จากในโซเชียลเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก ใช้ เกลือทำอาการ แทน น้ำเกลือ ล้างจมูกได้จริงหรอ? ที่นี่มีคำตอบ!
ช่วงนี้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก กว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เยอะมาก ทำงานหนักสุดๆ ดังนั้นเราจึงควรดูแลตัวเองด้วยการล้างจมูก (Nasal Irrigation) เป็นการล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือ ช่วยลดการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก และชะล้างสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้น ช่วยลดอาการน้ำมูกไหลลงคอ บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ซึ่งในโลกออนไลน์ตอนนี้กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าใช้เกลือทำอาหารแทนได้หรือไม่?

บางคนอาจเกิดเหตุการณ์ น้ำเกลือล้างจมูกที่บ้านหมด แล้วแอบไปหยิบ เกลือทำกับข้าว มาผสมใช้แทน ถ้าจะใช้แก้ขัดในปริมาณที่เล็กน้อย ก็พอได้ “แต่ไม่แนะนำอย่างยิ่ง”
เกลือที่เราใช้ทำกับข้าว มีส่วนผสมของสารปนเปื้อนอยู่มาก ทั้งสารไอโอดีน สารกันความชื้น หรือสารปรุงแต่งรสต่างๆ ทำให้เวลาล้างจมูก คุณจะรู้สึกแสบมากกว่าปกติ และยังทำให้โพรงจมูกระคายเคือง อีกด้วย เพราะสารเหล่านี้ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับร่างกาย
ดังนั้นควรจะใช้น้ำเกลือที่มีคุณภาพ หรือ ผงเกลือสำหรับล้างจมูกโดยเฉพาะ จะได้มั่นใจว่า มีความบริสุทธิ์ และปราศจากสารปนเปื้อนเพื่อการล้างจมูกที่ปลอดภัยของตัวคุณและครอบครัว วันนี้เราจึงแนะนำวิธีการล้างจมูกที่ถูกต้องด้วย
ขั้นตอนการล้างจมูก
- ยืนหรือนั่งในท่าที่สะดวก ก้มศีรษะเล็กน้อยเหนืออ่างล้างหน้าหรือภาชนะรองน้ำ วางหลอด Syringe แนบเข้าไปในรูจมูก แล้วค่อยๆฉีดน้ำเกลือให้ไหลเข้าไปในรูจมูกอย่างช้าๆ ในระหว่างนี้แนะนำให้ผู้ป่วยอ้าปาก หายใจทางปาก หรือให้ส่งเสียงว่า “อา” โดยที่พยายามไม่กลืนน้ำลาย
- เมื่อน้ำเกลือไหลเข้าไปถึงโพรงจมูกส่วนหลัง เพดานปากจะมีปฏิกิริยาปิดโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเกลือไหลออกทางปาก น้ำเกลือจะไหลออกทางรูจมูกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยไปชะล้างเอาน้ำมูกและสิ่งสกปรกต่างๆ ออกมาด้วย
- บางครั้งน้ำเกลือบางส่วนอาจไหลผ่านลงคอ และผู้ป่วยอาจจะกลืนเข้าไปได้ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด
- ระยะเวลาที่ใช้ในการล้างจมูกขึ้นอยู่กับปริมาณความหนาแน่นของน้ำมูกที่อยู่ในโพรงจมูก และขนาดของโพรงจมูก แนะนำให้ล้างจนไม่มีน้ำมูกออกมาอีก
- ให้ทำกระบวนการนี้ซ้ำสำหรับจมูกอีก 1 ข้างด้วย
- ใช้กระดาษทิชชูสั่งน้ำเกลือที่คงเหลืออยู่ในจมูกออกมาให้หมด อย่างไรก็ตามบางครั้งหลังการล้างจมูก อาจมีน้ำเกลือหลงเหลืออยู่ในโพรงจมูก ซึ่งน้ำเกลือส่วนนี้จะค่อยๆ ละลายน้ำมูกให้ไหลออกมาได้อีก ในบางครั้งน้ำเกลืออาจไหลไปถึงโพรงไซนัสและอาจหยดออกมาทางตาได้บ้าง ซึ่งไม่เป็นอันตรายจึงไม่ต้องวิตกกังวล กรณีนี้สามารถช่วยลดโอกาสเกิดได้โดยการฉีดน้ำเกลือเบาๆ และช้าๆ
ข้อควรระวังในการล้างจมูก
- ควรใช้น้ำเกลือ“ปราศจากเชื้อ” การล้างจมูก ควรใช้น้ำเกลือ 0.9% Sodium Chloride ชนิดปราศจากเชื้อเพื่อความปลอดภัย ป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อนโดยเฉพาะในไซนัส และความเข้มข้นขนาดนี้จะไม่ระคายเคืองโพรงจมูก
- ห้ามใช้ “น้ำเปล่า” ล้างโพรงจมูก
เนื่องจากน้ำเปล่า ไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย หากใช้น้ำเปล่าจะทำให้เกิดอาการสำลัก และแสบในโพรงจมูก รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ - ไม่ควรฉีดน้ำเกลือแรง
การฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกแรงๆ อาจทำให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบได้ - สั่งน้ำมูกเบาๆ
หลังการล้างจมูก ควรสั่งน้ำมูกและเช็ดจมูกเบาๆ การสั่งน้ำมูกแรงๆ นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อโพรงจมูกแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูอักเสบได้ ขณะสั่งน้ำมูกไม่ควรอุดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ควรสั่งพร้อมๆกันทั้ง 2 ข้าง - การใช้ยาพ่นจมูก
หากต้องใช้ยาพ่นหลังล้างจมูก ควรรอให้โพรงจมูกแห้งก่อน อย่างน้อย 3-5 นาที จึงค่อยพ่นยา - ผู้ที่รูจมูกอุดตัน
หากมีรูจมูกอุดตันด้านใดด้านหนึ่งตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการล้างจมูก - การล้างจมูกในเด็ก
การล้างจมูกในเด็กสามารถทำได้อย่างปลอดภัยตามแนะนำของแพทย์ ควรล้างจมูกก่อนรับประทานอาหาร หรือดื่มนม เพื่อป้องกันการสำลัก สำหรับเด็กเล็ก (เด็กที่สั่งน้ำมูก หรือกลั้นหายใจไม่เป็น) ไม่แนะนำล้างโพรงจมูก แต่หากมีน้ำมูกให้ใช้วิธีหยดน้ำเกลือที่รูจมูก ข้างละ 2 หยด เพื่อช่วยให้น้ำมูกมีความข้นเหนียวลดลง หลังจากนั้นค่อยใช้ลูกยางแดง ดูดทั้งน้ำมูกและน้ำเกลือออกทันที
แหล่งที่มา Hashi Clear , เด็กสินแพทย์
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY