รู้จัก โรค SLE หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีวิธีรักษาอย่างไร และสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่? วันนี้มีคำตอบ!
โรค SLE โรคแพ้ภูมิตัวเอง เรียกในทางการแพทย์ว่า โรคลูปัส หรือในสมัยก่อนคนไทยมักเรียกโรคนี้ว่า โรคพุ่งพวง ซึ่งเรียกตามกันมาจากชื่อของนักร้องไทยชื่อดังในอดีต “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ที่ป่วยเป็นโรคนี้ และเสียชีวิตลงในเวลานั้น ทำให้หลายคนจำชื่อโรคของพุ่มพวงมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าโรคนี้เป็นโรคที่ใหม่มาก คนไทยยังไม่ค่อยรู้จัก ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาและวินิฉัยโรคได้หลากหมายวิธี โรค SLE โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรคลูปัส มีอาการบ่งบอกอย่างไร และมีวิธรการรักษาได้อย่างไร ไปดูกันค่ะ
โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคลูปัส หรือ โรค SLE คือ
โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเอง จนเกิดการอักเสบและสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วร่างกาย เช่น ผมร่วง ผื่นขึ้นตามร่างกาย อ่อนเพลีย เป็นต้น ซึ่งพบได้ในเพศหญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์ มากกว่าเพศชาย และติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์
อาการของ โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคลูปัส หรือ โรค SLE
โรคนี้อาจจะมีอาการใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วงหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือปี เริ่มมีอาการอื่นๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง
- ปวดข้อ
- เป็นไข้ตั้งแต่ไข้ต่ำ ๆ จนถึงไข้สูง
- อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว
- เบื่ออาหาร
- เกิดผื่นผิวหนังตามใบหน้า แขน ขา ส่วนที่อยู่บริเวณนอกเสื้อผ้า
- ผมร่วง
- มีสภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าโรครุนแรงอาจมีเม็ดเลือดแดงแตก ปอดอักเสบ ไตอักเสบ ความดันโลหิตสูง
- กระตุ้นให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เส้นเลือดแดง และเยื่อบุต่าง ๆ

ปัจจัยของการเกิด โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคลูปัส หรือ โรค SLE
โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE คาดว่า เกิดจากการผสมผสานของปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีลักษณะพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรค อาจเกิดอาการได้เมื่อสัมผัสหรือได้รับสิ่งกระตุ้นในสภาพแวดล้อม ในกรณีส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น มีดังนี้
- แสงแดด ในบุคคลที่มีพันธุกรรมเอื้อต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังหรือเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายได้
- การติดเชื้อ การติดเชื้อสามารถทำให้เกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเกิดอาการกำเริบได้ในบางกรณี
- ยาบางชนิด ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการชัก และยาปฏิชีวนะบางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคแพ้ภูมิตัวเองได้
โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคลูปัส หรือ โรค SLE รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่สามารถรักษาโรค SLE ให้หายขาดได้ การรักษาโรคนี้จะช่วยคุมอาการ หรืออาการแสดงของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการทำลายอย่างถาวรของเนื้อเยื่อภายในร่างกายเพียงเท่านั้น จึงจำเป็นต้องติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
การรักษาโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค SLE
การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นหรือลดลง แพทย์จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนยาหรือปรับขนาดของยา ซึ่งยาที่มักใช้สำหรับรักษา โรค SLE ได้แก่
- ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น นาพรอกเซน โซเดียม (naproxen sodium) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อาร์โคเซีย (arcoxia) และซิลิเบร็กซ์ (celebrex) สามารถนำมาใช้รักษาอาการปวด อักเสบ หรือมีไข้ ที่เกิดจากโรค SLE ซึ่งยา NSAIDs กลุ่มที่มีฤทธิ์แรง สามารถหาซื้อได้ตามใบสั่งแพทย์
- ยาต้านมาลาเรีย (Antimalarial drugs) เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและสามารถลดการเกิดอาการของโรค SLEได้
- คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (prednisone) และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อื่น ๆ สามารถบรรเทาการอักเสบที่เกิดจากโรค SLE ได้ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในปริมาณสูง เช่น เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) มักใช้ในการรักษา โรค SLE ที่มีอาการที่ไตและสมองรุนแรง
- ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) ยากลุ่มนี้อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย ตัวอย่างเช่น เอซาไธโอพริน (azathioprine), ไมโคฟีโนเลต (mycophenolate), เมโธเทรกเซท (methotrexate), ไซโคลสปอริน (cyclosporine) และ เลฟลูโนไมด์ (leflunomide)
- การรักษาด้วยวิธีชีวภาพ ในบางอาการ ช่วยลดอาการของ โรค SLE ได้ในผู้ป่วยบางราย

ข้อควรปฎิบัติของผู้ป่วย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการออกแดด
- ลดและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อด้วยการทานอาหารที่สะอาด
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลดหรือเพิ่มยาเอง
- มาตรวจหรือพบแพทย์ตามนัดอย่าให้ขาด เพราะการพบแพทย์และได้รับรักษาอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพ , โรงพยาบาลเมดพาร์ค
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY