วัยรุ่นรักสนุก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ต้องรู้ ยา PrEP คืออะไร? ป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้จริงไหม ใครบ้างที่ควรรับประทาน
วัยรุ่นรักสนุก อยากรู้อยากลอง ลองได้แต่ต้องเซฟตัวเองกันด้วย เพราะไม่มีใครรักตัวเราเองมากกว่าคนอื่น วันนี้ราจะพามารู้จัก ยา PrEP-PEP กันว่ามันคือยาอะไร ป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้จริงไหม แล้วใครบ้างที่ควรรับประทาน ถ้าทานต้องทานยังไงให้ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด มาดูเลย

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)
- ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะมีความเสี่ยง
- กินในกรณีที่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยง เช่น ไม่ใส่ถุงยางอนามัย มีคู่นอนหลายคน
- กินทุกวัน วันละ 1 เม็ด
- ประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90 หากกินยาอย่างสม่ำเสมอ
- แพทย์จะนัดทุก 3 เดือน เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
- ถ้าไม่มีความเสี่ยงแล้ว สามารถหยุดได้หลังมีความเสี่ยงครั้งสุดท้าย 4 สัปดาห์
PEP (Post-Exposure Prophylaxis)
- ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากที่มีความเสี่ยงมาแล้ว
- กินในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์แล้วถุงยางอนามัยแตก
- กินให้เร็วที่สุด หรือภายในไม่เกิน 72 ชั่วโมง
- ประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 70-80
- กินให้ครบ 28 วัน หากกินไม่ครบประสิทธิภาพการป้องกันจะลดลง
- มีสูตรยาหลายสูตรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ใครบ้างที่ควรรับประทาน
คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่
- เพศชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับผู้ชายคนอื่นและไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ทราบสถานะผลเลือดว่าคู่นอนเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่
- มีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามที่มีเชื้อเอชไอวีและมีความต้องการที่จะมีบุตร
- คู่ครองมีเชื้อเอชไอวีแต่ไม่รับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวี และไม่ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ
การเตรียมตัวก่อนเริ่มยา
เนื่องจากการใช้ยา ต้องรับประทานยาทุกวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสม ประโยชน์ที่จะได้รับ และควรได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี รวมถึงการประเมินค่าใช้จ่ายหรือแหล่งสนับสนุน เช่น ประกันสุขภาพก่อนเข้ารับบริการ
เมื่อตัดสินใจเริ่มยาควรปรึกษาแพทย์ เพื่อซักประวัติเกี่ยวกับอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประวัติการใช้ยาอื่น และประวัติโรคไต พร้อมทั้งตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ซี ซิฟิลิส และตรวจการตั้งครรภ์ในสตรี ทั้งนี้ควรเริ่มยาเพร็พ (PrEP) หลังจากการตรวจคัดกรองผลเลือดแล้วภายใน 7 วัน
ประสิทธิผลการใช้ยา
ขึ้นอยู่กับการรับประทานยาต่อเนื่องทุกวัน จะพบได้ว่าเมื่อรับประทานยาไปนานๆ อาจมีการลืมรับประทานยาหรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น ควรต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเตือน เช่น ตั้งเวลาในโทรศัพท์มือถือ ใส่กล่องยาในผู้สูงอายุ ปรับพฤติกรรมให้เคยชินโดยรับประทานหลังอาหารหรือหลังจากแปรงฟันตอนเช้า เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
เนื่องจากการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อไตหรือการสูญเสียมวลกระดูก ดังนั้นหลังรับประทานยาควรมีการติดตามโดยการตรวจเลือดตรวจสอบการทำงานของไตและตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีทุก 6 เดือน
แหล่งที่มา rama.mahidol และ bumrungrad
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY