ใครที่ทานยาเยอะ ดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะลำบาก เช็กด่วน! สัญญาณเตือนอาการเสี่ยงโรค นิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการอะไรบ้างมาดูเลย
วันนี้เรามาในเรื่องของระบบทางเดินปัสสาวะกันบ้าง ซึ่งระบบปัสสาวะเป็นวิธีการกำจัดของเสียอย่างหนึ่งของร่างกาย และถ้าหากร่างกายไม่สามารถขับออกไปได้อาจจะแสดงอาการบวมได้ ซึ่งโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกไปได้ ดังนั้นเราต้องใส่ใจในระบบนี้เช่นกัน ซึ่งโรคที่จะพามารู้จักวันนี้ก็คือ โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ สาเหตุเกิดจากอะไร อาการมีอะไรบ้างมาดูเลย

ตัวการร้ายก่อเกิดโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- กรรมพันธุ์ โรคหลายชนิดที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมีผลต่อการเกิดนิ่งทางเดินปัสสาวะ
- อายุ พบมากในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 40 – 60 ปี
- เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 – 3 เท่า
- อาหาร ชนิด และ ปริมาณอาหารมีผลต่อการขับสารบางชนิดออกมาในปัสสาวะ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสเฟต ยูเรต ออกซาเลต ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย สารเหล่านี้จะรวมตัวกัน กระทั่งกลายเป็นก้อนผลึกแข็ง เมื่อสะสมนานวันเข้าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นก้อนนิ่ว ที่เข้าไปอุดตันที่บริเวณต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาว
- ปริมาณน้ำที่ดื่ม เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดนิ่ว ทางปัสสาวะ ถ้าดื่มน้ำน้อยกว่า 2 ลิตร/วัน โอกาสการนิ่วจะสูงขึ้น
- ยาที่รับประทานบางชนิด
- ภาวะติดเชื่อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- ปัสสาวะลำบาก
- ปัสสาวะมีเลือดปน
- ปัสสาวะขุ่น ขัด
- ปวดบั้นเอว
- ปวดท้องเฉียบพลันอย่างรุนแรง
- คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้
วิธีการป้องกัน
- ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว หรือให้ได้ปริมาตรของปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดความอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ และลดการก่อผลึกนิ่วที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารจำพวกผักและผลไม้
- ลดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารหวาน เค็มมาก และอาหารที่มีกรดยูริกสูง
- เลี่ยงหนังสัตว์ปีก ตับ ไต ปลาซาร์ดีน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง ได้แก่ ผักโขม ช็อกโกแลต ชา ถั่ว แอปเปิ้ล หน่อไม้ฝรั่ง บล็อคโคลี่ เบียร์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ไอศครีม สับปะรด วิตามินซี โยเกิร์ต
- ผู้ป่วยที่มีนิ่วควรรับประทานอาหารที่มีใยมาก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อย 1 ปีครั้ง อย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ และสงสัยว่ามีนิ่วไต ควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยเป็นนิ่วแล้วมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคนิ่วอีกครั้งก็มีได้มาก ดังนั้น การเรียนรู้วิธีป้องกัน และดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดโรคนิ่วจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
แหล่งที่มา บางปะกอก3 และ เปาโล
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY