เพศศึกษา101 ไขข้อสงสัย! ใครเคยสังเกตุบ้างว่า อัณฑะ 2 ข้างทำไมไม่เท่ากัน? วันนี้เรามีคำตอบทางวิทยาศาสตร์มาให้แล้ว
ไหนใครเคยเห็น เคยสำรวจ บ้างว่า อัณฑะสองข้างเนี่ยมันไม่เท่ากัน ข้างนึงหย่อน ข้างนึงตึงกว่านิดหน่อย มันเหตุผลนะ! บางคนอาจจะกังวลว่ามันเป็นอะไร เกิดอะไรขึ้นหรือว่าเป็นโรคอะไรหรือเปล่า แต่มันไม่ใช่ความผิดปกติเลยด้วย มันมีคำตอบทางวิทยาศาสตร์ วันนี้พามาหาคำตอบกันว่าเกิดจากอะไร มาดูเลย!

อวัยวะสืบพันธุ์แห่งเพศชาย ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลายส่วน ดังนี้ คือ องคชาตหรือลึงค์ อัณฑะที่อยู่ในถุงอัณฑะ สองส่วนนี้เป็นส่วนที่ปรากฏมานอกร่างกาย แต่ส่วนของอวัยวะเพศชายที่อยู่ภายในร่างกายก็คือ ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำหล่อลื่น ถุงเก็บอสุจิ และท่อนำน้ำเชื้อ ซึ่งประเด็นที่เราจะพูดถึงวันนี้ก็คือ อัณฑะ นั่นเอง จากที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่า อัณฑะสองข้างเนี่ยมันไม่เท่ากัน ข้างนึงหย่อน ข้างนึงตึงกว่านิดหน่อย มาเฉลยข้อสงสัยนี้กัน!
ถุงอัณฑะ 2 ข้างไม่เท่ากัน!
สาเหตุที่ถุงอัณฑะมักจะห้อยไม่เท่ากัน โดยด้านขวามักจะห้อยลงมามากกว่าด้านซ้ายนั้น เพราะปกติแรกเริ่มกระบวนการของการสร้างอวัยวะเพศ ไข่ (อัณฑะ) นั้นจะอยู่ในช่องท้องก่อน จนถึงช่วงอายุประมาณ 3-6 เดือนหลังคลอด อัณฑะจะออกมาจากช่องท้อง ผ่านช่องแคบบริเวณขาหนีบ (Inguinal ring) และมาอยู่ในถุงอัณฑะในที่สุด
แต่ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ คือ อัณฑะด้านขวานั้นพัฒนาก่อนด้านซ้าย และได้ลงมาสู่ถุงอัณฑะก่อนด้านซ้าย จึงทำให้มีขนาดที่ดูเหมือนใหญ่กว่าอัณฑะด้านซ้ายอีกด้วย จากการที่ถุงห้อยมากกว่าด้วยนั่นเอง บอกเลยว่าเป็นเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน
แต่ถ้าหากใครที่พบเจอว่าอัณฑะขนาดใหญ่กว่ากันจนผิดปกติอาจจะเกิดโรคดังนี้
1. อัณฑะไม่ลงถุง (Undescending testis)
กรณีนี้มักจะเกิดและเจอได้ตั้งแต่สมัยเด็กๆ เป็นภาวะที่อัณฑะอยู่สูงกว่าจุดกึ่งกลางของถุงอัณฑะ เช่น อยู่เหนือบริเวณรอยต่อถุงอัณฑะ ขาหนีบ หรือในช่องท้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแต่กำเนิด และส่วนน้อยเป็นภายหลัง และหากอยู่บริเวณช่องท้องจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงสุด เสี่ยงต่อการมีบุตรยากมากที่สุด
2. ถุงน้ำในถุงอัณฑะ (Hydrocele)
ภาวะที่มีการสะสมของน้ำอยู่รอบอัณฑะภายในถุงลูกอัณฑะ ทำให้ถุงอัณฑะโป่งพองอออกมาโรคถุงน้ำลูกอัณฑะเป็นโรคที่ไม่อันตรายและส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยไม่ต้องการการรักษาเด็กแรกเกิดพบโรคนี้ได้ถึงร้อยละ 10 แต่ผู้ป่วยร้อยละ 80-90 หายได้เองเมื่ออายุ 12-18 เดือน แต่ทั้งนี้อาจจะเกิดจากการอักเสบ (Inflammation) ของอัณฑะได้ หากพบว่าอัณฑะมีความไม่เท่ากันในภายหลัง โดยอาจจะมีอาการปวดหรือบวมร่วมด้วยได้ ควรพบแพทย์ครับ
3. ขั้วอัณฑะบิด (Testicular torsion)
เป็นภาวะฉุกเฉินหนึ่ง ถ้าหากเราบิดตัว หรือหมุนตัวไวๆ เช่น เล่นบอล หรือมีกิจกรรมบนเตียงที่สนุกสนานมากเกินไปนั้น อาจจะทำให้เกิดการบิดตัว หมุนรอบตัวเอง ทำให้มีอาการปวดอัณฑะ อัณฑะเป็นก้อนบวม ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ก็มักทำให้เนื้อเยื่ออัณฑะตายเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยต้องสูญเสียอัณฑะไปข้างหนึ่งเลย
ซึ่งถ้าหากใครสังเกตุแล้วว่า อัณฑะโตผิดปกติ มีอาการปวด หรืออาการผิดปกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ และอวัยวะเพศมีความผิดปกติมากกว่าเดิม ควรรีบไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและปลอดภัยนะคะ
แหล่งที่มา dek-d , หมอชาวบ้าน และ bangkokhospitalkhonkaen
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY