน มีหลายชนิด ที่พบบ่อยในไทย คือ แมงกะพรุนไฟ ส่วนชนิดที่ทำให้เสียชีวิตได้ คือ แมงกะพรุนกล่อง ที่กระแสน้ำ พัดมาจากออสเตรเลีย ซึ่งพบไม่บ่อยนัก วันนี้ กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะ เตือนนักท่องเที่ยว ในช่วงมรสุมโปรดระวัง! แมงกะพรุนพิษ พร้อมแนะวิธีการป้องกัน
พิษของแมงกะพรุน ทั่วไปจะอยู่ในหนวดในกระเปาะ เมื่อพอมันหลุดมาเป็นพิษต่อผิวหนัง หรือบางครั้งเด็กไม่รู้แล้วนำไปจับเล่น
ซึ่งฤดูระบาดของแมงกะพรุนพิษ คือช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการเที่ยวทะเล ควรรู้วิธีการป้องกัน และหากสัมผัสแมงกะพรุนมีพิษไปแล้ว จะต้องปฐมพยาบาลเบื้อต้นอย่างไร? ไปดูกัน
การป้องกัน แมงกะพรุนพิษ
- สวมเสื้อผ้ามิดชิดเวลาเล่นน้ำ เช่น เสื้อแขนยาว ขายาวแนบตัว
- ก่อนลงเล่นน้ำควรตรวจสอบตำแหน่งของสถานที่ปฐมพยาบาล จุดวางน้ำส้มสายชูก่อนว่ายน้ำ
- ปฏิบัติตามป้ายเตือนตามสถานที่ท่องเที่ยว อย่างเคร่งครัด
- ไม่ควรลงเล่นน้ำหลังฝนตกตอนกลางคืน
- เล่นน้ำในบริเวรวงล้อมตาข่ายกั้นแมงกะพรุน
- คอยสังเกตแมงกะพรุนขณะว่ายน้ำ และระวังแมงกะพรุนเกยตื้น
การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
- นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ ห้ามทิ้งผู้บาดเจ็บให้อยู่คนเดียว เพราะอาจจะหมดสติและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้
- เรียกคนช่วย และโทร 1669
- ห้ามขัด หรือถูบริเวณที่สัมผัสหนวดแมงกะพรุน
- ราดน้ำส้มสายชูบริเวณผิวหนังที่สัมผัสถกแมงกะพรุน นานอย่างน้อย 30 วินาที
- ห้ามใช้น้ำจืด และแอลกอฮอล์ราด
- ถ่ายรูปหรือจดจำลักษณะของแมงกะพรุนที่สัมผัส
- หากผู้ได้รับบาดเจ็บหมดสติ ให้ทำ CPR ทันที และรีบน้ำส่งโรงพยาบาล

ขอบคุณข้อมูลจาก กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY