อันตราย! ฝุ่น PM2.5 มลพิษที่เราหายใจเข้าไปในทุกวันๆ นอกจากส่งผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจแล้วยังมีผลต่อ โรคทางสมอง อีกด้วย!
ประเทศไทยช่วงนี้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ มลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นที่จากไฟป่า ฝุ่นละออง หรือว่า ฝุ่น PM2.5 ซึ่งปลัด สธ.เผย PM 2.5 ทำป่วยทางเดินหายใจพุ่ง 1.7 ล้านคน ล่าสุดสัปดาห์เดียวระหว่างวันที่ 1 มกราคม-19 มีนาคมที่ผ่านมา ทำผู้ป่วยทางเดินหายใจเพิ่มถึง 228,870 ราย ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจแล้วยังส่งผลต่อสมองอีกด้วย ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอะไรบ้างมาดูเลย

PM 2.5 ส่งผลต่อสมองอย่างไร?
มลพิษที่เราหายใจเข้าไปไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาเฉพาะที่ปอดหรือระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือด รวมทั้งผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และผ่านเข้าไปยังสมองโดยตรง หลังจากที่ฝุ่นจิ๋วเข้าไปยังสมองจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง มีการหลั่งสารอักเสบชนิดต่าง ๆ ทำให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ
การส่งผลต่อสมองในเด็ก
- สติปัญญาด้อยลง (Global Intelligence Quotient; IQ)
- การพัฒนาการช้าลง (ทั้ง Cognitive และ Psychomotor Development) มีปัญหาการได้ยินและการพูด
- เกิดภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit)
- ภาวะออทิซึม (Autism) เพิ่มมากขึ้นถึง 68%
การส่งผลต่อสมองในผู้ใหญ่
- ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า
- ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันเพิ่มได้ถึง 34%
- ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมอง (Stroke) เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
- เพิ่มความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมองประมาณ 13%
- ในกลุ่มคนที่เป็นโรคเส้นเลือดสมองอยู่แล้ว การได้รับ PM 2.5 ยังเป็นการเพิ่มอัตราการตายในคนกลุ่มนี้อีกด้วย

ในกลุ่มคนที่เป็น โรคปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งสมองจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ ฝุ่น PM2.5 รวมทั้งมลพิษในอากาศชนิดอื่น ๆ สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงขึ้นมาได้ โดยพบว่าในช่วงเวลาที่มีฝุ่นขนาดจิ๋วอยู่ในระดับสูง เช่น ฤดูหนาว จะพบคนที่เป็นไมเกรนเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง จนต้องไปพบแพทย์เพื่อฉีดยาที่ห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปกติประมาณ 4 – 13%
ถ้าได้รับฝุ่นจิ๋วในระดับความเข้มข้นที่เพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้น คนที่ออกกำลังกาย ในสถานที่ที่มีฝุ่น PM2.5 จำนวนมาก จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพสมองและเพิ่มอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง การรับประทานผักและผลไม้ (มากกว่า 3.5 serving ต่อวัน) จะช่วยลดผลกระทบของฝุ่นจิ๋วต่อร่างกายได้ เนื่องจากผลของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในผักและผลไม้
แหล่งที่มา bangkokinternationalhospital
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY