“วัณโรค” โรคติดต่อทางการหายใจ อันตรายกว่าที่คิด! จะมีวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันได้อย่างไร? ไปดูกันเลย!
ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการใส่แมสก์เป็นอวัยวะที่ 33 กันไปแล้ว แต่เมื่อสถานการณ์โควิด – 19 คลี่คลายแล้ว หลายๆคนก็ไม่นิยมใส่แมสก์แล้ว ในวันนี้ ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) ขอพูดถึง วัณโรค (Tuberculosis:TB) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางการหายใจ เชื้อจะแพร่จากผู้ป่วยวัณโรคปอดไปสู่บุคคลอื่นทางละอองเสมหะขนาดเล็ก ซึ่งอาจจะเกิดจากการไอ จาม หรือพูด ซึ่งละอองเสมหะเหล่านี้ สามารถมีชีวิตลอยอยู่ในอากาศหลายชั่วโมง และเมื่อมีผู้สูดเข้าไปจะเข้าไปจนถึงถุงลมปอด และเกิดการอักเสบได้

อาการเตือน วัณโรค
- ไอติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์
- น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
- ไอหรือเสมหะมีเลือดปน
- มีไข้เรื้อรัง มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
- เหงื่อออกมาในตอนกลางคืน
- อ่อนเพลีย
- ผิวหนังซีด เหลือง
วัณโรคสามารถป้องกันได้ และสามารถรักษาให้หายขาดได้ ใครมีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการไอ ที่นานมากกว่า 3 สัปดาห์ โดยอาการเริ่มต้นจะเริ่มไอแห้ง ๆ ก่อน ต่อมาจะเริ่มมีเสมหะจนอาจไอเป็นเลือด ให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
อาการของผู้ป่วย วัณโรค
อาการวัณโรคแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแฝง (Latent TB) และระยะแสดงอาการ (Active TB) โดยในระยะแรกจะสังเกตได้ยากเพราะอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ไปจนถึงหลายปีกว่าจะแสดงอาการให้เห็น
- ระยะแฝง (Latent TB) เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะยังไม่แสดงอาการใดๆ โดยเชื้อจะซ่อนอยู่ภายในร่างกาย จนกว่าร่างกายจะอ่อนแอ จะก่อให้เกิดอาการที่ชัดเจนได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีการตรวจพบในช่วงระยะแฝง แพทย์จะรักษาโดยการควบคุมการแบ่งตัวของเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงที่โรคจะเข้าสู่ระยะแสดงอาการ
- ระยะแสดงอาการ (Active TB) ระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนทำให้แสดงอาการต่างๆ ได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด หรือเบื่ออาหาร
วิธีป้องกัน วัณโรค
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปในสถานที่สาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค หากตนเองมีภูมิต้านทานต่ำ
- ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค
- ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยควรตรวจเอกซเรย์ปอด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- รีบไปพบแพทย์ทันที หากสงสัยว่ามีอาการเสี่ยง

ข้อควรหลีกเลี่ยงเมื่อป่วยเป็นวัณโรค
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบจากการใช้ยา
- หลีกเลี่ยงการเดินทางในที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือการเดินทางด้วยยานพาหนะร่วมกับผู้อื่นเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์และการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจนในระหว่างรักษาวัณโรค เพราะจะทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล
วัณโรคสามารถติดต่อได้ ยิ่งคนที่เป็นวัณโรคปอด ที่มีเชื้อเสมหะยิ่งติดต่อง่าย ดังนั้น เมื่อพบว่าตนเองป่วยเป็นวัณโรคหรือเสี่ยงวัณโรค ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะวัณโรคเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ โดยการกินยาให้ครบเป็นเวลา 6 – 8 เดือน
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลศีครินทร์
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY