เพศศึกษา101! วัยรุ่นรักสนุก 9 ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาต้านไวรัส PrEP

เพศศึกษา101! วัยรุ่นรักสนุก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 9 ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยาต้านไวรัส PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)

วัยรุ่นรักสนุก อยากรู้อยากลอง ลองได้แต่ต้องเซฟตัวเองกันด้วย เพราะไม่มีใครรักตัวเราเองมากกว่าคนอื่น คราวที่แล้วเราพาไปรู้จัก ยา PrEP-PEP กันแล้วว่ามันคือยาอะไร วิธีการรับประทานยาอย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง วันนี้เราพามาดู 9 ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยาต้านไวรัส PrEP ว่ามีอะไรบ้าง มาดูเลย

open-bottle-with-pills-green-bac

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยา PrEP

1. คนที่ควรใช้ยา PrEP

ยา PrEP ใช้กับผู้ที่มีผลตรวจ HIV เป็นลบ ซึ่งหมายถึงยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ เช่น

  • มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HIV รวมทั้งกรณีที่ไม่ทราบผลเลือดของคู่นอนว่าติดเชื้อ HIV หรือไม่
  • มีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย
  • มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
  • ใช้สารเสพติดชนิดฉีด โดยใช้เข็มหรืออุปกรณ์อื่นร่วมกับผู้อื่นในการฉีดยา
  • รับประทานยา PEP (Post-Exposure Prophylaxis) เป็นประจำ แต่ไม่สามารถเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

2. ความแตกต่างระหว่างยา PrEP และยา PEP

ยา PrEP เป็นยาต้านไวรัสที่รับประทานก่อนที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อ HIV ส่วนยา PEP เป็นยาต้านไวรัส HIV แบบฉุกเฉินที่จำเป็นต้องรับประทานทันทีหรือเร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV เช่น 

  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อาจมีเชื้อ HIV และไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

ตัวยา PEP มีหลายสูตร ซึ่งการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยต้องรับประทานต่อเนื่องกันให้ครบ 28 วัน และในระหว่างที่รับประทานยา แพทย์จะนัดให้มาตรวจหาเชื้อ HIV และตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม

3. ประสิทธิภาพของยา PrEP

ยา PrEP จะมีประสิทธิภาพมากหากรับประทานอย่างต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้ถึง 99% และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ในผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดได้อย่างน้อย 74% หากไม่รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพในการป้องกัน HIV จะลดลง

ทั้งนี้ ยา PrEP ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น ซิฟิลิส (Syphilis) หนองในแท้ (Gonorrhea) และหนองในเทียม (Chlamydia) ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

4. คนที่ไม่ควรใช้ยา PrEP

ยา PrEP ไม่ควรใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำในการป้องกันเชื้อ HIV ที่เหมาะสมด้วยวิธีอื่นแทน นอกจากนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีปัจจัยสุขภาพหรือโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ 

  • มีประวัติแพ้ยาทีโนโฟเวียร์ ยาเอ็มตริไซตาบีน และยาอื่น ๆ
  • มีโรคไวรัสตับอักเสบ
  • มีโรคตับและไตขั้นรุนแรง
  • มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ติดเชื้อ HIV

ผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ และให้นมบุตรสามารถใช้ยา PrEP ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากตัวยาไม่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และสุขภาพของทารก โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนที่ติดเชื้อ HIV ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานยา PrEP ซึ่งอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV ทั้งในแม่และเด็ก

5. การเตรียมตัวก่อนใช้ยา PrEP

PrEP เป็นยาที่ไม่สามารถหาซื้อได้เอง และต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น โดยก่อนรับยาแพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพ ประวัติการใช้ยา พร้อมทั้งตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ตรวจการทำงานของตับและไต และตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก่อนจะให้คำแนะนำในการรับประทานและจ่ายยาให้

6. วิธีรับประทานยา PrEP

  • ยา PrEP ชนิดรับประทานทุกวัน (Daily PrEP)

ยา PrEP รูปแบบนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ล่วงหน้า โดยรับประทานวันละ 1 เม็ดพร้อมอาหารหรือหลังอาหารในเวลาเดิมทุกวัน เริ่มรับประทานเม็ดแรก 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ แต่กรณีที่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ภายใน 7 วันแรกที่รับประทานยา ให้รับประทานยา 2 เม็ดก่อนมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 ชั่วโมง จากนั้นรับประทานวันละ 1 เม็ดในวันถัดไป

โดยให้รับประทานยาต่อไปอีก 7 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดจึงจะหยุดได้ หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากลืมรับประทานยาเกิน 12 ชั่วโมงของเวลาที่รับประทานปกติ ให้ข้ามไปรับประทานในมื้อถัดไป ไม่ควรลืมรับประทานยาบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อ HIV ลดลง 

  • ยา PrEP ชนิดรับประทานตามวันที่ต้องการ (PrEP On-Demand)

การรับประทานยารูปแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่วางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ล่วงหน้า และเหมาะกับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก โดยมีสูตรในการรับประทานยาคือ 2:1:1 ดังนี้

