ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผย “ไข้หวัดมะเขือเทศ” ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผย ไข้หวัดมะเขือเทศ ที่กำลังระบาดในหมู่เด็ก เมืองเกรละ ประเทศอินเดีย ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่

จากเหตุที่มีรายงานข่าวผ่านสื่อต่างๆไปทั่วโลกกรณีกระทรวงสาธารณสุขอินเดียได้ออกมายืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อ ไข้หวัดมะเขือเทศ ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 จนถึงขณะนี้พบแล้วถึง 82 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ พบการระบาดมากที่สุดในรัฐเกรละ ซึ่งเป็นรัฐที่พบไวรัสโควิด-19 และ ไวรัสฝีดาษลิงระบาดมากเช่นกัน รองลงมาเป็น รัฐทมิฬนาฑู รัฐโอริสสา และรัฐหรยาณา

ไข้หวัดมะเขือเทศ3
ขอบคุณรูปภาพ : freepik

ไข้หวัดมะเขือเทศ

จากการถอดรหัสพันธุกรรมจากตัวอย่างสวอบตุ่มแผลจากผู้ป่วยสองรายพบว่าเป็นไวรัส “คอกซากี A16 (Coxsackie A16)” ที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า และปาก (Hand, foot and mouth disease) ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่ แต่ประการใด

1-1
ขอบคุณรูปภาพ : Center for Medical Genomics

ที่มีชื่อเรียกขานในท้องถิ่นว่า ไข้หวัดมะเขือเทศ เนื่องจาก หากติดเชื้อ ผู้ป่วยซึ่งเป็นเด็กเล็กจะมีผื่นแดงคล้ายมะเขือเทศ สร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายเป็นพิเศษ เนื่องจาก เชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส เช่น การสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือนำสิ่งของเข้าปาก

แต่ปรากฏว่ามีเด็กหญิงอายุ 13 เดือนและพี่ชายอายุ 5 ขวบจากอังกฤษ บิดา มารดาได้พากลับไปเยี่ยมญาติที่อินเดีย เกิดมีผื่นขึ้นที่มือและขา เหมือน ไข้หวัดมะเขือเทศ ใน 1 สัปดาห์หลังกลับจากรัฐเกรละ ประเทศอินเดียในเดือนพฤษภาคม 2022 จากการเยือนอินเดียเป็นเวลา 1 เดือน ครอบครัวนี้ได้รับทราบจากสื่อท้องถิ่นในรัฐเกรละรายงานเกี่ยวกับอาการป่วยลึกลับในเด็ก ซึ่งถูกขนานนามว่า ไข้หวัดมะเขือเทศ พ่อแม่เด็กแจ้งว่าลูกของเขาได้เล่นกับเด็กอีกคนหนึ่งที่เพิ่งหายจาก ไข้หวัดมะเขือเทศ หนึ่งสัปดาห์ก่อนจะเดินทางกลับอังกฤษ

ไข้หวัดมะเขือเทศ2
ขอบคุณรูปภาพ : Center for Medical Genomics

หลังจากกลับมาอังกฤษเด็กทั้งสองก็ป่วย มีอาการไข้ออกผื่น ลักษณะเดียวกับ ไข้หวัดมะเขือเทศ ดร. จูเลียน ถัง จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ในสหราชอาณาจักรและเพื่อนร่วมงานได้ทำการสวอปตุ่มน้ำ และลำคอไปตรวจ “PCR” พบว่าไม่ใช่ไวรัสฝีดาษลิง แต่เป็นไวรัสในกลุ่มของ “เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)” ที่ก่อให้เกิด โรคมือ เท้า ปาก และจากการถอดรหัสพันธุกรรมพบว่าเป็นไวรัส “คอกซากี A16 ” โดยมีรหัสพันธุกรรมคล้ายกับคอกซากี A16 สายพันธุ์ที่ระบาดในจีน มิใช่ไวรัสชนิดใหม่ หรือสายพันธุ์ใหม่แต่ประการใด โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารการแพทย์ The Pediatric Infectious Disease Journal: August 19, 2022 – Volume – Issue – 10.1097/INF.0000000000003668

สรุปได้ว่า ไข้หวัดมะเขือเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็กจำนวนหนึ่งในเมืองเกรละ ประเทศอินเดีย จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมจากตุ่มแผลและลำคอจากเด็กเล็กสองคนพบว่าเป็นโรคมือ เท้า และปาก อันเกิดจากไวรัส “คอกซากี A16” ที่ระบาดในเด็ก มีอาการไม่รุนแรง โดยอาจเป็นไปได้ด้วยว่าบางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสชิคุนกุนยาและไวรัสไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหะ “สำหรับชุดตรวจกรอง PCR ในประเทศไทย” ต่อไวรัสที่ก่อโรคมือ เท้า และปาก มีให้บริการอยู่แล้วใน รพ. ภาครัฐ และเอกชน หลาบแห่ง เนื่องจากโรคไข้ออกผื่นเกิดขึ้นเป็นประจำในเด็กเล็ก

ขอบคุณข้อมูลจาก Center for Medical Genomics

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เกาหลีเหนือส่งบอลลูนบรรจุขยะ-สิ่งปฏิกูล รุกล้ำเขตเกาหลีใต้หลายร้อยลูก

สุดล้ำ! เกาหลีเหนือส่งบอลลูนบรรจุขยะ ข้ามพรมแดนมายังเกาหลีใต้ กว่า 200 ลูก ภายในบรรจุขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล เกาหลีต้องออกคําเตือนปชช.ให้ระวัง

หนุ่มวัย 42 ปี ดับปริศนา! นอนแข็งตาย กลางลานจอดรถ ย่านประชาอุทิศ

ดับปริศนา! หนุ่มวัย 42 ปี พบนอนเป็นศพแข็ง กลางลานจอดรถตลาดย่านประชาอุทิศ พบพิรุธ! บาดแผลไม่สัมพันธ์กับท่าตาย คาดเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 12 ชม.

เจ้าของน้ำตาตก! น้องแมวดับปริศนา หลังพาไปอาบน้ำที่คลินิค

ชาวเน็ตช่วยหาสาเหตุที! เจ้าของโพสต์เล่าเรื่องสุดเศร้า แมวดับปริศนา หลังพาไปอาบน้ำที่คลินิค หมอเผยอาการ แต่ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง

วินาทีเฉียดตาย! รถถบรรทุกขับเหยียบหิน กระเด็นใส่กระจกรถกระบะแตก

กล้องหน้ารถบันทึกภาพ วินาทีรถบรรทุก วิ่งสวนเลนเหยียบก้อนหิน กระเด็นใส่รถกระบะ ทำกระจกบานหน้าแตก โชคช่วย! คนขับมีสติจอดรถยังคุมรถอยู่

เช็กให้ชัวร์! วันหยุดเดือนมิถุนายน 2567 และวันสำคัญต่างๆ

พาเช็ก! วันหยุดและวันสำคัญ เดือนมิถุนายน 2567 ฤดูฝนแบบนี้ก็เที่ยวได้เหมือนกัน! เตรียมวางแผนลาล่วงหน้า ไปพักผ่อนกันเถอะ!

หนุ่มลูกครึ่ง พาแม่ร้องมูลนิธิ ตามหาน้องชาย หายตัวลึกลับกว่าครึ่งเดือน

ครอบครัวสุดห่วง น้องชายลูกครึ่งไทย-ไอซ์แลนด์ นักเรียนชั้น ม.5 หายตัวปริศนา หลังถูกอดีตแฟนสาวกับครอบครัวหลอกเงินเกือบ 1 ล้านบาท
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า