  • รับประทาน 2 เม็ดแรกก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2–24 ชั่วโมง
  • รับประทาน 1 เม็ดถัดไปหลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง 
  • รับประทาน 1 เม็ดสุดท้ายหลังจากรับประทานเม็ดที่ 2 ไปแล้ว 24 ชั่วโมง หากมีเพศสัมพันธ์ต่อเนื่อง ให้กินอีก 1 เม็ดทุก 24 ชั่วโมงจนถึงวันสุดท้ายที่มีเพศสัมพันธ์ และรับประทานยาต่อไปอีก 2 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย

ไม่ควรรับประทานยา PrEP ชนิด On-Demand หากมีโรคไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากอาจทำให้เชื้อไวรัสตับอักเสบบีทำงานมากขึ้นและนำไปสู่ภาวะตับอักเสบตามมา 

7. การหยุดยา PrEP

การหยุดรับประทานยา PrEP เท่ากับการหยุดป้องกันการติดเชื้อ HIV หากต้องการหยุดยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ควรรับประทานยาต่อเนื่องกันเป็นเวลาอย่างน้อย 28 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อ HIV ก่อนการหยุดยา 

8. ผลข้างเคียงจากยา PrEP 

  • อาการท้องอืด
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะ
  • เวียนศีรษะ
  • นอนไม่หลับ
  • ส่งผลต่อกระดูก โดยเฉพาะผู้ที่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อย
  • ส่งผลต่อการทำงานของตับ แพทย์จึงจำเป็นต้องสอบถามประวัติสุขภาพและตรวจการทำงานของตับทั้งก่อนการรับประทานยาและช่วงระหว่างรับประทานยา

หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ และกำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานยา PrEP ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ หากทารกมีอาการผิดปกติ เช่น ไม่ดื่มนมหรือไม่รับประทานอาหาร น้ำหนักตัวทารกไม่เพิ่มขึ้น ทารกมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และนอนหลับยาก ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน

9. ปฏิกิริยาระหว่างยา PrEP และยาอื่น

การใช้ยาอื่น เช่น การใช้ฮอร์โมนทดแทน และยาคุมกำเนิดได้ทุกประเภท เช่น ยาเม็ด ยาฝัง ยาฉีด แผ่นแปะ และห่วงคุมกำเนิด พร้อมกับยา PrEP มักไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากกำลังใช้ยาหรืออาหารเสริมชนิดใดอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้

  • ยา NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค และนาพร็อกเซน การใช้ยานี้พร้อมกับยา PrEP อาจส่งผลต่อการทำงานของตับ
  • ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี เช่น โซฟอสบูเวียร์ (Sofosbuvir) และเลดิพาสเวียร์ (Ledipasvir)
  • ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) การใช้ยานี้พร้อมกับยา PrEP อาจทำให้คอเลสเตอรอลสูง

นอกจากการรับประทานยา PrEP อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง ควรป้องกันการติดเชื้อ HIV ด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ด้วย เช่น ไม่มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ตรวจหาโรคติตต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

แหล่งที่มา Pobpad

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ความสวยเป็นพิษ! โยชิ รินรดา ขอระบาย วอนอย่าเปรียบเทียบตนกับคนอื่น

โยชิ รินรดา ความสวยเป็นพิษ! โพสต์ระบายความในใจ เผย รู้สึกเสียใจ ขอวอนชาวเน็ตอย่าเปรียบเทียบตนกับคนอื่น

สลด! หนุ่มเอาของไปคืนแฟนเก่า สุดท้ายโดนหลอกไปให้เพื่อนชายแทงดับ

หนุ่มขี่จยย. เตรียมเอาของไปคืนแฟนเก่า สุดท้ายพอไปถึงโดนเพื่อนชายแฟนแทงดับ ล่าสุดมือมีดวัย 15 เข้ามอบตัวแล้ว อ้างถูกผู้ตายทำร้ายก่อน

ญาติ ‘ลุงกำธร’ เผย กฟน.ยังไม่มาขอโทษ หลังทำพี่ตาย ลั่นเตรียมฟ้องอย่างถึงที่สุด

น้องชาย ‘ลุงกำธร’ ลั่น ไม่มีวันให้อภัย หลังหน่วยงานรัฐสะเพร่า ทำพี่ตกท่อเสียชีวิต ยืนยันจะฟ้องผู้เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด!

อนาถ! แก๊งเด็กแว้น นัดประลองความแรง สุดท้ายชนกันเองดับสลดคาที่

แก๊งเด็กแว้นนัดประลองความแรงบนทางด่วน สุดท้ายขี่ย้อนศรชนกันเองดับสลดคาที่ พ่อแม่ร่ำไหเข่าทรุด ไม่คิดว่าเป็นลูกตัวเอง

เอส กันตพงศ์ เผย เหมือนได้เกิดใหม่! ลั่น มีแพลนคิดบวชตลอดชีวิต ?

ยิ่งกว่าละคร! เอส กันตพงศ์ เผย เหมือนได้เกิดใหม่! พร้อมลั่น มีแพลนคิดอยากบวชตลอดชีวิต หลังฟื้นจากการรักษา

พายุถล่มบึงกาฬ ทำเครนงานก่อสร้างสะพานฯ ล้มทับรถยนต์ ดับ 3 ราย

สลด พายุฝนและลมกระโชกแรงพัดถล่มบึงกาฬ ทำเครนงานก่อสร้างสะพานฯ ขนาดใหญ่ ล้มทับรถยนต์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 3 ราย
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า